ณ เวลาตีห้า (หรือ 5 นาฬิกาของชีวิตวัยสิบเจ็ดปีครึ่ง)

– สำหรับผู้คนจำนวนไม่น้อยแล้ว ตีห้าของชีวิตก็คือช่วงเวลาที่จะต้องลุกจากที่นอนเพื่อเริ่มต้นทำกิจวัตรในวันใหม่ เฉกเช่นเดียวกับชีวิตของผู้คนจำนวนมากที่ต้องเริ่มทำงานรับผิดชอบหาเงินเลี้ยงตัวเองและช่วยเหลือครอบครัว เมื่อจบการศึกษาระดับมัธยมปลายหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพในวัยประมาณสิบเจ็ดปีครึ่งนี้ แต่สำหรับคนอีกส่วนหนึ่งที่ยังมีโอกาสได้นอนต่ออย่างสุขสบาย จากการที่พ่อแม่มีเงินส่งเสียให้เรียนในระดับอุดมศึกษา ตีห้าของชีวิตก็คือชั่วโมงสุดท้ายสำหรับเวลานอน และเป็นช่วงระยะเวลาที่หลายคนกำลังเริ่มเรียนต่อปีแรกในรั้วมหาวิทยาลัย โดยอาศัยเป็นเส้นทางไต่เต้าเพื่อยกระดับ ?ช่วงชั้น? (Strata) ของสถานะทางเศรษฐกิจและสังคม ผ่านสัญลักษณ์แห่งใบปริญญาบัตรที่หวังจะได้รับจากมหาวิทยาลัย – ตีห้าของนาฬิกาแห่งชีวิตคือช่วงเวลาที่ผู้คนจำนวนไม่น้อยเริ่มต้นแสวงหา ?ความหมายของตัวตน? และวางแผนอนาคตชีวิตให้กับตนเอง ?เราคือใคร? เราควรจะวางตำแหน่งแห่งที่ (positioning) ของตัวเองไว้ตรงจุดไหน ภายใต้ระบบสังคมที่เราเกิดมามีชีวิตและจะต้องดำรงอยู่ต่อไปอีกหลายสิบปีนี้ การเรียนรู้ในระดับมหาวิทยาลัยน่าจะถูกออกแบบมาเพื่อให้ช่วยตอบคำถามดังกล่าว โดยไม่ใช่เพียงแค่การสอนวิชาชีพต่างๆสำหรับป้อนให้กับตลาดแรงงานเท่านั้น เพราะถ้าต้องการเพียงความรู้ในการประกอบวิชาชีพ การเรียนจบระดับมัธยมแล้วเริ่มต้นทำงานควบคู่ไปกับการแสวงหาความรู้เพิ่มเติม ในเรื่องที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการยกระดับความรู้ความสามารถในการทำงานสาขาอาชีพนั้นๆ ก็น่าจะเป็นวิถีทางที่มีประสิทธิผลมากกว่าการเสียเวลาเรียนวิชาต่างๆมากมายในมหาวิทยาลัย ซึ่งหลายเรื่องไม่มีประโยชน์อะไรต่อเป้าหมายการประกอบอาชีพเพื่อหาเงินให้ได้มากๆ – ถ้าปรัชญาของการศึกษาอยู่ที่ช่วยให้มนุษย์แต่ละคนได้เรียนรู้ว่า ?บรรทัดสุดท้ายของเป้าหมาย? ที่พึงไปให้ถึงในชีวิตนี้คืออะไร เพื่อจักได้กระทำ ?เหตุ? ต่างๆให้ถูกต้องเที่ยงตรง ในทิศทางที่จะนำไปสู่ ?ผล? อันเป็นที่พึงปรารถนานั้น … Continue reading

ณ เวลาตีสี่ (หรือ 4 นาฬิกาของชีวิตวัยสิบสี่ปี)

