พลังชีวิตกับสุขภาพ – บทที่ 1: รู้จักและเข้าใจพลังชีวิต


บทความ: พลังชีวิตกับสุขภาพ

ดาวน์โหลด PDF

————————————————————————————————

ต้นกำเนิดของจักรวาล แม่ของสรรพสิ่ง
รู้จักแม่ ก็รู้จักลูก … รู้จักลูก ไม่ทิ้งแม่
– เต๋า เต็ก เก็ง –

ก่อนอื่นเราควรมาทำความรู้จักและเข้าใจกับคำว่า ?พลังชีวิต? ที่เรียกกันในภาษาจีนกลางว่า ?ชี่? ภาษาจีนแต้จิ๋วจะออกเสียงว่า ?ขี่? และหมายถึงสิ่งเดียวกับที่คนญี่ปุ่นเรียกว่า ?กิ? (Ki) หรือคำว่า ?ปราณ? (Prana) ในภาษาสันสกฤต หรือ ?นูมา? (Pneuma) ในภาษากรีก พลังชีวิตในความหมายนี้ หมายถึงพลังธรรมชาติที่มีอยู่ทุกหนทุกแห่ง ทั้งในร่างกายมนุษย์และทุกสรรพสิ่งในจักรวาล คนโบราณมองว่าทุกสรรพสิ่งในจักรวาลล้วนมีชีวิตและมี ?ชี่? หรือ ?ปราณ? ของตัวเอง แม้แต่วัตถุธาตุต่างๆ ที่เราจัดว่าเป็นสิ่งไม่มีชีวิต ในนัยยะนี้ก็ถือว่าล้วนมีชีวิตและมี ?ชี่? ไหลเวียนอยู่ในตัวเองทั้งสิ้น รวมถึงดวงดาวทั้งหลาย ภูเขา ก้อนหิน แม่น้ำ ก้อนเมฆ วัตถุสิ่งของต่างๆ ตลอดจนอะตอมทุกอะตอม และแน่นอนว่าต้องรวมถึงมนุษย์ทุกคน สัตว์ทุกตัว และพืชทุกชนิดด้วย

พลังชีวิต หรือ พลังชี่ คือพลังงานรอบๆ ตัวเราที่มีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา เป็นองค์ประกอบพื้นฐานที่สุดในการก่อตัวเป็นรูปเป็นร่างและรักษาความมีอยู่ของทุกสรรพสิ่ง ทุกสรรพสิ่งในจักรวาลจะมีการถ่ายโอนแลกเปลี่ยนชี่ระหว่างกันอยู่เสมอ ดังที่คัมภีร์อี้จิงเก่าแก่ของจีน (1122 ปีก่อนคริสต์กาล) กล่าวไว้ว่า สรรพสิ่งในจักรวาลนี้ ไม่มีอะไรหยุดนิ่ง ไม่มีอะไรไม่เปลี่ยนแปลง ไม่มีอะไรไม่เชื่อมโยงกัน และไม่มีอะไรไม่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน การเปลี่ยนแปลงของชี่ก่อให้เกิดสรรพสิ่งในจักรวาลและปรากฏการณ์ธรรมชาติทั้งหลาย ฤดูกาลต่างๆ ก็เป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงของชี่

วิทยาศาสตร์ปัจจุบันได้พยายามศึกษาชี่ และพบว่า ?ชี่? มีรูปแบบเป็นพลังงานหลายลักษณะ ที่พบมากคือมีคุณสมบัติเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า บางส่วนเป็นคลื่นรังสีความร้อนหรืออินฟราเรดและประจุไฟฟ้า (electrostatic charge) และยังเป็นพลังงานที่มองไม่เห็นอีกหลายรูปแบบในช่วงคลื่นที่เครื่องมือวิทยาศาสตร์ปัจจุบันยังตรวจจับไม่ได้ แต่มีหลักฐานข้างเคียงที่บ่งชี้ชัดว่ามีคลื่นเหล่านี้อยู่จริง

ช่วงความถี่ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่เครื่องมือปัจจุบันสามารถวัดได้ มนุษย์ทุกคนมีพลังชีวิตหรือชี่อยู่ในตัว แต่จะมีปริมาณมากน้อยเพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับสภาพของร่างกายและจิตใจ ผู้ที่เจ็บป่วยย่อมมีพลังชีวิตน้อยกว่าผู้ที่มีร่างกายแข็งแรง ในวิชาชี่กงของจีนและโยคะศาสตร์ของอินเดีย ต่างเชื่อว่าพลังทางกายภาพ พลังจิต และพลังความคิด ล้วนก่อเกิดจากพลังชี่หรือพลังปราณทั้งสิ้น ดังนั้นหากเราสามารถฝึกชี่ให้มีประสิทธิภาพ ร่างกายก็จะแข็งแรง หากสามารถปรับชี่ให้มีพละกำลัง จิตใจก็จะเข้มแข็ง และหากสามารถบ่มเพาะให้ชี่ไปบำรุงสมองได้เต็มที่ ปัญญาความคิดก็จะเฉียบคม

มนุษย์ทุกคนมีพลังชีวิตหรือชี่อยู่ในตัว แต่จะมีปริมาณมากน้อยเพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับสภาพของร่างกายและจิตใจ ผู้ที่เจ็บป่วยย่อมมีพลังชีวิตน้อยกว่าผู้ที่มีร่างกายแข็งแรง ในวิชาชี่กงของจีนและโยคะศาสตร์ของอินเดีย ต่างเชื่อว่าพลังทางกายภาพ พลังจิต และพลังความคิด ล้วนก่อเกิดจากพลังชี่หรือพลังปราณทั้งสิ้น ดังนั้นหากเราสามารถฝึกชี่ให้มีประสิทธิภาพ ร่างกายก็จะแข็งแรง หากสามารถปรับชี่ให้มีพละกำลัง จิตใจก็จะเข้มแข็ง และหากสามารถบ่มเพาะให้ชี่ไปบำรุงสมองได้เต็มที่ ปัญญาความคิดก็จะเฉียบคม

การบ่มเพาะพลังชีวิต หรือการฝึกชี่ ซึ่งเรามักคุ้นกว่าในชื่อว่า ?ชี่กง? ก็คือการฝึกฝนกายและใจเพื่อเพิ่มพูนกำลังของชี่ โดยการปรับท่วงท่า ฝึกการหายใจ และการรวมศูนย์ความนึกคิด เพื่อทำให้ชี่ภายในร่างกายได้แลกเปลี่ยนกับชี่ในธรรมชาติ ซึ่งจะช่วยสร้างเสริมสุขภาพให้แข็งแรงสมบูรณ์ทั้งร่างกาย และจิตใจ รวมไปถึงจิตวิญญาณ คำว่า ?ชี่กง? มาจากการรวมคำในภาษาจีนสองคำ คือ คำว่า ?ชี่? ซึ่งหมายถึงพลังชีวิตที่มีอยู่ในร่างกายมนุษย์และทุกสรรพสิ่งในจักรวาลตามที่ได้กล่าวมาแล้ว และคำว่า ?กง? ที่หมายถึงทักษะ แรงการกระทำ หรือการปฏิบัติเพื่อให้ได้ผล เมื่อรวมสองคำนี้จึงได้ความหมายว่า การฝึกฝนฝึกฝนปฏิบัติเพื่อให้ได้ชี่ หรือเพื่อเพิ่มพูนพลังชีวิตขึ้นในร่างกาย ส่งผลให้ผู้ฝึกมีสุขภาวะที่สมบูรณ์ขึ้น และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น จึงถือว่า ชี่กง เป็นวิชาที่สามารถช่วยเรารักษาโรคที่ยังไม่เกิดขึ้นด้วยตัวของเราเอง

ประเภทของพลังชีวิต

?คัมภีร์อี้จิง? ของจีนแต่โบราณกล่าวไว้ว่า มนุษย์เราสัมพันธ์กับพลังชีวิตหรือพลังชี่ 3 ประเภท คือ

  1. พลังชีวิตจากฟ้า (ชี่ฟ้า หรือ ชี่สวรรค์) คือพลังธรรมชาติที่อยู่ในท้องฟ้าและจักรวาล รวมถึงพลังจากดวงอาทิตย์ แรงดึงดูดจากดวงจันทร์และดวงดาว พลังที่เกิดจากลม พายุ สายฝน ก้อนเมฆ และอากาศ
  2. พลังชีวิตจากดิน (ชี่ดิน หรือ ชี่ของโลก) คือพลังธรรมชาติที่อยู่บนโลก ทั้งบนดินและใต้ดิน รวมถึงก้อนหิน ดิน ทราย แร่ธาตุ สายน้ำ ต้นไม้ และสัตว์ต่างๆ
  3. พลังชีวิตของมนุษย์ ที่จริงชี่ของคนก็จัดเป็นชี่ของโลกเช่นเดียวกับชี่ของสัตว์และต้นไม้ แต่เพราะมนุษย์เห็นว่าตนเองแตกต่างจากสัตว์และพืช จึงได้แยกตัวเองออกมาเป็นสิ่งมีชีวิตที่พิเศษกว่าสิ่งมีชีวิตอื่นๆ เพื่อสามารถศึกษาค้นคว้าให้เกิดความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตและการบำบัดรักษาตัวเอง

พลังชี่ทั้ง 3 ประเภทนี้มีความสัมพันธ์เกี่ยวโยงซึ่งกันอย่างแยกขาดจากกันไม่ออก และทำปฏิกริยาต่อกันอยู่ตลอดเวลา เป็นไปตามหลักการในคัมภีร์อี้จิงที่ว่า ไม่มีสิ่งใดในจักรวาลนี้สามารถแยกขาดเป็นปัจเจกอย่างสมบูรณ์โดยไม่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันเลย และ ไม่มีชี่ของสิ่งใดไม่เคลื่อนไหวแลกเปลี่ยนกับชี่ของสิ่งอื่น โดยธรรมชาติแล้ว ถ้าชี่ของสิ่งหนึ่งสมดุล ก็จะทำให้ชี่ของสิ่งอื่นๆ ดีไปด้วย ถ้าชี่ของสิ่งหนึ่งไม่สมดุล ก็จะส่งผลต่อชี่ของสิ่งอื่นๆ เพราะมันจะต้องปรับสร้างสมดุลของตัวเองใหม่ โดยไปดึงชี่จากสิ่งต่างๆ รอบตัวมาทดแทน ซึ่งจะทำให้มีการดึงชี่ทดแทนต่อเนื่องเป็นลูกโซ่ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะเกิดสมดุลของทั้งระบบขึ้นใหม่ ด้วยเหตุนี้ ถ้าสรรรพสิ่งมีความสมดุล จะหมายถึงผู้คนจะไม่เจ็บป่วย พืชพันธุ์ไม้ใหญ่น้อยจะเจริญงอกงาม ฝนฟ้าจะตกตามฤดูกาล ทุกสรรพสิ่งจะเป็นไปตามที่ควรจะเป็นตามวัฏจักรของธรรมชาติ

ดังนั้น ความมีสุขภาพดีของทุกสิ่งในจักรวาล จึงขึ้นอยู่กับความสมดุล ความผสมผสานกลมกลืน และการแลกเปลี่ยนกันอย่างพอดี ระหว่างชี่ของตัวเอง (ชี่ภายใน) กับชี่ของสิ่งแวดล้อม (ชี่ภายนอก)

รวบรวมและเรียบเรียง – ทัศนีย์ เศรษฐ์บุญสร้าง
tatsanee@NawaChiOne.org
? สงวนลิขสิทธิ์

กลับสู่ด้านบน

เกษตรอินทรีย์พลังชีวภาพ – เกริ่นนำ: อนาคตอยู่ในมือเรา

บทความ: เกษตรอินทรีย์พลังชีวภาพ

ดาวน์โหลด PDF


สารบัญ

————————————————————————————————

อนาคตอยู่ในมือเรา

?ในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา?ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ได้ลดลงอย่างรวดเร็วมากกว่าช่วงใดๆ ในประวัติศาสตร์ …ซึ่งเป็นผลจากสาเหตุหลากหลาย รวมถึงการสูญเสียอย่างมหาศาลของความหลากหลายทางชีวภาพ การตัดไม้ทำลายป่าที่ทำให้พื้นที่ป่าเสื่อมโทรม การสูญเสียความอุดมสมบูรณ์ของดิน และคุณภาพของน้ำและอากาศ?

