ณ เวลาตีห้า (หรือ 5 นาฬิกาของชีวิตวัยสิบเจ็ดปีครึ่ง)
– สำหรับผู้คนจำนวนไม่น้อยแล้ว ตีห้าของชีวิตก็คือช่วงเวลาที่จะต้องลุกจากที่นอนเพื่อเริ่มต้นทำกิจวัตรในวันใหม่ เฉกเช่นเดียวกับชีวิตของผู้คนจำนวนมากที่ต้องเริ่มทำงานรับผิดชอบหาเงินเลี้ยงตัวเองและช่วยเหลือครอบครัว เมื่อจบการศึกษาระดับมัธยมปลายหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพในวัยประมาณสิบเจ็ดปีครึ่งนี้ แต่สำหรับคนอีกส่วนหนึ่งที่ยังมีโอกาสได้นอนต่ออย่างสุขสบาย จากการที่พ่อแม่มีเงินส่งเสียให้เรียนในระดับอุดมศึกษา ตีห้าของชีวิตก็คือชั่วโมงสุดท้ายสำหรับเวลานอน และเป็นช่วงระยะเวลาที่หลายคนกำลังเริ่มเรียนต่อปีแรกในรั้วมหาวิทยาลัย โดยอาศัยเป็นเส้นทางไต่เต้าเพื่อยกระดับ ?ช่วงชั้น? (Strata) ของสถานะทางเศรษฐกิจและสังคม ผ่านสัญลักษณ์แห่งใบปริญญาบัตรที่หวังจะได้รับจากมหาวิทยาลัย – ตีห้าของนาฬิกาแห่งชีวิตคือช่วงเวลาที่ผู้คนจำนวนไม่น้อยเริ่มต้นแสวงหา ?ความหมายของตัวตน? และวางแผนอนาคตชีวิตให้กับตนเอง ?เราคือใคร? เราควรจะวางตำแหน่งแห่งที่ (positioning) ของตัวเองไว้ตรงจุดไหน ภายใต้ระบบสังคมที่เราเกิดมามีชีวิตและจะต้องดำรงอยู่ต่อไปอีกหลายสิบปีนี้ การเรียนรู้ในระดับมหาวิทยาลัยน่าจะถูกออกแบบมาเพื่อให้ช่วยตอบคำถามดังกล่าว โดยไม่ใช่เพียงแค่การสอนวิชาชีพต่างๆสำหรับป้อนให้กับตลาดแรงงานเท่านั้น เพราะถ้าต้องการเพียงความรู้ในการประกอบวิชาชีพ การเรียนจบระดับมัธยมแล้วเริ่มต้นทำงานควบคู่ไปกับการแสวงหาความรู้เพิ่มเติม ในเรื่องที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการยกระดับความรู้ความสามารถในการทำงานสาขาอาชีพนั้นๆ ก็น่าจะเป็นวิถีทางที่มีประสิทธิผลมากกว่าการเสียเวลาเรียนวิชาต่างๆมากมายในมหาวิทยาลัย ซึ่งหลายเรื่องไม่มีประโยชน์อะไรต่อเป้าหมายการประกอบอาชีพเพื่อหาเงินให้ได้มากๆ – ถ้าปรัชญาของการศึกษาอยู่ที่ช่วยให้มนุษย์แต่ละคนได้เรียนรู้ว่า ?บรรทัดสุดท้ายของเป้าหมาย? ที่พึงไปให้ถึงในชีวิตนี้คืออะไร เพื่อจักได้กระทำ ?เหตุ? ต่างๆให้ถูกต้องเที่ยงตรง ในทิศทางที่จะนำไปสู่ ?ผล? อันเป็นที่พึงปรารถนานั้น … Continue reading