– เวลาตีสี่สำหรับผู้คนส่วนใหญ่คงจะยังนอนหลับอยู่ แต่บางคนต้องตื่นขึ้นมาทำงานตั้งแต่เช้ามืดในช่วงเวลานี้แล้ว เด็กหลายคนมีโอกาสได้เรียนแค่ระดับประถมศึกษาและต้องออกมาช่วยพ่อแม่ทำงานหาเลี้ยงครอบครัว บางคนเริ่มทำงานหาเงินเพื่อสร้างฐานะตั้งแต่ในวัยสิบสี่ปี แล้วค่อยๆไต่เต้ายกระดับ ?ช่วงชั้น? (Strata) จนกลายเป็นอัครมหาเศรษฐีของเมืองไทย โดยไม่มีโอกาสได้เรียนสูงๆในระบบการศึกษาปรกติเหมือนคนทั่วไป แต่อาศัยการขวนขวายแสวงหาความรู้ต่างๆด้วยตัวเองนอกระบบการศึกษา จนประสบความสำเร็จในการสร้างฐานะทางเศรษฐกิจ การศึกษาของชีวิตจึงไม่น่าจะมีความหมายที่คับแคบ โดยเพียงแค่หมายถึงการศึกษาในระบบโรงเรียนและมหาวิทยาลัยเท่านั้น – ตีสี่ของนาฬิกาแห่งชีวิตเป็นหลักบอกเวลาสำคัญอีกจุดหนึ่งในความเปลี่ยนผ่านจากเด็กสู่การเป็นเยาวชนวัยรุ่น ซึ่งเป็นช่วงที่อยู่ระหว่างความเป็นเด็กกับความเป็นผู้ใหญ่ และเป็นห้วงเวลาที่สับสนมากที่สุดช่วงหนึ่งของชีวิต เพราะว่าจะเป็นเด็กที่คอยพึ่งพ่อแม่ในแทบทุกเรื่องเหมือนเดิมก็ไม่ใช่ หรือจะเป็นผู้ใหญ่ที่สามารถพึ่งพาตัวเองได้อย่างอิสระในด้านต่างๆก็ไม่เชิง แต่ทุกชีวิตรับรู้อยู่ว่าตนเองจะต้องเติบโตต่อไปเป็นผู้ใหญ่และต้องรับผิดชอบชีวิตของตัวเองด้วยตนเอง โดยจะคอยพึ่งพาพ่อแม่ตลอดไปเหมือนเด็กเล็กๆไม่ได้อย่างแน่นอน แล้วเราจะเตรียมตัวอย่างไรเพื่อเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงอันใหญ่หลวงของชีวิต ที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ – ?การเลียนแบบ? (Identification) จึงเป็นกลไกป้องกันตัวเองทางจิตวิทยาอย่างหนึ่งที่วัยรุ่นมักนำมาใช้ เพื่อลดภาวะความสับสนตึงเครียดในชีวิตช่วงระยะเปลี่ยนผ่านนี้ แต่พ่อหรือแม่คงไม่ใช่สัญลักษณ์ที่มีนัยสำคัญ (significant symbols) สำหรับการเลียนแบบในกรณีดังกล่าว เพราะมีเงื่อนไขที่แตกต่างจากเราหลายอย่าง บุคคลที่วัยรุ่นจะ ?เลียนแบบ? จึงมักได้แก่คนมีชื่อเสียงในวัยที่ห่างกันไม่มากซึ่งประสบความสำเร็จในชีวิต เช่น ดารา นักร้อง … Continue reading

ณ เวลาตีสาม (หรือ 3 นาฬิกาของชีวิตวัยสิบปีครึ่ง)

– เป็นช่วงเวลาสำหรับการศึกษาความรู้พื้นฐานทั้งหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ?ภาษา? ที่จะใช้ในการติดต่อสื่อสารเพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้คนในสังคม และ ?ตรรกะ? ของการใช้เหตุผลเพื่อทำความเข้าใจกับปรากฏการณ์รอบตัวว่า อะไรเป็น ?เหตุ? ที่นำไปสู่ ?ผล? ของสิ่งต่างๆ – สมองซีกซ้ายของมนุษย์ควบคุมการทำงานในด้านการใช้เหตุผลความคิดหรือ ?ความฉลาดทางสติปัญญา? (IQ) ส่วนสมองซีกขวาจะควบคุมการทำงานในด้านของการใช้จินตนาการ ความใฝ่ฝัน และอารมณ์ความรู้สึกหรือ ?ความฉลาดทางอารมณ์? (EQ) สมองซีกซ้ายจะควบคุมด้านการใช้ ?ตรรกะ? สมองซีกขวาจะควบคุมด้านศิลปะของการใช้ ?ภาษา? โดยภาษาในที่นี้มีความหมายครอบคลุมถึงการติดต่อสื่อสารกับผู้คนต่างๆ และในกาลเทศะต่างๆ คำว่า ?ภาษา? จึงมีความหมายครอบคลุมกว้างขวางกว่าแค่การเรียนวิชาภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ฯลฯ ตามหลักสูตรการศึกษาในชั้นเรียน เพื่อให้พูดได้และอ่านออกเขียนได้อย่างถูกต้องตามหลักไวยากรณ์เท่านั้น – กระบวนการเรียนรู้ที่มีพลังและมีประสิทธิผล จะต้องสามารถบูรณาการการทำงานของสมองสองซีกเข้าด้วยกัน โดยมีทั้ง ?เหตุผล? … Continue reading