IAASTD (2009) Agriculture at a Crossroads: A Global Report

โลกของเราเป็นดาวเคราะดวงเดียวในระบบสุริยะที่มีเปลือกหุ้มที่มีชีวิต นั่นก็คือ ?ดิน? แต่ดินได้กลายเป็นทรัพยากรที่ถูกลืม มีน้อยคนนักที่รู้และตระหนักว่า “ดินมีชีวิต? เหมือนๆกับพวกเราหรืออาจมากกว่าอีกด้วย ในร่างกายของคนเราและในสัตว์ทุกชนิดต่างมีจุลินทรีย์อาศัยอยู่และช่วยระบบการทำงานของร่างกายให้ดำรงชีวิตอยู่ได้ (เช่น จุลินทรีย์แลคโตบาซิลัส ในลำไส้ใหญ่ที่ช่วยในการย่อยอาหาร เป็นต้น) ในดินปริมาณ 1 ช้อนชามีจุลินทรีย์อยู่มากกว่า 6 พันล้านตัว1 ซึ่งมากกว่าจำนวนประชากรทั้งหมดบนโลกในขณะนี้เสียอีก! มนุษยชาติอยู่รอดได้ด้วยหน้าดินหนาเพียง 6 นิ้ว ที่เป็นแหล่งกำเนิดอ๊อกซิเจนให้เราหายใจ และให้อาหารเลี้ยงทุกชีวิตบนโลก ธรรมชาติต้องใช้เวลาถึง 300 ปีเพื่อสร้างหน้าดินหนา 1 ซ.ม.2 แต่ในช่วง 100 ปีที่ผ่านมา โลกได้สูญเสียหน้าดินไปถึง 1 ใน 33 และปัจจุบันเราสูญเสียหน้าดินอย่างรวดเร็วไปกับการกัดเซาะของน้ำและลม

ซึ่งการปฏิวัติเขียวยุคก่อนมีสาเหตุหลักมาจากวิธีการทำการเกษตรที่เป็นผลจากการปฏิวัติเขียว (Green revolution) หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 หากพิจารณาให้ดีจะเข้าใจได้ว่าปัญหาน้ำท่วม ภัยแล้ง สภาพภูมิอากาสแปรปรวน หรือแม้แต่สงครามที่ช่วงชิงดินแดนในปัจจุบัน ต่างล้วนมีความเกี่ยวโยงโดยตรงกับวิธีที่เราปฏิบัติต่อดินทั้งสิ้น หากโลกปราศจากหน้าดินเสียแล้ว สิ่งมีชีวิตก็ไม่อาจดำรงชีวิตอยู่บนโลกใบนี้ได้

การปฏิวัติเขียวยุคก่อน

กลับสู่ด้านบน

ผลพวงของการปฏิวัติเขียวยุคก่อนที่ส่งเสริมวิธีทำการเกษตรแบบอุตสาหกรรม ได้ทำให้เกษตรกรทั่วโลกส่วนใหญ่ต้องทิ้งวิถีการเกษตรแบบดั่งเดิมที่อนุรักษ์ดิน หันมาทำการเกษตรที่ต้องพึ่งพาสารเคมี ทั้งปุ๋ยและสารกำจัดศัตรูพืช เป็นปัจจัยสำคัญในการผลิต สารเคมีเพื่อการเกษตรเหล่านี้เป็นตัวการสำคัญที่ทำลายหน้าดิน ทำให้ดินเสื่อม เกิดดินเสีย และกลายเป็นดินตายในที่สุด ปัญหาวิกฤตคุณภาพดินเพิ่มมากขึ้นตามปริมาณการใช้สารเคมีเพื่อการเกษตร คุณภาพดินจากการทำเกษตรเคมีมีแต่จะเสื่อมลง และเพื่อให้ได้ปริมาณผลผลิตเท่าเดิม ผู้ผลิตจึงต้องใช้สารเคมีในการผลิตเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้ดินเสียหายหนักขึ้นและเร็วขึ้น

สารเคมีการเกษตรที่ใช้กันอย่างมหาศาลในปัจจุบัน นอกจากจะทำลายดินและระบบนิเวศ อย่างรวดเร็วแล้ว ก็ใช่ว่าจะสามารถช่วยเพิ่มผลผลิตเป็นเงาตามตัวกับปริมาณที่ใช้เพิ่มขึ้น แต่ตรงกันข้าม ถึงจะใส่ปุ๋ยเคมีเพิ่มมากเท่าไหร่ก็ตาม ผลผลิตก็ไม่เพิ่มหรือเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้นหรือกระทั้งลดลงในหลายกรณี4 ปัจจุบันมูลค่าของสารแคมีเพื่อการเกษตรที่ใช้กันอยู่ในประเทศไทยสูงถึงปีละกว่า 30,000 ล้านบาท และส่วนใหญ่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ถึงแม้ประเทศไทยจะส่งออกสินค้าเกษตรได้เป็นจำนวนมาก แต่รายได้สุทธิของเกษตรกรกลับลดน้อยลงมาก รายได้ส่วนใหญ่ไปตกอยู่ในมือกลุ่มธุรกิจขายปุ๋ย สารเคมีการเกษตร และเมล็ดพันธุ์ ยิ่งเมื่อราคาปัจจัยการผลิตด้านการเกษตรเหล่านี้มีแต่จะเพิ่มสูงขึ้นตามราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ก็ยิ่งจะทำให้ต้นทุนการผลิตของเกษตรกรมีแต่จะเพิ่มสูงขึ้น เมื่อถูกซ้ำเติมด้วยสภาพภูมิอากาศที่แปรปรวนที่ทำให้ผลผลิตเสียหาย ต้องสูญเสียรายได้ซ้ำอีก การใช้สารเคมีราคาแพงเหล่านี้ยังทำให้ผืนดินที่ทำกินหรือแหล่งรายได้เสื่อมโทรมลง ผลผลิตอาหารที่นำมาบริโภคก็ปนเปื้อนสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพมากขึ้น ทำให้เกษตรกรต้องเผชิญปัญหาวิกฤตมากมายที่ถาโถมสู่อาชีพและชีวิตอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ตัวอย่างเช่น5

  • ร้อยละ 80 ของเกษตรกรไทยเป็นหนี้ที่ยังไม่มีทางใช้คืน กลายเป็นหนี้อมตะที่ยังใช้คืนไม่ได้ ทำให้รัฐบาลนโยบายประชานิยมใช้ภาษีของประชาชนไป ?ยกหนี้? ให้เกษตรกรเพื่อแก้ปัญหา
  • ร้อยละ 75 ของเกษตรกรไทยมีสารพิษสะสมในร่างกายระดับที่ไม่ปลอดภัยและเสี่ยงต่อโรคร้าย
  • ร้อยละ 70 ของเกษตรกรไทยซึ่งเป็นผู้ปลูกอาหารเลี้ยงประชากรในประเทศและชาวโลก ไม่สามารถเลี้ยงครอบครัวตัวเองจากอาหารที่ผลิตในไร่นาของตนเอง ต้องพึ่งพาซื้ออาหารจากที่อื่น
  • ร้อยละ 60 ของเกษตรกรไทยต้องเช่าที่ดินทำกิน และอีกกว่า 3 แสนรายถูกฟ้องยึดที่ดินทำกิน
  • จำนวนเกษตรกรไทยลดลงเหลือน้อยกว่าร้อยละ 40 ของประชากรในปี 2552 และมีอายุเฉลี่ยเพิ่มขึ้นอยู่ที่ราว 45-51 ปี คนหนุ่มสาวไม่อยากเป็นเกษตรกรเหมือนพ่อแม่ที่ต้องลำบากยากจน

นอกจากนี้ อาหารที่เป็นผลผลิตจากเกษตรเคมียังเป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญของปัญหาวิกฤตด้านสุขภาพของคนไทยในปัจจุบันอีกด้วย

  • อัตราการป่วยด้วยโรคมะเร็งของคนไทยในช่วง 60 ปีที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นถึง 100 เท่า6 เมื่อปี 2548 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารสุขในขณะนั้น นพ.สุชัย เจริญรัตนกุล ได้ให้ข่าวว่าคนไทยเป็นมะเร็งเพิ่มทุกวัน วันละ 274 คน โดยสาเหตุใหญ่เกิดจากสารเคมีปนเปื้อนในอาหาร7 ข้อมูลสถิติสาเหตุการตายของคนไทยช่วงปี 2541-2551 ของกระทรวงสาธารณสุข แสดงให้เห็นว่าคนไทยตายเพราะมะเร็งเป็นอันดับหนึ่งตลอดทศวรรษ และยังคงรักษาอันดับที่หนึ่งมาจนถึงปี 2554 โดยคิดเฉลี่ยมีคนไทยตายเพราะมะเร็งชั่วโมงละ 6.6 คน (58,076 คน/ปี) ใช้งบประมาณค่ารักษาไปราว 5,700 ล้านบาทในปีเดียว8
  • ผลการสุ่มตรวจเลือดกลุ่มผู้บริโภคในจังหวัดเชียงใหม่เมื่อปี 2551 จำนวน 1,412 คน?ทั้งนักศึกษา อาจารย์ และประชาชนทั่วไป พบว่าผู้มีสารพิษสะสมในเลือดระดับที่ไม่ปลอดภัยและเสี่ยงต่อโรคร้ายสูงถึงร้อยละ 899 มากกว่าที่ตรวจพบในกลุ่มเกษตรกร (ร้อยละ 75)
  • ในช่วงปี 2540-49 จำนวนคนไทยที่ป่วยด้วยโรคมะเร็ง หัวใจ หลอดเลือด และเบาหวาน เพิ้มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตัวเลขในปี 2551 ชี้ว่ามีคนไทยป่วยด้วยกลุ่มโรคร้ายที่อันตรายเกือบ 1 ล้านราย10
  • ประเทศไทยมีคนอ้วนเพิ่มขึ้นถึง 7.5 เท่าในช่วง 18 ปีที่ผ่านมา ปัจจุบันมีคนไทยที่ท้วมถึงอ้วนมากถึง 10 ล้านคน ทำให้ประเทศต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคที่เป็นผลจากโรคอ้วน เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน หลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดสมอง และมะเร็ง ปีละหลายแสนล้านบาท11

ถึงแม้ประเทศไทยจะมีการเตรียมตัวรับมือกับปัญหาวิกฤตทั้งหลายด้วยการรณรงค์เผยแพร่วิถีปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และส่งเสริมให้เกษตรกรหันมาทำเกษตรเกษตรอินทรีย์หรือธรรมชาติกันอย่างแพร่หลายมามากกว่า 2 ทศวรรษแล้วก็ตาม แต่ก็ยังไม่สามารถชักจูงและดึงดูดให้เกษตรกรส่วนใหญ่ของประเทศละทิ้งการทำเกษตรเคมีและหันมาทำเกษตรอินทรีย์แทนได้ สาเหตุหลักประการหนึ่งก็เพราะ วิธีการทำเกษตรอินทรีย์ที่ส่งเสริมและเผยแพร่กันทั่วไปในประเทศไทย ต้องใช้เวลาราว 3-7 ปี (ขึ้นกับสภาพความเสื่อมของดิน) เพื่อปรับพลิกฟื้นความอุดมสมบูรณ์ของดินที่เสื่อมโทรมจากการใช้สารเคมี ให้สามารถให้ผลผลิตที่เทียบเคียงกับการทำเกษตรเคมีได้ เกษตรกรที่สนใจจะหันมาทำเกษตรอินทรีย์จำเป็นต้องแบกรับภาระรายได้ที่ลดลงในช่วงการปรับเปลี่ยนที่ยาวนานนี้ไว้เอง หรือรัฐต้องใช้งบประมาณมาช่วยสนับสนุน ซึ่งในความเป็นจริงจะเป็นกรณีแรกมากกว่ากรณีหลัง

ภูมิปัญญาของโลกตะวันออกเชื่อเสมอมาว่าทุกสรรพสิ่งบนโลกใบนี้ ทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต จำเป็นต้องพึ่งพาอาศัยกันและกันเพื่อความอยู่รอด สำหรับคนโบราณแล้ว การเกษตรถือเป็นวิถีชีวิต ระบบเกษตรกรรมเป็นวัฒนธรรมของชุมชน หากศึกษาจากกระบวนการของธรรมชาติ เราจะเห็นได้ว่าปัญหาวิกฤตต่างๆ ที่พวกเราชาวโลกกำลังเผชิญอยู่ ความจริงแล้วสามารถเริ่มต้นแก้ไขได้เพียงด้วยการปรับเปลี่ยนแนวคิดและวิธีการทำเกษตรกรรม จากการพึ่งพาสารเคมีและพลังงาน มาสู่แนวทางการเกษตรที่เข้าใจกระบวนการของธรรมชาติ หรือสอดคล้องกับกลไกทางชีวภาพของระบบนิเวศตามธรรมชาติ ซึ่งเป็นการเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิตจากที่ผลาญทรัพยากรมาสู่วิถีพอเพียง เปลี่ยนจากการพึ่งพาผู้อื่นมาสู่การพึ่งพาตัวเอง เพียงการเริ่มต้นจากการดูแลเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้กับดินตามกระบวนการทางชีวภาพของธรรมชาติ ก็จะสามารถขับเคลื่อนฟันเฟืองของกลไกธรรมชาติในการเยียวยาปัญหาสิ่งแวดล้อม ทำให้ระบบนิเวศกลับคืนสู่ความสมดุลตามธรรมชาติ สร้างสภาพแวดล้อมที่ยั่งยืนสำหรับการอยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตทั้งหลายบนโลกใบนี้ได้

เราทุกคนมีส่วนในการทำลายหรือทำให้เกิดความยั่งยืน พวกเราต่างเป็นส่วนหนึ่งของระบบขนาดใหญ่ที่เกี่ยวโยงกัน ซึ่งกำลังได้รับผลกระทบเชิงลบจากพฤติกรรมของพวกเราที่ไม่อาจนำพาไปสู่ความยั่งยืนในหลายลักษณะ แต่สิ่งแวดล้อมที่เราใช้ร่วมกันเป็นสิ่งที่สามารถฟื้นฟูกลับคืนมาได้ในเวลาน้อยกว่าชั่ว 1 ชีวิต หากพวกเราทุกคนร่วมมือร่วมใจกันที่จะเพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับโลก จอห์น เอฟ เคเนดี้ เคยกล่าวไว้ว่า ?หากคุณไม่ใช่ส่วนหนึ่งของทางแก้ คุณก็เป็นส่วนหนึ่งของปัญหา?

