ณ เวลาบ่ายสามโมง (หรือ 15.00 นาฬิกาของชีวิตวัยห้าสิบสองปีครึ่ง)
– ความผิดพลาดในการกำหนดนโยบายของกลุ่มชนชั้นนำ (power elites) ที่อยู่เบื้องหลังการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 ทำให้วิกฤติความขัดแย้งของการเมืองไทยขยายออกไปเป็นวิกฤติความขัดแย้งทางสังคมระหว่างคนไทยสองฝ่ายที่เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางทั่วประเทศ และลงลึกเป็นความขัดแย้งระหว่างสมาชิกในครอบครัวเดียวกันที่มีความคิดเห็นทางการเมืองแตกต่างกันอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน ในที่สุดก็นำไปสู่เหตุการณ์นองเลือดที่ทหารใช้อาวุธสงครามเข้าสลายการชุมนุมของประชาชนในช่วงปี 2553 จนทำให้มีราษฎรบาดเจ็บล้มตายจำนวนมากเป็นครั้งที่ 4 ของประวัติศาสตร์การเมืองไทย (หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองแผ่นดินเมื่อปี พ.ศ. 2475 ถัดจากเหตุการณ์นองเลือดกรณี 14 ตุลาคม 2516 , 6 ตุลาคม 2519 , และพฤษภาทมิฬ 2535) – แน่นอนว่าวิกฤติความขัดแย้งทางการเมืองส่วนหนึ่งเกิดจากปัญหาในการจัดสรรอำนาจและผลประโยชน์ที่ไม่ลงตัวระหว่างชนชั้นนำกลุ่มต่างๆ แต่การที่วิกฤตการณ์ทางการเมืองสามารถขยายขอบเขตอย่างกว้างขวางจนกลายเป็นวิกฤติความขัดแย้งระหว่างมวลมหาประชาชนสองฝ่ายได้ ย่อมจะมีเหตุปัจจัยที่สัมพันธ์กับประโยชน์สุขของผู้คนจำนวนมากเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ประการหนึ่งอาจเป็นเพราะนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจแบบสองฐาน (dual track) ของรัฐบาลอดีตนายกฯทักษิณ (หรือที่เรียกกันว่า ?ระบอบทักษิณ?) ซึ่งสนับสนุนภาคธุรกิจขนาดใหญ่ในเศรษฐกิจระดับบนให้สามารถแข่งขันกับประเทศอื่นๆในโลก … Continue reading