ณ เวลาตีสอง (หรือ 2 นาฬิกาของชีวิตวัยเจ็ดขวบ)

– กระบวนการเรียนรู้ของเด็กเริ่มต้นตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา และพัฒนาการอย่างต่อเนื่องรวดเร็วก่อนจะเข้าโรงเรียนอนุบาล (ซึ่งเป็นการเรียนรู้ในระบบการศึกษาที่เป็นทางการของสังคม) การเรียนรู้ในช่วงเวลา 1?2 ชั่วโมงแรกของนาฬิกาแห่งชีวิตจะมีความสำคัญมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีอิทธิพลต่อการวาง ?โครงสร้างพื้นฐานของจิตไร้สำนึก? ส่วนที่เป็น ?ซุปเปอร์อีโก้? หรือสำนึกในเรื่อง ?ความดี-ความชั่ว? ต่างๆ ถ้าหากกระบวนการเรียนรู้ของชีวิตในช่วงแรกเริ่มดังกล่าวผิดพลาด บุคคลผู้นั้นอาจเติบโตขึ้นกลายเป็นอาชญากรเลือดเย็น โดยสามารถจะก่ออาชญากรรมที่เป็นภัยร้ายแรงต่อสังคม อาทิ การฆ่าคนตายอย่างโหดร้ายทารุณ ด้วยความรู้สึกไม่สะทกสะท้านอะไรเลยต่อบาปกรรมที่กระทำลงไปนั้นๆ เป็นต้น – เปรียบเหมือนสีที่แต้มลงบนแผ่นกระดาษขาวดังที่กล่าวมาแล้ว ถึงจะเอาสีอื่นมาระบายทับอีกกี่ชั้นจนมองไม่เห็นสีเดิมนั้นก็ตาม แต่สีที่แต้มลงไปครั้งแรกก็ไม่ได้หายไปไหน ถ้าลบสีที่ระบายทับในภายหลังออกด้วยยางลบ สีพื้นเดิมก็จะปรากฏตัวออกมาให้เห็นได้อีก – อันที่จริงพระพุทธศาสนาเชื่อว่า ?วิญญาณธาตุ? หรือ ?ธาตุรู้? ที่แฝงอยู่ในชีวิตตั้งแต่ตอนเป็นทารกที่ปฏิสนธิอยู่ในครรภ์มารดานั้น มีคุณลักษณะบางอย่างติดตัวมาแต่เดิมอยู่แล้ว (เหมือนสีพื้นเดิมบนแผ่นกระดาษ) ที่เรียกว่าเป็น ?อนุสัยอาสวะ? คล้ายกับโปรแกรมซอฟแวร์ที่ฝังอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่ในภาวะที่เครื่องคอมพิวเตอร์ปิดอยู่ โปรแกรมเหล่านั้นก็จะซ่อนตัวอยู่ในรูปของภาวะแฝง … Continue reading

ความลับของเวลา : นาฬิกาแห่งชีวิต

– การศึกษาของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่า ณ ปี 2556 ??อายุขัยเฉลี่ย (Life Expectancy) ของชายไทยอยู่ที่ 71.1 ปี และหญิงไทยอยู่ที่ 78.1 ปี – ถ้าคนไทยใช้ชีวิต ? 5 อ.? ในชุมชนสุขภาพ ???????????????? อ1 ได้กิน ?อาหาร? ที่มีคุณค่าปลอดภัยไร้สารพิษ ? ? ? ? ? ? ? ? ?อ2 ได้สูด ?อากาศ? ที่บริสุทธิ์ไร้มลภาวะปนเปื้อน ???????????????? … Continue reading

?ณ เวลาตีหนึ่ง (หรือ 1 นาฬิกาของชีวิตวัยสามขวบครึ่ง) ????????????