ผลพวงของเกษตรเคมี

กลับสู่ด้านบน

การปฏิวัติเขียวที่ผ่านมาส่งเสริมวิธีทำเกษตรเคมี ทำให้เกษตรกรทั่วโลกส่วนใหญ่หันมาทำการเกษตรพืชเชิงเดียวในพื้นที่ขนาดใหญ่ ทำให้ต้องใช้เครื่องจักรกลหนักด้านการเกษตรที่เผาผลาญน้ำมันเชื้อเพลิงจำนวนมาก ต้องอาศัยระบบชลประทานที่ดีเพื่อให้มีน้ำอย่างพอเพียงสำหรับไร่นาขนาดใหญ่ ต้องใช้เมล็ดพันธุ์ลูกผสม (hybrid) หรือตัดแต่งพันธุ์กรรม (GMO) เพื่อเพิ่มปริมาณผลผลิต ต้องพึ่งพาปุ๋ยและสารกำจัดศัตรูพืชเคมีที่เป็นผลผลิตจากน้ำมันปิโตรเลียมเป็นปัจจัยสำคัญในการผลิต ซึ่งวิธีการเหล่านี้ล้วนเป็นตัวการสำคัญที่ทำลายหน้าดินที่อุดมสมบูรณ์ ตลอดจนแร่ธาตุสารอาหารในดินทั้งสิ้น

ปัจจุบันทั่วโลกมีการสูญเสียดินจากการทำเกษตรเคมีเฉลี่ย 13-53 กิโลกรัมต่อทุก 1 กิโลกรัมของอาหารที่เรารับประทาน วิธีการเกษตรเคมีที่ทำกันอยู่อย่างแพร่หลายนี้สามารถทำลายหน้าดินเร็วกว่าที่ธรรมชาติสามารถสร้างมาทดแทนได้ 18-80 เท่า แม้แต่การทำเกษตรอินทรีย์ทั่วไปถ้ามองในภาพรวม ก็อาจทำลายหน้าดินได้เร็วกว่าที่ธรรมชาติสามารถมาทดแทนได้ถึง 17-70 เท่า เพราะการใช้อินทรีย์วัตถุและแร่ธาตุสารอาหารหรือปุ๋ยจากที่นำมาจากแหล่งอื่น สามารถเพิ่มการทำลายหน้าดินของแหล่งที่เอามาเร็วขึ้นได้

ปัญหาวิกฤตคุณภาพดินเสื่อม ดินเสีย และดินตาย เพิ่มมากขึ้นตามปริมาณการใช้สารเคมีเพื่อการเกษตร และเนื่องจากคุณภาพดินเสื่อมลงตลอดมาจากการทำเกษตรเคมี ดังนั้นเพื่อให้ได้ปริมาณผลผลิตเท่าเดิม เกษตรกรจึงต้องใช้สารเคมีในการผลิตเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ปุ๋ยเคมีที่ต้องใส่เพิ่มขึ้นที่จริงแล้วไม่ได้ไปช่วยบำรุงดินให้อุดมสมบูรณ์ แต่เป็นเหมือนการให้ ?ยาเคมี? กับพืชเพื่อให้สามารถอยู่รอดได้ในดินที่เสื่อมโทรม แต่ขณะเดียวกันก็ไปฆ่าจุลินทรีย์ ไส้เดือน สัตว์ขนาดเล็ก และแมลงที่เป็นประโยชน์ต่างๆ ที่อาศัยอยู่ในดิน ส่งผลให้ดินเสียหายหนักขึ้นและเร็วขึ้น

นอกจากนี้ สารเคมีเพื่อการเกษตรส่วนใหญ่เป็นผลผลิตจากน้ำมันปิโตรเลียม ซึ่งยังมีการโต้เถียงกันอยู่ว่าเรากำลังเผชิญปัญหาวิกฤตน้ำมันดิบขาดแคลนและกำลังจะหมดโลก (peak oil) จริงอย่างที่เป็นข่าวหรือไม่ แต่ไม่ว่าความจริงจะเป็นเช่นไร ราคาปัจจัยการผลิตเคมีการเกษตรเหล่านี้ก็มีแต่จะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ สารเคมีเพื่อการเกษตรเหล่านี้ยังเป็นสารพิษที่เป็นอันตรายต่อทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค โดยเฉพาะเด็กและผู้สูงอายุ รวมทั้งคนที่มีภูมิต้านทานต่ำ และคนที่เป็นโรคร้ายเรื้อรัง เช่น มะเร็ง โรคแพ้ภูมิตัวเอง (SLE) หรือ ผู้ติดเชื้อเอดส์ (HIV/AIDS) ตลอดจนเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะแหล่งน้ำและดินอีกด้วย นอกจากนี้ผลพวงของเกษตรเคมีจากปฏิวัติเขียวยังนำมาซึ่งปัญหาวิกฤตโลกอีกหลายประการ ที่เริ่มปรากฏให้เห็นได้ชัดเจนมากขึ้นในปัจจุบัน ซึ่งรวมถึง

  • ปัญหาวิกฤตหนี้สินเกษตรกรทั่วโลก เนื่องจากเกษตรกรทั่วโลกส่วนใหญ่ทำเกษตรที่ต้องพึ่งพิงสารเคมีเกษตรในการผลิตจำนวนมหาศาล ใช้เมล็ดพันธุ์ลูกผสมและตัดแต่งพันธุ์กรรม ซึ่งปัจจัยการผลิตเหล่านี้ล้วนถูกผูกขาดอยู่ในกำมือของบรรษัทข้ามชาติขนาดใหญ่เพียงไม่กี่รายในโลก อย่าง มอนซานโต้ ไบเยอร์ซินเจ็นต้า บีเอเอสเอฟ ดาวน์แอ็คโกรเค็มมิเคอร์ และดูปองท์ เป็นต้น ซึ่งราคามีแต่จะสูงขึ้นเป็นเงาตามราคาน้ำมัน ทำให้ต้นทุนการผลิตด้านการเกษตรเพิ่มสูงมากกว่าและเร็วกว่าการเพิ่มขึ้นของราคาผลิตผลการเกษตร แนวโน้มในอนาคตก็มีแต่จะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ต่อไป ขณะเดียวกัน เกษตรกรก็ต้องเผชิญกับสภาพภูมิอากาศแปรปรวนที่ทำให้ผลผลิตการเกษตรลดลงหรือเสียหาย และต้องแบกรับภาระผลขาดทุนรวมทั้งดอกเบี้ยที่เกิดขึ้น กลายเป็นหนี้สินทับถมพอกพูนเป็นหนี้อมตะไม่มีปัญญาจะใช้คืนได้
  • ตัวเลขด้านพลังงานชี้ว่า ในระบบเกษตรเคมี อาหารทุก 1 แคลลอรี่ จะต้องใช้น้ำมันโดยเฉลี่ยราว 10 แคลลอรี่ในการผลิต12 ดังนั้นอาหารทุกประเภทที่ผลิตแบบเกษตรเคมีจะได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากภาวะขาดแคลนและราคาที่พุ่งสูงขึ้นของน้ำมันในโลก ซึ่งทั้งสองกรณีนี้เป็นสิ่งที่จะต้องเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
  • ปัญหาวิกฤติด้านสุขภาพของเกษตรกรที่ใช้สารเคมีการเกษตรที่เป็นพิษ และของผู้บริโภคที่บริโภคผลผลิตการเกษตรที่มีสารเคมีพิษตกค้าง ทำให้สถิติผู้ป่วยด้วยโรคร้ายเรื้อรังเพิ่มจำนวนสูงขึ้นอย่างน่ากังวล ?ประมาณว่าในแต่ละปีมีคนราว 3 ล้านคนทั่วโลกที่ป่วยจากการได้รับพิษสารเคมีเกษตรโดยตรง และต้องเสียชีวิตราว 200,000 คน13 ไม่นับผู้ที่ป่วยเรื้องรัง ต้องทรมานหรือขาดคุณภาพชีวิตที่ดีอีกหลายล้านคนทั่วโลก
  • ปัญหาวิกฤตจำนวนประชากรโลกเพิ่มสูงขึ้น เฉลี่ยในแต่ละวันโลกมีประชากรเพิ่มขึ้นราว 213,000 คน14 หากใช้วิธีเกษตรเคมีจะต้องใช้พื้นที่เพื่อผลิตอาหารเลี้ยงคนเหล่านี้เพิ่มขึ้นราว 13,500 ไร่ทุกวัน หรือประมาณ 5 ล้านไร่ต่อปี15 โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพื้นที่การเกษตรเพื่อการบริโภคได้ลดน้อยลงเนื่องจากมีการใช้ปลูกพืชเพื่อเลี้ยงสัตว์มากขึ้น รวมทั้งการส่งเสริมการปลูกพืชพลังงาน เพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทนที่จะมารับมือปัญหาวิกฤตน้ำมันปิโตรเลียม
  • ปัญหาการเพิ่มจำนวนประชากรโลกอย่างรวดเร็ว ประกอบกับการลดลงของพื้นที่ทำการเกษตรเพื่อการบริโภค ทำให้มีการเผาและถางพื้นที่ป่าไม้เพื่อเปิดเป็นพี้นที่ใช้ประโยชน์ต่างๆ จนทำให้พื้นที่ป่าไม้สีเขียวทั่วโลกหายไปจากผิวโลกอย่างรวดเร็วตามไปด้วย การที่พื้นที่ป่าหายไปไม่ได้หมายความเพียงแค่ต้นไม้เหายไปเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบทำให้ระบบนิเวศโดยรวมของโลกเสียความสมดุลและเริ่มส่งผลสร้างความเสียหายให้กับทุกชีวิตและสรรพสิ่งบนโลกด้วย การตัดไม้จนหมดป่าภูเขากลายเป็นเขาหัวล้าน หมายถึงเราได้ทำลายแหล่งเก็บกักคาร์บอนของป่าไม้โดยสิ้นเชิง ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่นำไปสู่ปัญหาวิกฤตภาวะโลกร้อนที่กำลังส่งผลทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ในแต่ละปี
  • ความมั่นคงด้านอาหาร มีการคาดการณ์ว่า ในปี ค.ศ.2014 มีแนวโน้มว่าร้อยละ 64 ของประชากรโลกอาจต้องประสบกับภาวะอาหารไม่เพียงพอ16 ปัญหาวิกฤตภาวะโลกร้อนจะทำให้ผลผลิตการเกษตรลดปริมาณลงครึ่งหนึ่งในอีกไม่เกิน 20 ปี มีรายงานจากประเทศอังกฤษเมื่อปี ค.ศ.2004 ที่ระบุว่าปัญหาวิกฤตภาวะโลกร้อนเป็นภัยที่อันตรายและน่ากลัวกว่าภัยจากผู้ก่อการร้าย17
  • ถึงแม้โลกของเราจะประกอบด้วยน้ำถึงร้อยละ 70 แต่ในจำนวนนี้เป็นน้ำจืดเพียงร้อยละ 3 เท่านั้น และน้ำจืดที่สามารถนำมาใช้ได้จริงมีเพียงร้อยละ 0.5 เพราะที่เหลือร้อยละ 2.5 ถูกกักเก็บในรูปของน้ำแข็งตามธารน้ำแข็งทั้งหลายทั่วโลก ซึ่งกำลังละลายลงสู่ทะเลอย่างรวดเร็วเพราะภาวะโลกร้อน ร้อยละ 70 ของน้ำจืดที่ใช้ได้ ถูกใช้ไปในภาคการเกษตร ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการเกษตรแบบเคมี ประกอบกับจำนวนประชากรโลกที่กำลังเพิ่มมากขึ้น ทำให้โลกกำลังเผชิญปัญหาวิกฤตการขาดแคลนน้ำจืดเพื่อใช้ โดยเฉพาะในภาคการเกษตร ประมาณว่าในปี ค.ศ.2050 มนุษย์แต่ละคนจะมีน้ำจืดเหลือให้ใช้เพียงร้อยละ 25 ของน้ำที่มีใช้เมื่อปี ค.ศ.195018
  • ปัจจุบันกว่าร้อยละ 95 ของเมล็ดพันธุ์พืชได้สูญพันธุ์ไป เกษตรกรต้องซื้อเมล็ดพันธุ์ลูกผสมหรือเมล็ดพันธุ์ตัดแต่งพันธุ์กรรม (จีเอ็มโอ) ของบรรษัทข้ามชาติที่ครองตลาดโลกอยู่เพียงไม่กี่ราย19 การสูญพันธุ์ไปของสายพันธุ์พืชในโลกถึงร้อยละ 95 โดยเฉพาะพืชท้องถิ่นที่สามารถต้านทานโรคและแมลงศัตรูพืชท้องถิ่นได้ดี รวมทั้งสมุนไพรที่ใช้เป็นยารักษาโรคหลากหลายชนิด ได้กลายเป็นปัญหาวิกฤตความหลากหลายทางชีวภาพของโลก และสมดุลของระบบนิเวศโดยรวม
  • ผลการวิจัยใน 15 ประเทศทั่วโลกชี้ชัดว่า แปลงเกษตรขนาดเล็กหรือของเกษตรกรรายย่อยที่ปลูกพืชผสมผสานและใช้วิธีการเกษตรแบบดั่งเดิม ให้ผลผลิตต่อพื้นที่สูงกว่าผลผลิตของไร่ขนาดใหญ่ 4-5 เท่า การศึกษาในประเทศรัสเซียพบว่า ผลผลิตการเกษตรร้อยละ 30-50 ของประเทศมาจากแปลงเกษตรขนาดเล็กของเกษตรกรรายย่อย หรือสวนภายในบริเวณบ้าน ซึ่งคิดรวมเป็นพื้นที่เพียงร้อยละ 3-5 ของพื้นที่เพราะปลูกทั้งหมดในประเทศ20

นักวิทยาศาสตร์ได้ประมาณว่า หากเรายังดำเนินวิถีชีวิตและทำการเกษตรตามแนวทางของศตวรรษที่ 20 เช่นนี้ต่อไป ในเวลาอีกไม่ถึง 10 ปี โลกเราจะมีที่ดินที่สามารถทำการเพาะปลูกเพื่อปลูกอาหารเลี้ยงคนบนโลกเหลือเฉลี่ยไม่เกิน 200 ตร.ว.ต่อคน (วิธีการเกษตรในปัจจุบันต้องใช้พื้นที่ 1.33 ไร่เพื่อปลูกอาหารให้ครบโภชนาการสำหรับเลี้ยงคน 1 คน) แต่สถิติเมื่อปี 2535 ชี้ว่าหลายประเทศทั่วโลกมีน้ำสำหรับพื้นที่การเกษตรราว 100 ตร.ว.ต่อคนเท่านั้น นักวิทยาศาสตร์คาดการณ์ว่าหากภาวะเช่นนี้ยังคงดำเนินต่อไป ทั่วโลกอาจจะมีดินเหลือให้ทำการเกษตรเพื่อเลี้ยงคนบนโลกได้อีกไม่เกิน 50 ปีเท่านั้น21

ถึงแม้เกษตรกรส่วนใหญ่ในประเทศไทยจะเป็นเกษตรกรรายย่อย แต่ด้วยผลพวงของการปฏิวัติเขียวในยุดก่อนได้ทำให้ระบบการทำการเกษตรในประเทศไทยเปลี่ยนแปลงจากการทำการเกษตรเพื่ออยู่เพื่อกิน มาเป็นทำการเกษตรแผนใหม่ที่มุ่งเพื่อขายเป็นหลัก และได้เริ่มต้นมาตั้งแต่มีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับแรกเมื่อปี 2504 เกษตรกรไทยหันมาทำการเกษตรตามวิธีที่ภาครัฐส่งเสริม เริ่มปลี่ยนจากการใช้พันธุ์พืชท้องถิ่นของที่มีการพัฒนาการคัดเลือกสายพันธุ์ตกทอดกันมา ไปใช้พันธุ์พืชจากผลการวิจัยของภาครัฐที่ตอบสนองต่อปัจจัยการผลิตจากภายนอก โดยเชื่อว่าพันธุ์พืชใหม่ๆ จะช่วยเพิ่มปริมาณผลผลิต ทำให้มีอาหารมากขึ้นและมีรายได้เพิ่มขึ้น ซึ่งจะช่วยให้เกษตรกรหลุดพ้นจากความอดอยากยากจนได้ แต่ความเป็นจริงกลับไม่เป็นดั่งที่คิด ผลผลิตที่ได้จากการทำการเกษตรแนวปฏิวัติเขียวในช่วงปลายสหัสวรรษที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 30 เท่านั้น ทั้งที่เคยเพิ่มขึ้นสูงกว่านี้ในระยะแรก อัตราการเพิ่มของผลผลิตเริ่มลดลงไม่ว่าจะเพิ่มปุ๋ยเคมีเข้าไปปริมาณมากเท่าใดก็ตาม ซึ่งเป็นเพราะสภาพดินได้เสื่อมโทรมไปมากแล้ว ในขณะเดียวกัน ต้นทุนปัจจัยการผลิตที่เกษตรกรต้องซื้อจากภายนอก ทั้งปุ๋ยเคมีและสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ได้เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ตามลำดับ

การใช้สารเคมีการเกษตรของเกษตรกรไทยในปัจจุบันมีมูลค่าสูงกว่า 1 ใน 3 (ร้อยละ 30-40) ของต้นทุนการปลูกพืชทั้งหมด22 ความหวังที่จะได้อาหารเพิ่มขึ้นก็ไม่เป็นจริง เพราะวิธีการทำการเกษตรเชิงเดี่ยว (Mono Crop) ที่เน้นปลูกพืชชนิดเดียวในพื้นที่ขนาดใหญ่ ได้ทำลายระบบการเกษตรแบบดั้งเดิมที่เป็นเกษตรแบบผสมผสาน มีการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์หลายๆ ชนิดในพื้นที่เดียวกัน ถึงแม้เกษตรกรจะปลูกข้าวได้มากขึ้น แต่ก็ต้องเอาเงินที่ได้มาไปซื้อปลา ไก่ ไข่ ผัก และผลไม้ต่างๆ ทั้งที่แต่เดิมเคยหาเก็บหาใช้ได้จากรอบๆ บริเวณบ้านโดยไม่ต้องเสียเงินซื้อหามา

เมื่อวิธีการทำเกษตรกรรมของยุคปฏิวัติเขียวที่ต้องการควบคุมและเอาชนะธรรมชาติด้วยเทคโนโลยีและสารเคมี ได้ทำให้ดินเสียจนเกือบหมดทั้งโลก แต่แทนที่นักวิทยาศาสตร์การเกษตรกระแสหลักจะคิดหาวิธีการฟื้นฟูดินเพื่อให้สามารถกลับมาอุดมสมบูรณ์และสามารถผลิตอาหารที่มีคุณภาพเลี้ยงประชากรโลกที่เพิ่มจำนวนมากขึ้น กลับไปคิดค้นและนำเสนอเทคโนโลยีการปลูกพืชไร้ดิน (Hydroponic) ซึ่งเป็นวิธีการปลูกพืชที่ผิดธรรมชาติหนักขึ้นไปอีก โดยหวังความสะดวกในการดูแลและควบคุมผลผลิตที่ได้ แต่ขาดความเข้าใจกระบวนการของธรรมชาติ และไม่ตระหนักถึงผลเสียต่อสุขภาพที่จะตามมานระยะยาว

พืชผักผลไม้ส่วนใหญ่ที่เติบโตในดินโดยธรรมชาติ จะได้รับสารอาหารและแร่ธาตุที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพมากมายหลากหลายชนิดจากดิน ถึงแม้แร่ธาตุบางชนิดอาจจะไม่มีอยู่ในดินบริเวณนั้นมาก่อน แต่กระบวนการของธรรมชาติก็สามารถจัดสรรให้จุลินทรีย์ในดินช่วยผลิตขึ้นมาเพิ่มให้ได้ กระบวนการสร้างความสมดุลของระบบนิเวศโดยธรรมชาตินับเป็นความอัศจรรย์อย่างหนึ่งของธรรมชาติ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันที่ว่าก้าวหน้า ที่จริงแล้วก็ยังไม่สามารถเข้าใจและอธิบายกลไกธรรมชาติอีกมากมาย เพราะพรมแดนความรู้ทางวิทยาศาสตร์ของมนุษย์ในปัจจุบันยังถือเป็นเพียงกระพี้ของระบบองค์รวมของธรรมชาติที่ยิ่งใหญ่

ดังนั้นวิธีการปลูกผักแบบไร้ดินที่ถึงแม้ผู้ผลิตจะยืนยันว่าไม่มีสารเคมีที่เป็นยาฆ่าแมลง แต่สารอาหารพืชที่ใส่ลงในน้ำที่ใช้ปลูกก็เป็นสารสังเคราะห์ และมีเพียงไม่กี่ชนิด (ส่วนมากใช้สารเคมี 16 ชนิด) จึงย่อมไม่สามารถทำให้ผลผลิตที่ได้มีแร่ธาตุสารอาหารที่เป็นประโยชน์กับสุขภาพของผู้บริโภคมากเท่ากับพืชผักที่ปลูกในดินอุดมสมบูรณ์ที่มีธาตุอาหารพืชเป็นพันๆ ชนิดอย่างแน่นอน ถึงแม้ ผู้ประกอบการในธุรกิจผักไร้ดินจะมีการนำเสนอว่าผลผลิตผักไร้ดินมีคุณค่าอาหารครบถ้วนตามหลักโภชนาการไม่ด้อยกว่าผักที่ปลูกในดิน เพราะได้รวมเอาสารอาหารที่จำเป็นทุกชนิดไว้ในส่วนผสมในการปลูกอย่างครบถ้วน และมีผลการศึกษาวิจัยที่สนับสนุนข้ออ้างนี้ออกมาเผยแพร่จำนวนไม่น้อย ตลอดจนอ้างผลสำรวจความคิดเห็นของผู้บริโภคว่าผักที่ปลูกแบบไร้ดินมีรสชาดของดีกว่าผักที่ปลูกในดินแบบเกษตรเคมี ฯลฯ

ถ้าหากยังจำกันได้ เมื่อสิบกว่าปีก่อนก็มีหน่วยงานทั้งภาครัฐและสถานบันวิจัยหลายแห่งออกมาเผยแพร่ผลการศึกษาวิจัยว่าผักอินทรีย์ไม่ได้มีคุณค่าทางโภชนาการมากไปกว่าผักจากเกษตรเคมีเลย แต่ในปัจจุบันความจริงเกี่ยวกับคุณค่าทางโภชนาการของผลผลิตเกษตรอินทรีย์ก็เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปว่าสูงกว่าผักเคมีมากมาย โดยเฉพาะสารอาหารพวกธาตุอาหารรองหลายร้อยหลายพันชนิดที่ผักเคมีไม่มี ในกลุ่มเกษตรกรที่ใช้วีธีการระบบเกษตรพลวัต (Bio Dynamic) และเกษตรธรรมชาติธรรมชาติ (Natural Farming) ที่เข้มข้นกว่าเกษตรอินทรีย์ทั่วไปด้วยแล้ว ยังสามารถแสดงให้เห็นถึงความมีอยู่ของพลังชีวิตซึ่งจับต้องไม่ได้ในผลผลิต แต่ที่พิสูจน์ให้เห็นได้ว่ามีอยู่จริง และมีอยู่มากกว่าในผลผลิตเกษตรอินทรัย์ทั่วไปด้วย

เมื่อตลาดมีความเชื่อมมั่นและต้องการผลผลิตเกษตรอินทรีย์เพิ่มสูงขึ้น ผู้ประกอบการในธุรกิจพืชผักไร้ดินก็มีการปรับตัวด้านการตลาด เริ่มประกาศว่ามีการใช้สารสกัดอินทรีย์ในการปลูกผักไร้ดิน และเรียกผลผลิตที่ได้ว่า Hydro-Organic เพื่อให้ผู้บริโภคเข้าใจผิดว่าผลผลิตเกษตรไร้ดินเป็นผลผลิตเกษตรอินทรีย์ แม้กระทั่งหน่วยงานภาครัฐที่ส่งเสริมการเกษตรก็ได้เข้ามาช่วยส่งเสริมและสนับสนุนการปลูกพืชผักไร้ดินอย่างกว้างขวาง ตามไม่ทันกลไกภาคธุรกิจและให้ความรู้ความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องกับผู้บริโภคว่า ผักไร้ดินเป็นผักอินทรีย์ และมีสารอาหารที่เป็นประโยชน์กับสุขภาพครบถ้วนไม่แตกต่างกับผักที่ปลูกด้วยดิน แต่จากมุมมองของผู้ที่เข้าใจและเชื่อมั่นในกระบวนการธรรมชาติแล้ว วิธีการที่ผิดธรรมชาติย่อมไม่อาจให้ผลที่เหมือนกับธรรมชาติได้อย่างแน่นอน และจะทำให้ผู้บริโภคมีปัญหาสุขภาพตามมาในระยะยาวได้

นอกจากปัญหาในเรื่องปริมาณสารอาหารในผลผลิตผักไร้ดินที่จะมีผลต่อสุขภาพของผู้บริโภคแล้ว การส่งเสริมการปลูกผักไร้ดินตามกระแสตลาดโดยไม่คิดให้รอบครอบ ยังสามารถเพิ่มปัญหาให้กับภาคการเกษตรและเศรษฐกิจของประเทศโดยรวมได้อีกด้วย เพราะปุ๋ยเคมีหรือสารสกัดอินทรีย์ที่ใช้ในการปลูกผักไร้ดินส่วนใหญ่ยังต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งราคามีแต่จะเพิ่มสูงขึ้นและทำให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้นตามอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เกษตรกรส่วนใหญ่ก็ไม่มีเงินทุนเพื่อสร้างโรงเรือนและ/หรือซื้ออุปกรณ์การปลูกผักไร้ดินที่มีราคาสูง ผู้ที่ทำเกษตรไร้ดินส่วนใหญ่จึงเป็นนักลงทุนในธุรกิจการเกษตร การส่งเสริมการทำเกษตรไร้ดินจึงไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาความยากจนและหนี้สินของเกษตรกรส่วนใหญ่ อีกทั้งการสร้างโรงเรือนและ/หรือการตั้งอุปกรณ์การปลูกบนดินยังเป็นการเสียพื้นผิวดินเพื่อการเพาะปลูกที่สามารถให้ผลผลิตที่มีคุณค่าอาหารและเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพของผู้บริโภคมากกว่า หากรู้จักวิธีการฟื้นฟูและบำรุงรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดินตามกระบวนการของธรรมชาติ

สถานการณ์ต่างๆที่กล่าวมาและกำลังเกิดขึ้นเหล่านี้ ทำให้ต้องมีคำถามตามมาว่า เกิดอะไรขึ้นกับระบบเกษตรกรรม และระบบการผลิตอาหารของประเทศไทย และของโลก?