– ชีวิตของเด็กเล็กๆกำลังเริ่มเรียนรู้สิ่งต่างๆ? และซึมซับแบบอย่างที่ได้เรียนรู้จากสังคมรอบข้างอย่างรวดเร็ว? เหมือนแผ่นกระดาษขาวที่สามารถดูดซับสีซึ่งแต้มบนกระดาษ? ให้ติดแน่นเข้าไปในเนื้อกระดาษนั้นจนยากที่จะลบออกฉันใด? ทฤษฎีจิตวิทยาสมัยใหม่แทบทุกสำนักล้วนชี้ให้เห็นอิทธิพลของการเรียนรู้ในเด็กเล็กตั้งแต่ช่วงแรกเกิดเป็นต้นมาฉันนั้น? โดยเฉพาะอย่างยิ่งทฤษฎีจิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis) ที่ชี้ให้เห็นว่า? สิ่งที่เด็กทารกได้ซึมซับจากสังคมสิ่งแวดล้อมรอบข้างนั้น? จะตกตะกอนนอนก้นอยู่ในโครงสร้างของจิตไร้สำนึก (Unconscious) ที่ตามรู้ได้ยาก? แต่มีอิทธิพลกำหนดพฤติกรรมชีวิตของคนผู้นั้นตลอดไปอย่างไม่รู้ตัว – อันที่จริงพระพุทธศาสนาชี้ให้เห็นว่าทารกที่อยู่ในครรภ์มารดาก็มี ?วิญญาณธาตุ? หรือจิตที่รับรู้สิ่งต่างๆแฝงอยู่แล้ว? แต่เป็น ?พลังความรับรู้? ที่ไม่เต็มศักยภาพ? เพราะว่าอายตนะทั้งหกยังทำงานได้ไม่สมบูรณ์? กระบวนการเรียนรู้จริงๆของชีวิตจึงเริ่มต้นเมื่อทารกคลอดจากครรภ์มารดา? ตาได้เห็นรูป? หูได้ยินเสียง? จมูกได้กลิ่น? ลิ้นได้สัมผัสกับรส? และกายได้สัมผัสกับความเย็นร้อนอ่อนแข็ง? ตลอดจนความรู้สึก ?เจ็บปวด? (ทุกขเวทนา) หรือรู้สึก ?สบาย? (สุขเวทนา) ต่างๆ – มนุษย์ไม่ได้อยู่ในสุญญากาศ ?แต่ฝังตัวอยู่ภายใต้ระบบสังคมหนึ่งๆ? เหมือนต้นไม้ที่ต้องมีรากฝังอยู่ในดินจึงจักเจริญเติบโตขึ้นได้ฉะนั้น ?เมื่อสิ่งที่เด็กๆเรียนรู้ตั้งแต่ลืมตาดูโลก … Continue reading

ณ เวลาเที่ยงคืนของกำเนิดชีวิต

เวลาตีหนึ่ง

?– 0.001 น. ชีวิตใหม่อุบัติขึ้นลืมตาดูโลก? พร้อมกับเสียงร้องไห้ด้วย ?ความกลัว? ต่อภาวะความบีบคั้นเป็นทุกข์? ที่กำลังจะต้องเผชิญในวันเวลาต่อแต่นี้ไปอีก ?หนึ่งรอบวัฎจักร? – พระพุทธศาสนาถือว่า ?จิตวิญญาณเป็นประธานของสิ่งทั้งหลายทั้งปวง?? จิตวิญญาณหรือ ?วิญญาณธาตุ?? คือ ?ธาตุรู้? ที่เป็นสิ่งพื้นฐานอย่างหนึ่งของเอกภพ (เช่นเดียวกับสสารและพลังงาน)? โดยมีคุณสมบัติสามารถจะ ?รับรู้? และมีความ ?รู้สึก-นึก-คิด? (เวทนา- สัญญา- สังขาร) ต่อสรรพสิ่งที่ ?ถูกรู้? (รูป) ทั้งหลายทั้งปวง – เอกภพจึงประกอบขึ้นจากขันธ์ทั้งห้าได้แก่ ? รูป-เวทนา-สัญญา-สังขาร-วิญญาณ? หรือกล่าวโดยย่อ? เอกภพเป็นปฏิสัมพันธ์ของสัมพัทธภาพ (Relativity) แห่ง ?รูป? (อวกาศและเวลาที่ถูกรู้) กับ … Continue reading