ปัญหาท้าทายที่ต้องแก้ไข

กลับสู่ด้านบน

การปฏิวัติเขียวหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้ทำให้วิธีการใช้และดูแลดินเพื่อการเกษตรเปลี่ยนแปลงไป อุตสาหกรรมการเกษตรได้ทำให้ดินกลายเป็นทรัพยากรที่ถูกลืม ดูดใช้ทรัพยากรจากดินโดยไม่ตระหนักถึงความมีชีวิตของดิน การใช้สารเคมีการเกษตรอย่างมหาศาลและการสร้างเมล็ดพันธุ์ลูกผสมเพื่อหวังเพิ่มปริมาณผลผลิต ประกอบกับระบบการครอบครองและผูกขาดตลาดภาคการเกษตรของบรรษัทยักษ์ใหญ่ไม่กี่แห่งเพื่อหวังผลกำไร และสังคมบริโภคนิยมที่เฟื่องฟู ได้ทำให้ผู้ผลิตในภาคการเกษตรมุ่งเน้นปริมาณมากกว่าคุณภาพ ไม่คำนึงถึงผลกระทบที่เกิดจากการทำลายระบบความสมดุลของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะดิน ซึ่งเป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญที่สุดในการทำเกษตรกรรม จนส่งผลกระทบที่รุนแรงกว้างขวาง และเป็นผลให้กลายเป็นปัญหาวิกฤตระดับโลกในปัจจุบัน ซึ่งนอกเหนือจากวิกฤตพลังงาน วิกฤตโลกร้อน วิกฤตความมั่นคงด้านอาหาร และวิกฤตสุขภาพแล้ว มนุษย์เรายังกำลังเผชิญกับวิกฤตร้ายแรงที่จะมีผลต่อความอยู่รอดได้แก่ วิกฤตพื้นดินที่จะสามารถใช้ทำการเพาะปลูกได้ และวิกฤตน้ำจืดขาดแคลนอีกด้วย

เราทุกคนทราบกันดีอยู่แล้วว่าโลกของเรากำลังร้อนขึ้น ซึ่งเป็นผลจากการเชื่อเพลิงจากฟอสซิล ในช่วง 100 ปีที่ผ่านมา ความร้อนเฉลี่ยที่ผิวโลกได้เพิ่มสูงขึ้นราว 0.7?C และคาดการณ์ว่าภายในสิ้นศตวรรษนี้จะเพิ่มสูงขึ้นกว่าอุณหภูมิเมื่อปี 2533 ถึง 4?C23 ธรรมชาติต้องใช้เวลาหลายล้านล้านปีในการทำให้พื้นผิวโลกเย็นลงจนสิ่งมีชีวิตสามารถดำรงอยู่ได้ โดยค่อยๆ นำคาร์บอนในอากาศลงไปเก็บไว้ใต้ดินในรูปของซากฟอสซิล แต่ผลจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมในช่วงไม่กี่ร้อยปีที่ผ่านมา มนุษย์ได้นำคาร์บอนที่ธรรมชาติเอาไปเก็บไว้ใต้ดินกลับมาปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศ ทำให้เพิ่มความร้อนให้กับผิวโลกดังที่เป็นอยู่ การใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิลอย่างมาหาศาลในระยะเวลาเพียงไม่กี่ร้อยปี ได้ทำให้การเพิ่มของกำลังการผลิตน้ำมันเริ่มน้อยการเพิ่มของความต้องการใช้น้ำมัน ทำให้ราคาของน้ำมันจะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ประกอบกับแหล่งน้ำมันจากฟอสซิลใต้ดินกำลังจะหมดโลก เป็นผลให้โลกเข้าสู่ยุคน้ำมันขาดแคลน เผชิญกับปัญหาวิกฤตพลังงาน และยุคของน้ำมันจากฟอสซิลกำลังจะหมดลงในไม่ช้า

เนื่องจากสารเคมีการเกษตรส่วนใหญ่ ทั้งปุ๋ยเคมีและสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ล้วนเป็นผลผลิตจากน้ำมันปิโตรเลียม ดังนั้นราคาจึงมีแต่จะเพิ่มสูงขึ้นตามราคาน้ำมัน ทำให้เกษตรกรที่ทำเกษตรเคมีจะต้องรับภาระต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้นเร็วกว่าและมาก กว่าการเพิ่มของราคาผลผลิตการเกษตร

ผลจากการวิจัยต่อเนื่องระยะยาวในสหรัฐอเมริกาเรื่องวิธีทำการเกษตรสมัยใหม่ ชี้ว่าความเชื่อของยุคปฏิวัติเขียวที่ว่าปุ๋ยไนโตรเจนช่วยสร้างอินทรีย์วัตถุให้กับดินนั้นไม่เป็นความจริง ในทางตรงข้าม นอกจากปุ๋ยไนโตรเจนสังเคราะห์ที่ใส่ลงในดินอย่างมหาศาลจะไม่มีส่วนช่วยบำรุงดินแล้ว ยังสร้างผลกระทบทางลบต่อระบบนิเวศในวงกว้างอีกด้วย ผลการวิจัยทั่วโลกชี้ชัดแล้วว่า สารเคมีเพื่อการเกษตรเป็นตัวการทำให้ดินเสื่อมโทรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการในการปลูกพืชเชิงเดี่ยวเป็นอุตสาหกรรม ซึ่งต้องใช้ปุ๋ยเคมีสังเคราะห์เพื่อเป็นอาหารสำหรับพืชในปริมาณสูง ปุ๋ยไนโตรเจนสังเคราะห์จำนวนมากจะตกค้างอยู่ในดิน ส่วนหนึ่งถูกน้ำชะไหลลงสู่แหล่งน้ำ ทำให้แหล่งน้ำต่างๆ มีสารอาหารมากเกินสำหรับพืชน้ำ สาหร่ายและตะไคร้น้ำที่ได้รับปุ๋ยไนโตรเจนมีการขยายตัวอย่างรวดเร็วและแย่งใช้อ๊อกซิเจนในน้ำจนน้ำเน่าเสีย ปลาและสิ่งมีชีวิตในน้ำไม่สามารถอาศัยหรืออยู่รอดได้ ทำให้เสียสมดุลระบบธรรมชาติของแหล่งน้ำไป การใส่ปุ๋ยและสารเคมีมากเกินไปยังนับเป็นการสูญเสียพลังงานที่ใช้ไปในการผลิตสารเคมีเกษตรเหล่านั้น รวมทั้งยังส่งผลต่อสุขภาพของสัตว์และมนุษย์ ทั้งผู้ปลูกและผู้บริโภคอย่างไม่เคยมีมาก่อน

ด้วยการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในช่วงศตวรรษที่ผ่านมา ได้ทำให้มนุษย์มีชีวิต ยืนยาวขึ้น อัตราการตายลดลง ขณะที่อัตราการเกิดและอยู่รอดเพิ่มสูงขึ้นทั่วโลก เป็นผลให้ประชากรโลกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ตัวเลขขององค์การสหประชาชาติชี้ว่า มีคนเกิดใหม่บนโลกวันละ 213,000 คน หากจะปลูกพืชอาหารเพื่อเลี้ยงคนเหล่านี้ จะต้องใช้ที่ดินเพิ่มขึ้น 13,500 ไร่ทุกวัน24 นอกจากนี้ข้อมูลจากการวิจัยในสหรัฐอเมริกา25 ชี้ว่า ผลผลิตจากวิธีทำการเกษตรเชิงอุตสาหกรรมที่ใช้เครื่องจักรการเกษตรไม่ว่าจะเป็นแบบใช้สารเคมีหรือเกษตรอินทรีย์แบบธรรมดา จะให้ผลผลิตใกล้เคียงกัน ดังนั้นหากใช้วิธีทำการเกษตรทั้งสองวิธีนี้เพื่อผลิตอาหารเลี้ยงคนในประเทศกำลังพัฒนาซึ่งมีประชากรราวร้อยละ 90 ของโลก ไม่ว่าจะทำเป็นฟาร์มขนาดใหญ่หรือโดยเกษตรกรรายย่อย จะต้องใช้ที่ดิน 1.33 ไร่ เพื่อปลูกพืชเลี้ยงคนหนึ่งคนภายใต้สมมติฐานว่าทุกคนไม่กินเนื้อสัตว์เลย และเนื่องจากประชาคมโลกได้กำหนดสัดส่วนพื้นที่ป่าที่ต้องคงไว้เพื่อรักษาความสมดุลของระบบนิเวศของโลก ทำให้มีการคาดการณ์ว่า ในปี 2557 จะมีที่ดินเหลือสำหรับทำการเกษตรเพียงคนละ 343 ตร.ว. (0.86 ไร่) ดังนั้น หากยังมีการใช้วิธีการเกษตรแบบอุตสาหกรรมกระแสหลักต่อไป ไม่ว่าจะเป็นแบบใช้สารเคมีหรือแบบเกษตรอินทรีย์ จะสามารถผลิตอาหารได้เพียงร้อยละ 64 ของปริมาณที่ต้องใช้เลี้ยงคนบนโลกในเวลานั้น

?…เกษตรกรรมแบบยั่งยืนสามารถผลิตอาหารเพียงพอสำหรับประชากรโลกในปัจจุบัน หรือแม้กระทั่งประชากรจำนวนมากขึ้น โดยไม่ต้องเพิ่มพื้นที่เพื่อทำการเกษตรจากที่มีอยู่?

– IAASTD (2009), Agriculture at a Crossroads: A Global Report

การสร้างความมั่นคงด้านอาหารจึงเป็นสิ่งจำเป็นและเร่งด่วน ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงวิธีทำการเกษตรให้สามารถเพิ่มผลผลิตต่อพื้นที่ และกระบวนการผลิตต้องสามารถสร้างความยั่งยืนให้สิ่งแวดล้อมในระยะยาวได้

ในส่วนของปัญหาภาวะโลกร้อน มีคำถามว่าการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิผิวโลกดังที่เป็นอยู่จะมีผลอย่าไรกับประชากรโลกและผลผลิตการเกษตร?

ข้อมูลขององค์การอนามัยโลกระบุว่า อุณหภูมิความร้อนที่เพิ่มสูงขึ้นเมื่อปี 2543 ได้คร่าชีวิตคนไป 160,000 คน และคาดว่าตัวเลขจะเพิ่มเป็นสองเท่าภายในปี 256326 นอกจากนี้ เมื่ออุณหภูมิผิวโลกเพิ่มสูงขึ้น จะทำให้

  • ผลผลิตการเกษตรลดลงเนื่องจากพืชต่างๆ ไม่สามารถปรับตัวรับกับความร้อนที่เพิ่มสูงขึ้นได้
  • ฝนตกผิดฤดูกาลอย่างที่พบเห็นได้ในปัจจุบัน ทำให้เกิดภาวะฝนแล้ง น้ำท่วม และพิบัติภัยที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศแปรปรวน ทำให้คนต้องสูญเสียที่ดิน
  • จากการกัดเซาะของน้ำและลม ดินถล่ม และทำลายแหล่งน้ำจืดที่เป็นน้ำกินน้ำใช้ รวมทั้งหน้าดิน ทำให้ขาดแคลนที่ดินทำกินและอยู่อาศัย
  • อุณหภูมิที่ร้อนขึ้นทำให้น้ำแข็งที่ขั้วโลกทั้งเหนือและใต้ละลายเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นผลให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วจนท่วมเมืองต่างๆ ตามชายฝั่งทะเลทั่วโลก เป็นผลให้สูญเสียที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยมากมาย
  • การสูญสียที่ดินทำกินนำไปสู่ภาวะขาดแคลนอาหาร เกิดความอดอยาก กลายเป็นปัญหาวิกฤตด้านอาหารของหลายประเทศในโลก ขณะที่การสูญเสียที่ดินทำให้ผู้คนต้องอพยพย้ายถิ่นเพื่อหาที่ทำกินและที่อยู่อาศัยใหม่ นำไปสู่ปัญหาการแย่งที่ดินเพื่ออยู่อาศัยและ/หรือทำมาหากิน

วิธีการทำเกษตรกรรมในปัจจุบันยังเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของการเพิ่มปริมาณก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศโลก ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของภาวะโลกร้อนและสภาพภูมิอากาศแปรปรวน

  • ร้อยละ 12 ของก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศมาจากพื้นดินที่ทำการเกษตรทั่วโลก ซึ่งส่วนใหญ่ยังเป็นการเกษตรแบบเคมี27
  • ร้อยละ 25 ของก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ (CO2) ที่ปล่อยสู่บรรยากาศโลกมาจากการตัดถางและเผาป่าเพื่อขยายพื้นที่ทำการเกษตรหรือเลี้ยงสัตว์ การเผาอินทรีย์วัตถุ (biomass) และการใช้เชื้อเพลิงจากฟอสซิล ซึ่งจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ในประเทศไทย ไฟจุดหรือไฟป่าที่เกิดจากคนจุด เพิ่มจำนวนและขยายพื้นที่เสียหายมากขึ้นทุกปี เฉพาะในปี 2553 เกิดไฟป่าและไฟจุดรวม 6,784 ครั้ง ทำให้มีพื้นที่เสียหาย 83,176 ไร่ เพิ่มขึ้นจากปี 2552 จำนวน 22,091 ไร่ หรือราวร้อยละ 27 และคาดการณ์ว่าปัญหาการเผาป่าจะมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้นในปีนี้ เนื่องจากความแห้งแล้งทำให้มีเชื้อเพลิงเหลืออยู่มาก28
  • การเลี้ยงปศุสัตว์ซึ่งใช้ที่ดินร้อยละ 70 ของที่ดินในภาคการเกษตรทั้งหมด ประกอบกับการเพาะปลูกข้าวในพื้นที่ลุ่ม เป็นต้นต่อของร้อยละ 50 ของก๊าซมีเทน (CH4) และมากกว่าร้อยละ 70 ของไนตรัสอ๊อกไซด์ (N2O) ที่ถูกปล่อยสู่บรรยากาศโลก29

หากเปรียบเทียบปริมาณก๊าซเรือนกระจกทุกชนิดให้เป็นปริมาณของก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ (CO2) ปัจจุบันโลกของเรามีปริมาณ CO2 ในชั้นบรรยากาศราว 384 ส่วนต่อล้านส่วน (parts per million-ppm) ซึ่งสูงที่สุดในรอบ 150,000 ปีที่ผ่านมา เทียบกับระดับ CO2 ในชั้นบรรยากาศก่อนยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมซึ่งมีอยู่ราว 270 ppm และด้วยพฤติกรรมที่เป็นอยู่ของชาวโลกในปัจจุบัน มีแนวโน้มว่าปริมาณ CO2 จะเพิ่มสูงขึ้นเป็น 600-700 ppm ภายในปี 264330 เมื่อเดือนมกราคมปี 2553 นักวิทยาศาสตร์ด้านภูมิอากาศขององค์การนาซ่าได้เสนอเป้าการลดปริมาณ CO2 ในชั้นบรรยากาศเพื่อแก้ปัญหาสภาพภูมิอากาศแปรปรวนไว้ที่ 350 ppm เป้าหมายนี้เมื่อเทียบกับแนวโน้มที่เป็นอยู่ก็อาจดูค่อนข้างต่ำ แต่ก็ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี

ประเด็นสำคัญคือ เราจะบรรลุเป้าหมายนี้ได้อย่างไร? เราจะมีระบบการทำเกษตรกรรมยั่งยืนแบบใดที่สามารถเพิ่มผลผลิตเพื่อเลี้ยงประชากรโลกที่กำลังเพิ่มจำนวนมากขึ้นอย่างรวดเร็ว ด้วยทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดและกำลังลดน้อยลงทุกขณะ รวมถึงที่ดินเพื่อการเพาะปลูกพืชอาหาร ซึ่งต้องแย่งกับที่ดินเพื่อปลูกพืชพลังงาน น้ำจืดเพื่อการเกษตร ซึ่งต้องแบ่งไว้เพื่อการบริโภคของมนุษย์ และการสูญเสียหน้าดินที่อุดมสมบูรณ์ไปทุกปีจากการทำเกษตรเคมี ?

รวบรวมและเรียบเรียง – ทัศนีย์ เศรษฐ์บุญสร้าง
tatsanee@NawaChiOne.org
? สงวนลิขสิทธิ์
อนุญาตให้ใช้เพื่อการศึกษาที่ไม่เป็นธุรกิจ แต่ขอให้อ้างอิงแหล่งที่มาด้วย

กลับสู่ด้านบน

————————————————————————————————

เชิงอรรถ

1John Jeavons, How to Grow More Vegetables, Ecology Action, USA. 2002.
2ภาพยนต์สารคดีเรื่อง ชีวิตในดิน โดย มูลนิธิเอ็มโอเอ
3ภาพยนต์สารคดีเรื่อง Dirt
4ข้อมูลจากฐานข้อมูลมากกว่า 40 ปี ขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO)
5มูลนิธิชีววิถี คู่มือประชาชน เรื่อง ความ(ไม่)มั่นคงทางอาหาร กับทางออกของประเทศไทย
6คำบรรยายของ ศ.ดร.นพ.สมศักดิ์ วรคามิน อดีตปลัดกระทรวงสาธารณสุข
7เพื่อนสุขภาพ เลมอนฟาร์ม ก.พ.-มี.ค. 2554
8ASTV ผู้จัดการออนไลน์ เผย ?มะเร็ง? สาเหตุการตายอันดับหนึ่งของคนไทย 10 ปีซ้อน 3 กุมภาพันธ์ 2555
9แผนงานพืชอาหารเชียงใหม่ปลอดภัย, สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่, 2551
10คำแถลงของ นพ.โสภณ เมฆทน รองอธิบดีกรมอนามัย ณ. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
11คำแถลงของ นพ.ณรงค์ศักดิ์ อังคะสุวพลา อธิบดีกรมอนามัย, 7 ธ.ค. 2551
12Richard Heinberg, autor of The Party?s Over: Oil, War, and the Fate of Industrial Societies.
13World Health Organization, 2007
14UN-FAO, 2009
15Based on study by Biosphere II in Arizona
16UN Sustainable Development Innovation Brief, May 2009
17Climate Change and Grow Biointensive, a perspective from Ecology Action
18FAO Aquastats
19บทความ Who Owns Nature? Corporate Power and the Final Frontier in the Commodification of Life ในนิตยสาร ETC (2008) ชี้ว่า เกือบครึ่งหนึ่งของตลาดเมล็พันธุ์ของโลกอยู่ในมือของบรรษัทข้ามชาติเพียง 3 แห่ง คือ มอนซานโต้ ดูปองท์ และซินเจนต้า ส่วนร้อยละ 80 ของตลาดพืชตัดแต่งพันธุ์กรรม (GMO) อยู่ในมือของบริษัทมอนซานโต้เพียงบริษัทเดียว
20Rodale Institute, Regenerative Organic Farming: A Solution to Global Warming, 2008
21Grain, ?Earth Matters: Tracking Climate Crisis from the Ground Up?, Seeding, Oct. 2009.
22สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร 2550
23US EPA, Basic Information on Climate Change, www.epa.gov/climatechange/basicinfo.html
24United Nation
25Ecology Action (2010), ibid.
26World Health Organization, reported by Climate Institute, www.climate.org/topics/health.html
27Intergovernmental Panel on Climate Change (PCC)?s report
28คำให้สัมภาษณ์ของ นายสุวิทย์ รัตนมณี อธิบดีกรมป่าไม้, ไทยรัฐ 15 มีนาคม 2554
29Climate Institute, Agriculture, www.climate.org/topics/agriculture.html
30Climate Institute, Climate Change, www.climate.org/topics/climate-change/index.html

เกษตรอินทรีย์พลังชีวภาพ – บทที่ 1: พลังชีวภาพกับการเกษตร

บทความ: เกษตรอินทรีย์พลังชีวภาพ

ดาวน์โหลด PDF


สารบัญ

————————————————————————————————

?การเลี้ยงคนมากว่า 6,000 ล้านคน ? และจะมากกว่า 9,000 ล้านภายในปี ค.ศ. 2050 ? ต้องมีระบบเกษตรกรรมที่สร้างสรรค์และยั่งยืน ซึ่งต้องไม่ได้ให้เพียงผลผลิตด้านอาหาร แต่ต้องคำนึงถึงปัจจัยธรรมชาติที่มีมูลค่าเชิงเศรษฐกิจ เช่น ป่าไม้ พื้นที่ชุ่มน้ำ และองค์ประกอบดิน ที่เป็นหัวใจของการเกษตร การจะใช้ระบบเกษตรกรรมแบบ ?อุตสาหกรรม? ของศตวรรษที่ 20 เป็นทางออกเดียวในการแก้ปัญหาของศตวรรษที่ 21 จะไม่สามารถช่วยเราได้?

-UNEP-UNCTAD: เกษตรกรรมอินทรีย์และความมั่นคงด้านอาหารในอัฟริกา

ภูมิปัญญาของโลกตะวันออกเชื่อเสมอมาว่าทุกสรรพสิ่งบนโลกใบนี้ ทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต จำเป็นต้องพึ่งพาอาศัยกันและกันเพื่อความอยู่รอด สำหรับคนโบราณแล้ว การเกษตรถือเป็นส่วนเดียวกับวิถีการดำเนินชีวิต ระบบเกษตรกรรมเป็นวัฒนธรรมของชุมชน หากศึกษาจากกระบวนการของธรรมชาติ เราจะเห็นได้ว่าปัญหาวิกฤตต่างๆ ที่พวกเราชาวโลกกำลังเผชิญอยู่ ความจริงแล้วสามารถเริ่มต้นแก้ไขได้เพียงด้วยการปรับเปลี่ยนแนวคิดและวิธีการทำเกษตรกรรม จากการพึ่งพาสารเคมีและพลังงาน มาสู่แนวทางการเกษตรที่เข้าใจกระบวนการของธรรมชาติ หรือสอดคล้องกับกลไกทางชีวภาพของธรรมชาติ ซึ่งเป็นการเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิตจากที่ผลาญทรัพยากรมาสู่วิถีพอเพียง เปลี่ยนจากการพึ่งพาผู้อื่นมาสู่การพึ่งพาตัวเอง เพียงการเริ่มต้นจากการดูแลเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้กับดินตามกระบวนการทางชีวภาพของธรรมชาติ และจัดการสภาพแวดล้อมให้สอดคล้องกับระบบการทำงานของพลังชีวภาพในธรรมชาติ ก็จะสามารถขับเคลื่อนฟันเฟืองของกลไกธรรมชาติในการเยียวยาปัญหาสิ่งแวดล้อม ทำให้ระบบนิเวศกลับคืนสู่ความสมดุลตามธรรมชาติ สร้างสภาพแวดล้อมที่ยั่งยืนสำหรับการอยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตทั้งหลายบนโลกใบนี้ได้

ทำความรู้จักกับพลังชีวภาพ

กลับสู่ด้านบน

ปัจจุบันคำว่า ?พลังชีวภาพ? ถูกนำมาใช้กันในหลากความหมายและหลายมิติ บ่อยครั้งก็เป็นการใช้เพียงเพื่อเป็นเครื่องมือทางการตลาดในการขายสินค้าเท่านั้น ส่วนใหญ่ในด้านการเกษตรจะคุ้นกับคำว่า ?ชีวภาพ? ที่หมายถึงผลผลิตที่ได้จากกระบวนการทำงานของจุลินทรีย์ เช่นน้ำหมักชีวภาพ หรือปุ๋ยชีวภาพ เป็นต้น สำหรับความหมายของ ?พลังชีวภาพ? ในระบบเกษตรอินทรีย์พลังชีวภาพนี้ จะครอบคลุมทั้งในมิติของกระบวนการชีวภาพในระบบนิเวศที่เป็นรูปธรรม อย่างการทำงานของจุลินทรีย์ที่สามารถเห็นได้ผ่านกล้องจุลทรรศน์ และในมิติที่เป็น ?พลังชีวิต? ซึ่งมองไม่เห็นจับต้องไม่ได้ แต่สามารถอธิบายและพิสูจน์ให้เห็นความมีอยู่จริงได้ผ่านตัวกลางบางอย่าง ซึ่งฟิสิกส์ยุคใหม่เพิ่งจะเริ่มเข้าใจและเห็นความสำคัญของพลังชีวิตที่มองไม่เห็นเหล่านี้

พลังชีวภาพที่เป็นรูปธรรม

กลับสู่ด้านบน

ผู้ที่อยู่ในแวดวงการเกษตรจะเข้าใจดีว่า การบำรุงรักษาดินให้อุดมสมบูรณ์เหมือนดินในป่าจะช่วยให้พืชแข็งแรงมีภูมิต้านทานโรคและแมลงศัตรูพืชเองโดยไม่ต้องพึ่งยาเคมี ความหมายของคำว่าพลังชีวภาพที่เป็นรูปธรรมก็คือ การใช้จุลินทรีย์มาช่วยในการปรับปรุงบำรุงดิน ทั้งในรูปของปุ๋ยอินทรีย์ น้ำหมักชีวภาพ หรือจุลินทรีย์พิเศษที่ช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตหรือเพิ่มความต้านทานโรคของพืช เพราะในกระบวนการย่อยสลายอินทรีย์วัตถุในดินของจุลินทรีย์ จะมีการปลดปล่อยธาตุอาหารต่างๆ มากมายสำหรับพืชและสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ที่อาศัยอยู่ร่วมกันในดิน จุลินทรีย์ในดินสามารถตรึงธาตุอาหารของพืชจากอากาศหรือดูดซับจากหินแร่ในดินด้วยกระบวนการชีวภาพ แล้วเปลี่ยนอากาศและหินแร่ในดินด้วยกระบวนการทางชีวเคมีให้เป็นแร่ธาตุชนิดต่างๆ ซึ่งเป็นการช่วยฟื้นฟูคุณภาพดินทั้งด้านชีวภาพ กายภาพ และชีวเคมี และเป็นสารอาหารที่พืชและสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กอื่นๆ ในดินสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้

ดิน 1 ช้อนชาปานเรียบ มีจุลินทรีย์อยู่มากกว่า 6,000 ล้านตัว
หรือพอๆ กับประชากรทั้งหมดบนโลกใบนี้

ในระบบนิเวศของป่าซึ่งดินมีความอุดมสมบูรณ์และมีสภาพสมดุล จะมีสิ่งมีชีวิตน้อยใหญ่มากมายอาศัยอยู่ร่วมกันอย่างเกื้อกูล ร่วมกับรากของพืชหลากหลายชนิดที่เจริญเติบโตอยู่ในดิน การกินอาหารหรือย่อยสลายอินทรีย์วัตถุในดินของจุลินทรีย์หลายร้อยพันชนิดที่อาศัยอยู่ในดิน เป็นกระบวนการทางชีวเคมีที่เกิดผลเป็นสารชนิดต่างๆ ที่กลายเป็นอาหารสำหรับพืช และปรับโครงสร้างดินให้เหมาะกับการเติบโตของรากพืช พืชยืนต้นที่มีรากลึกสามารถชอนไชไปดูดธาตุอาหารจากดินชั้นล่างที่อยู่ลึกลงไปขึ้นมาเลี้ยงใบและลำต้นได้ เมื่อใบไม้ร่วงลำต้นตายก็ทับถมเน่าเปื่อยกลายเป็นปุ๋ยหมักอยู่บนดิน ก็ปลดปล่อยธาตุอาหารที่ได้มาจากดินชั้นล่างมาไว้ที่หน้าดินชั้นบน เมื่อฝนตกน้ำฝนก็ช่วยซะธาตุอาหารจากหน้าดินให้ซึมลงสู่ดินชั้นล่าง เป็นวงจรของธาตุอาหารที่มีอยู่เฉพาะในดินระดับลึกชั้นล่างเท่านั้น การกินอาหารหรือย่อยสลายอินทรีย์วัตถุของจุลินทรีย์ในดินที่เป็นกระบวนการทางชีวเคมี สามารถสร้างสารตัวใหม่ที่ไม่มีอยู่ในดินมาก่อน และเป็นธาตุอาหารที่จำเป็นสำหรับพืชได้ เมื่อจุลินทรีย์หรือสัตว์ที่อาศัยในและบนดินตายลง ซากที่เหลือก็กลายเป็นอาหารให้สิ่งมีชีวิตอื่นรวมทั้งพืช พืชก็กลายเป็นอาหารของสัตว์ และมนุษย์ต่อไป ซึ่งทั้งหมดนี้เป็น วงจรทางชีวภาพหรือใยอาหารที่สมดุลในระบบนิเวศที่สมบูรณ์ ระหว่างดิน พืช สัตว์ และคน นั่นเอง

สิ่งที่นักวิทยาศาสตร์ด้านโภชนาการเพิ่งจะเรียนรู้เกี่ยวกับวงจรชีวภาพที่เป็นรูปธรรมก็คือ พืช สัตว์ และมนุษย์ ต้องการธาตุอาหารและแร่ธาตุต่างๆ มากกว่า 100 ชนิดเพื่อให้มีสุขภาพที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งธาตุที่เป็นจุลสาร (trace elements) หลายชนิด ที่พืชและร่างกายต้องการในปริมาณที่น้อยมาก ขนาด 0.0001% หรือน้อยกว่าเท่านั้น แต่หากขาดไปก็จะทำให้ระบบทำงานได้ไม่ปกติ ซึ่งผิดกับที่เข้าใจกันมาแต่เดิมว่าธาตุอาหารที่จำเป็นมีเพียงราว 16-20 ชนิดเท่านั้น1 ? พืชต้องการสารอาหารในปริมาณที่เพียงพอและสมดุล คือไม่มากหรือน้อยเกินไป ถ้าพืชได้รับสารอาหารไม่เพียงพอจะเกิดอาการขาดสารอาหาร แต่ถ้าได้รับมากเกินไปสารอาหารนั้นก็จะเป็นพิษต่อพืชได้ นอกจากนั้นการขาดสารอาหารบางตัวอาจปรากฏผลเหมือนกับการเป็นพิษจากการได้รับสารอาหารอีกตัวมากเกินไป และในบางกรณี การได้รับสารอาหารบางตัวมากเกินไปก็สามารถส่งผลทำให้พืชขาดธาตุอาหารตัวอื่นได้ หรือการได้รับธาตุอาหารบางตัวน้อยเกินไปก็อาจส่งผลต่อการดูดซึมของสารอาหารตัวอื่นได้

จะเห็นได้ว่าทุกเรื่องที่เกี่ยวโยงกับธรรมชาติ ?ความสมดุล? ถือเป็นหัวใจสำคัญที่ไม่อาจมองข้ามไปได้เลย สำหรับธรรมชาติ การมีมากหรือให้มากไม่ได้หลมากความว่าจะได้ผลมากตามไปด้วย ยิ่งถ้ามีมากจนเกินพอดีกลับจะสร้างผลเสียมากกว่าผลดีได้ ประเด็นนี้เป็นข้อที่ควรตระหนักอย่างยิ่งสำหรับการนำจุลินทรีย์มาใช้ในการเกษตร โดยเฉพาะจุลินทรีย์ที่ทำขายเป็นธุรกิจมีการคัดประเภทและเพาะเชื้อให้แข็งแรงเป็นพิเศษ ขยายเชื้อให้เข้มข้นหรือมีจำนวนมากๆ เพราะต้องการเพิ่มประสิทธิผล การใส่จุลินทรีย์ปริมาณมากๆ ลงในดินในระยะแรกๆ ที่ดินยังขาดจุลินทรีย์ก็อาจเห็นผลดีอย่างรวดเร็ว แต่ถ้าใช้เพิ่มต่อไปในระยะยาวอาจทำให้เกินผลเสียทั้งกับดินและพืชที่เพาะปลูกได้

นอกจากนี้ในระบบเกษตรธรรมชาติจะสนับสนุนการใช้เฉพาะจุลินทรีย์ในท้องถิ่น (Indigious Micro-Organisms, IMOs) เท่านั้น จุลินทรีย์ในท้องถิ่นจะหมายถึงจุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ในรัศมีไม่เกิน 3 กม.จากจุดที่ใช้ สาเหตุเพราะจุลินทรีย์ที่อยู่ในท้องถิ่นเป็นผลจากการค้ดพันธุ์โดยธรรมชาติ มีการปรับตัวจนสามารถเข้ากับสภาพแวดล้อม และเป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศของท้องถิ่นนั้นเรียบร้อยแล้ว จุลินทรีย์หัวเชื้อที่ทำขายเป็นธุรกิจถือเป็นจุลินทรีย์ต่างถิ่น และการนำจุลินทรีย์ต่างถิ่นมาใช้จึงเป็นการทำลายสมดุลธรรมชาติในระบบนิเวศของท้องถิ่น ทำให้จุลินทรีย์ต่างถิ่นต้องปรับตัวหรือกลายพันธุ์เพื่อให้สามารถเข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ รวมทั้งระบบนิเวศในบริเวณนั้นก็ต้องมีการปรับตัวเพื่อหาสมดุลใหม่ให้สามารถรองรับการเข้ามาอาศัยของแขกแปลกหน้าทั้งหลายให้ได้

ในเรื่องแหล่งที่มาของแร่ธาตุสารอาหารในดิน เนื่องจากนักวิทยาศาสตร์การเกษตรและวงการแพทย์อาจยังไม่ได้ให้ความสนใจเท่าที่ควรกับปัจจัยเชิงคุณภาพของธาตุอาหาร นักวิทยาศาสตร์การเกษตรหลายค่ายจึงยังเชื่อว่าธาตุอาหารต่างๆ เมื่อแตกตัวเป็นระดับโมเลกุลเดี่ยวแล้ว ไม่ว่าจะมาจากอินทรีย์วัตถุหรือเคมีสังเคราะห์ ก็กลายเป็นอนินทรีย์สารโมเลกุลเดี่ยวเหมือนกันหมด เพราะพืชหรือร่างกายคนเราจะดูดธาตุอาหารต่างๆ ไปใช้ได้ก็ต่อเมื่ออยู่ในรูปโมเลกุลเดี่ยวเท่านั้น เช่น เป็นไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) โปตัสเซียม (K) แคลเซียม (Ca) โซเดียม (Na) ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งเป็นความเข้าใจผิดที่ทำให้ยังมีการใช้สารเคมีเพื่อการเกษตรกันอย่างแพร่หลายอยู่ทุกวันนี้

วิทยาศาสตร์ยุคใหม่ได้พิสูจน์แล้วว่า ในความเป็นจริง ธาตุอาหารที่พืชและร่างกายคนเราจะสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้นั้น หากเป็นธาตุอาหารอินทรีย์ (bio-nutruients) หรือธาตุอาหารจากพืช (phyto-chemicals) จะมีสารชีวภาพที่เซลล์สามารถดูดซึมไปใช้ได้ (bioavailability) ถึงร้อยละ 98 ขณะที่ธาตุอาหารที่เป็นเคมีสังเคราะห์มีสัดส่วนที่เซลล์จะสามารถดูดซึมไปใช้ได้เพียงร้อยละ 8-12 เท่านั้น2 ดังนั้นเคล็ดลับของความมีสุขภาพดีของคน สัตว์ และพืช ก็คือระดับของสารชีวภาพที่ร่างกายหรือพืชสามารถดูดซึมไปใช้ประโยชน์ได้ การจะได้รับประโยชน์จากสารอาหารที่กินเข้าไปอย่างเต็มจึงควรกินสารอาหารที่มาจากพืชที่เติบโตตามธรรมชาติหรือปลูกด้วยวิธีที่ใกล้เคียงธรรมชาติมากที่สุด ซึ่งก็คือปลูกในดินที่อุดมสมบูรณ์เท่านั้น ดังนั้นเราจึงไม่อาจมองข้ามคุณภาพและความสำคัญของดินได้เลย

ระบบชีวภาพของธรรมชาติจะเป็นลักษณะวงจรที่สมดุล เมื่อนำสิ่งหนึ่งออกไปก็มีกระบวนการนำกลับมาใช้คืนให้เพื่อรักษาความสมดุลของระบบชีวภาพองค์รวม แต่วิธีการทำเกษตรในปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นการเก็บเกี่ยวธาตุอาหารจากดิน เหมือนเป็นการทำเหมืองกับดิน มีการนำแร่ธาตุสารอาหารออกไปจากดิน แต่ไม่นำกลับมาคืนให้กับดินเท่าที่เอาออกไปเพื่อรักษาความสมดุลของระบบชีวภาพของดิน หากคนเราต้องมีสุขภาพที่ดี อย่างน้อยก็ต้องคืนแร่ธาตุสารอาหารที่ร่างกายต้องการกลับคืนสู่ดิน เพื่อให้ดินมีแร่ธาตุสารอาหารเหล่านั้นอยู่ในผลผลิตอาหารที่เรากิน ไม่เช่นนั้นก็ไม่ต่างอะไรจากการทำร้ายอนาคตของตัวเองและลูกหลาน รวมทั้งทุกสรรพสิ่งบนโลก ดังที่เป็นอยู่

พลังชีวภาพที่เป็น ?พลังชีวิต?

กลับสู่ด้านบน

ทฤษฏีทางวิทยาศาสตร์สาขาเมตาฟิสิกส์ยุคใหม่พิสูจน์แล้วว่า ทุกสรรพสิ่งในจักรวาลล้วนประกอบด้วยอนุภาคที่เล็กที่สุดที่มีการสั่นไหวอยู่ตลอดเวลา และก่อให้เกิดพลังงานในรูปของคลื่นซึ่งมีได้หลายลักษณะแตกต่างกัน รวมถึงคลื่นที่เรารู้จักกันทั่วไปคือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า แต่ก็มีคลื่นอีกหลายลักษณะที่วิทยาศาสตร์ปัจจุบันยังไม่มีเครื่องมือตรวจวัดได้ประกอบรวมอยู่ด้วย คลื่นเหล่านี้จะมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันและมีอิทธิพลซึ่งกันและกันตลอดเวลา มากน้อยแตกต่างกันไปตามลักษณะและกำลังของคลื่น เมื่อคลื่นเหล่านี้มาพบกันก็จะมีการปรับสมดุลคลื่นทั้งความถี่ และกำลังคลื่น โดยคลื่นที่แรงกว่าสามารถมีอิทธิพลเหนือคลื่นที่อ่อนกว่า การปรับสมดุลของคลื่นจึงมีทั้งการเสริมหรือประสาน และการหักล้างกันเอง เพื่อสร้างสมดุลขององค์รวมอยู่ตลอดเวลา ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้คล้ายกันมากกับลักษณะของพลังธรรมชาติหรือพลังชีวิตที่กล่าวไว้ในคัมภีร์อี้จิงโบราณอายุกว่า 3,000 ปีของจีน

ต้นกำเนิดของจักรวาล แม่ของสรรพสิ่ง
รู้จักแม่ก็รู้จักลูก
รู้จักลูกไม่ทิ้งแม่

– เต๋า เต็ก เก็ง –

คัมภีร์อี้จิงโบราณของจีน (1122 ปีก่อนคริสต์กาล) กล่าวไว้ว่า ?สรรพสิ่งในจักรวาลนี้ ไม่มีอะไรหยุดนิ่ง ไม่มีอะไรไม่เปลี่ยนแปลง ไม่มีอะไรไม่เชื่อมโยงกัน และไม่มีอะไรไม่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน? ชาวจีนโบราณเชื่อในเรื่องความสมดุลของสรรพสิ่งในธรรมชาติ โดยมีพลังชีวภาพของธรรมชาติ หรือ ?พลังชีวิต? ที่ภาษาจีนกลางเรียกว่า ?ชี่? จีนแต้จิ๋วออกเสียงว่า ?ขี่? คนญี่ปุ่นเรียกว่า ?กิ? (Ki) ซึ่งหมายถึงสิ่งเดียวกับ ?ปราณ? (Prana) ในภาษาสันสกฤต หรือ ?นูมา? (Pneuma) ในภาษากรีก พลังชีวภาพธรรมชาติหรือพลังชีวิตในความหมายนี้จะมีอยู่ทุกหนทุกแห่ง ทั้งในร่างกายมนุษย์และทุกสรรพสิ่งในจักรวาล อารยธรรมโบราณทั่วโลกตั้งแต่อียิปต์ บาบีโลน เปอร์เซีย กรีก โรมัน จีน และอินเดีย ล้วนมีการกล่าวถึงการใช้พลังชีวิตและสมดุลของธรรมชาติทั้งสิ้น คนโบราณมองว่าทุกสรรพสิ่งในจักรวาลล้วนมีชีวิต คือ มีพลังชีวิตหรือปราณของตัวเอง แม้แต่วัตถุธาตุต่างๆ ที่เราจัดว่าเป็นสิ่งไม่มีชีวิต ในนัยยะนี้ก็ถือว่าล้วนเป็นสิ่งมีชีวิตและมีพลังชีวภาพไหลเวียนอยู่ในตัวเองทั้งสิ้น รวมถึงดวงดาวทั้งหลาย ภูเขา ก้อนหิน แม่น้ำ ก้อนเมฆ วัตถุสิ่งของต่างๆ และอะตอมทุกอะตอม และแน่นอนว่าต้องรวมถึง มนุษย์ทุกคน สัตว์ และ พืชทุกชนิดด้วย ดังที่กล่าวไว้ในคัมภีร์อี้จิงว่า ?ไม่มีสิ่งใดในจักรวาลนี้สามารถแยกขาดเป็นปัจเจกอย่างสมบูรณ์โดยไม่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันเลย และไม่มีชี่ของสิ่งใดไม่เคลื่อนไหวแลกเปลี่ยนกับชี่ของสิ่งอื่น?

นักวิทยาศาสตร์สายเมตาฟิสิกส์ได้พยายามศึกษาค้นคว้าเพื่อพิสูจน์ถึงความมีอยู่ของพลังชีวภาพธรรมชาติหรือพลังชีวิตตามนัยยะนี้ จนเข้าใจและยอมรับในความมีอยู่จริงของพลังที่มองไม่เห็นเหล่านี้ นักวิทยาศาสตร์ได้พบว่าพลังชีวภาพหรือพลังชีวิตตามนัยยะนี้มีคุณสมบัติเป็นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ละเอียด บางส่วนมีความถี่ในช่วงของคลื่นความร้อนหรือรังสีอินฟาเรด และบางส่วนก็ละเอียดมากจนเครื่องมือในปัจจุบันไม่สามารถตรวจจับได้ แต่สามารถเห็นผลจากการกระทำของพลังธรรมชาติที่ละเอียดนี้ได้ และได้อธิบายว่าพลังชีวิตที่ว่านี้ ก็คือพลังงานรอบๆ ตัวเราที่มีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา เป็นองค์ประกอบพื้นฐานที่สุดในการก่อรูปและประคองรักษาความมีอยู่ของสรรพสิ่ง ทุกสรรพสิ่งในจักวาลจะมีการถ่ายโอนแลกเปลี่ยนพลังชีวิตระหว่างกันอยู่เสมอ และการเปลี่ยนแปลงของพลังชีวิตนี้เองที่ก่อให้เกิดสรรพสิ่งในจักรวาลและปรากฏการณ์ธรรมชาติทั้งหลาย ฤดูกาลต่างๆ ก็เป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงของพลังชีวิตในธรรมชาติตามนัยยะนี้ และโดยธรรมชาติ ถ้าพลังชีวิตของสิ่งหนึ่งสมดุล ก็จะทำให้พลังชีวิตของสิ่งอื่นๆ ดีไปด้วย แต่ถ้าพลังชีวิตของสิ่งหนึ่งเกิดเสียสมดุล ก็จะส่งผลต่อพลังชีวิตของสิ่งอื่นๆ ด้วยเช่นกัน ถ้าสรรพสิ่งมีความสมดุล พืชพันธุ์ไม้ก็เจริญงอกงาม ฝนฟ้าก็ตกตามฤดูกาล ผู้คนก็จะไม่เจ็บป่วย ดังนั้นความมีสุขภาพดีของทุกชีวิตในจักรวาล จึงขึ้นอยู่กับความสมดุล ความผสมผสานกลมกลืน และการแลกเปลี่ยนกันอย่างพอดี ระหว่างพลังชีวิตของตัวเองกับพลังชีวิตของสิ่งแวดล้อมนั่นเอง

นักวิทยาศาสตร์ยุคใหม่ได้พบและยอมรับแล้วว่า ร่างกายของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด รวมทั้งต้นพืช สามารถผลิตคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าชีวภาพขึ้นเองได้ด้วยกระบวนการทางชีวเคมี และเป็นแหล่งพลังงานสำคัญของเซลล์ทั้งหลาย เนื่องจากเซลล์ต่างๆ ในร่างกายหรือต้นพืชต้องมีการติดต่อสื่อสารส่งผ่านข้อมูลสำคัญๆ และพลังงานไปหล่อเลี้ยงเซลล์ในส่วนต่างๆ เหมือนมีสายโทรศัพท์ที่เซลล์ใช้ส่งผ่านข้อมูลเป็นโครงข่ายซับซ้อนอยู่ทั่วร่างกายและในต้นพืช เซลล์ต่างๆ ส่งผ่านข้อมูลถึงกันและกันโดยอาศัยปฏิกิริยาชีวเคมีเคมีที่เกิดขึ้นระหว่างจุดเชื่อมต่อเซลล์ ซึ่งปฏิกิริยาชีวเคมีหล่านี้จะทำให้เกิดประจุไฟฟ้า เป็นผลทำให้มีกระแสไฟฟ้าวิ่งจากเซลล์หนึ่งไปยังอีกเซลล์หนึ่ง นอกจากนี้เซลล์ต่างๆ ยังมีระบบการสื่อสารแบบชีวภาพผ่านฮอร์โมนและเอ็นไซม์ด้วย โดยเซลล์ที่ผลิตฮอร์โมนหรือเอ็นไซม์ (อย่างต่อมไร้ท่อต่างๆ ในคน) จะส่งฮอร์โมนที่เปรียบเหมือนเป็นรหัสข้อมูลไปสู่เซลล์เป้าหมายในส่วนต่างๆ ผ่านทางกระแสเลือดในคนและสัตว์ และผ่านท่อลำเลียงอาหารในพืช

ลักษณะธรรมชาติของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เมื่อคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าต่างชนิดกันเข้าใกล้กันก็จะส่งผลต่อกันและกัน เหมือนคลื่นโทรศัพท์มือถือที่อยู่ใกล้กันหรือใกล้คลื่นวิทยุโทรทัศน์ ก็จะสามารถไปรบกวนคลื่นของกันและกันได้ ในทำนองเดียวกัน คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าต่างๆ มากมายในสภาพแวดล้อมก็ส่งผลบางอย่างกับต้นไม้พืชผักในบริเวณนั้นเช่นเดียวกัน เพียงแต่เราไม่สามารถมองเห็นการเปลี่ยนแปลงของคลื่นเหล่านี้ด้วยตาเปล่าเท่านั้น แต่ต้องอาศัยองค์ประกอบแวดล้อมมาสะท้อนความมีอยู่หรือผลกระทบจากการกระทำของคลื่นหรือพลังชีวิตเหล่านี้ เช่น ได้ยินเป็นเสียงรบกวนในวิทยุ หรือทำให้ภาพบนจอโทรทัศน์ไม่คมชัด เป็นต้น

สิ่งมีชีวิตทุกชนิด หรือเซลล์ที่มีชีวิตทุกเซลล์ มีพลังชีวภาพหรือพลังชีวิตของตัวเอง ระดับของพลังชีวิตในแต่ละเซลล์จะเป็นตัวกำหนดความแข็งแรงสมบูรณ์หรือความเสี่ยงต่อโรคภัยไข้เจ็บของสิ่งมีชีวิตนั้นๆ ตามหลักของจีนโบราณ พลังชีวภาพ หรือพลังชีวิต หรือพลังชี่ หรือพลังปราณ ของสิ่งหนึ่งจะถูกดึงและถูกดูดจากพลังชีวิตของสิ่งอื่นๆ รอบตัวอยู่ตลอดเวลา พลังชีวภาพทุกชนิดจึงต้องพยายามรักษาและปรับสมดุลของตัวเองอยู่ตลอดเวลาตามธรรมชาติ เมื่อใดที่พลังชีวิตของสิ่งหนึ่งเกิดเสียสมดุล ธรรมชาติก็จะหาวิธีการปรับเพื่อให้กลับสู่สมดุลขององค์รวม ซึ่งการปรับสมดุลพลังชีวิตในธรรมชาติจะปรากฎเป็นการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล ฝนตก ฟ้าร้อง ฯลฯ นั้นเอง หากเกิดการเสียสมดุลขององค์รวมยิ่งมาก เช่นการที่มนุษย์ได้เผาเชื้อเพลิงจากฟอสซิลอย่างมหาศาลเพื่อใช้เป็นพลังงานขับเคลื่อนสังคมอุตสาหกรรม จนทำให้เกิดภาวะโลกร้อนอย่างที่เป็นอยู่ ธรรมชาติก็จะหาวิธีการปรับเพื่อให้พลังชีวิตองค์รวมกลับสู่สมดุล เกิดผลเป็นความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศทั่วโลก เมื่อมีการเสียสมดุลยิ่งมาก ระดับการเปลี่ยนแปลงก็จะยิ่งมากขึ้นตามไปด้วย จึงปรากฏเป็นพิบัติภัยทางธรรมชาติที่รุนแรงมากขึ้นทั่วโลกอย่างที่เป็นอยู่

ทุกสิ่งบนโลกเป็นส่วนหนึ่งในปรากฏการณ์ปรับสมดุลของธรรมชาตินี้ กระแสของพลังชีวิตที่ไหลเวียนอยู่ภายในทุกสิ่งมีการเปลี่ยนแปลงตามการแปรเปลี่ยนของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดวงดาวต่างๆ เหมือนที่แรงดึงดูดของดวงจันทร์สามารถมีอิทธิพลก่อให้เกิดน้ำขึ้นน้ำลงบนโลก ร่างกายของคนเรารวมทั้งสัตว์และพืชทั้งหลายซึ่งมีน้ำเป็นองค์ประกอบสำคัญ ก็ย่อมได้รับอิทธิพลจากแรงดึงดูดของดวงจันทร์ในทำนองเดียวกันด้วย แรงดึงดูดของดวงจันทร์ที่เต็มดวงทำให้พลังชีวภาพภายในของสิ่งมีชีวิตบนโลกเพิ่มขึ้น มีผลไปกระตุ้นให้ระบบต่างๆ ภายในทำงานมากขึ้น หรือเวลาที่พายุรังสีสุริยะจากดวงอาทิตย์มีความรุนแรง จะรบกวนสัญญาณวิทยุโทรทัศน์บนโลก คลื่นสัญญาณเหล่านี้เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าคล้ายคลื่นของพลังชีวิต รังสีสุริยะจึงมีผลกับพลังชีวิตของสิ่งต่างๆ บนโลกด้วย การเปลี่ยนฤดูกาลก็มีผลกับการทำงานของพลังชีวภาพเหล่านี้ หรือแม้กระทั่งอารมณ์ของคนเราก็เป็นพลังชีวิตลักษณะหนึ่ง และสามารถส่งผลต่อความสมดุลของพลังชีวภาพภายในและรอบๆ ตัวด้วย

พืชและสัตว์ที่เติบโตจากอาหารและสภาพแวดล้อมที่มีพลังชีวภาพที่ดี จะสามารถส่งต่อพลังชีวิตที่เก็บสะสมไว้ให้แก่กันได้ การนำเศษซากพืชมาทำปุ๋ยหมักก็เป็นการนำพลังชีวภาพหรือพลังชีวิตที่หลงเหลืออยู่ในอินทรีย์วัตถุเหล่านั้นกลับคืนไปสู่ดินเพื่อส่งต่อให้กับพืชนั้นเอง ดังนั้นในมุมมองด้านพลังชีวภาพ แก่นแท้ของคุณภาพอาหารจึงอยู่ที่ระดับพลังชีวิตหรือปราณในอาหาร แต่พลังชีวิตในอาหารไม่สามารถตรวจวัดได้ด้วยหลอดทดลอง จึงเป็นเรื่องที่นักวิทยาศาสตร์ยังไม่อาจเข้าใจได้ด้วยระดับความรู้เชิงโภชนาการตามที่มีอยู่ในปัจจุบัน สารอาหารต่างๆ ในเชิงโภชนาการ ไม่ว่าจะเป็นแคลอรี่ของคาร์โบไฮเครต หรือโปรตีน หรือแม้แต่วิตามิน หากพิจารณาตามหลักการนี้ ล้วนถือเป็นกากที่แยกพลังชีวิตออกไปแล้ว สารอาหารต่างๆ จะถูกนำไปบำรุงเลี้ยงส่วนที่เป็นกายภาพของร่างกาย แต่พลังชีวภาพในอาหาร หรือพลังชีวิตหรือปราณของอาหาร จะไปบำรุงเลี้ยงจิตใจหรือจิตวิญญาณ และมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อคุณภาพชีวิต เพราะหากเข้าใจการทำงานของจิตแล้ว เราจะรู้ว่าจิตเป็นตัวสั่งงานร่างกาย ไม่ใช่ร่างกายสั่งงานจิต ตามคำกล่าวที่ว่า ?จิตคุมกาย? หรือ ?จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว?

เรื่องของพลังชีวภาพหรือพลังชีวิตถือเป็นมรดกอันล้ำค่าจากภูมิปัญญาของคนโบราณ ซึ่งถูกมองเป็นเรื่องงมงายในยุคศตวรรษที่ 20 แต่ความรู้ทางนักวิทยาศาสตร์ยุคปัจจุบันที่เราคิดว่าก้าวหน้ามาก ก็เพิ่งจะเริ่มเข้าใจถึงความลึกซึ้งและซับซ้อนของวิชาการโบราณเหล่านี้ จนการค้นพบใหม่ๆ ของวิทยาศาสตร์ยุคปัจจุบัน มักเกิดขึ้นจากการกลับไปศึกษาทำความเข้าใจวิธีการของคนโบราณนั้นเอง เช่นเดียวกับการค้นพบพลังชีวภาพธรรมชาติที่เปิดวิสัยทัศน์สู่การมองและเข้าโลกที่เปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง

วิทยาศาสตร์ของพลังชีวิต

กลับสู่ด้านบน

นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกจะรู้ว่าน้ำ (H2O) มีความอ่อนไหวมากเป็นพิเศษต่อคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าภายนอก3 และเนื่องจากน้ำเป็นองค์ประกอบพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดและวัตถุอีกมากมาย นักวิทยาศาสตร์จึงมักนิยมใช้น้ำเป็นตัวทดสอบผลกระทบจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีต่อสิ่งต่างๆ

นักวิทยาศาสตร์ด้านน้ำชาวญี่ปุ่นชื่อ ดร.มาซารุ เอะโมโตะ ได้สนใจศึกษาถึงผลของคลื่นพลังทั้งด้านบวกและด้านลบหรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าลักษณะต่างๆ ที่มีต่อน้ำ โดยอาศัยข้อเท็จจริงของ ธรรมชาติที่ว่า เกร็ดหิมะ (snow flake) แต่ละเกร็ดที่ตกลงมาจากฟ้าเป็นล้านๆ เกร็ดนั้น แต่ละเกร็ดจะไม่มีลวดลายที่ซ้ำกันเลย จึงได้ทดลองนำน้ำไปแช่แข็งแล้วถ่ายภาพผลึกของน้ำ ซึ่งก็พบว่าน้ำจากแหล่งที่ต่างกันจะมีลวดลายของผลึกน้ำที่ไม่เหมือนกัน เขาจึงเริ่มเก็บตัวอย่างน้ำจากที่ต่างๆ และทดลองนำ เมื่อนำน้ำไปผ่านคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าชนิดต่างๆ ทั้งจากธรรมชาติแวดล้อมและอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ เพื่อเปรียบเทียบดูลักษณะความแตกต่างที่เกิดขึ้นกับผลึกน้ำก่อนและหลังได้รับคลื่นพลังชีวภาพลักษณะต่างๆ เช่น เสียงดนตรีประเภทต่างๆ (แสง สี เสียง เป็นคลื่อนแม่เหล็กไฟฟ้าประเภทหนึ่ง) นำเสียงของคำพูดที่มีอารมณ์และความหมายแตกต่างกัน หรือรูปภาพลักษณะต่างๆ และแม้แต่ภาชนะบรรจุที่ทำจากวัสดุที่แตกต่างกัน ผลจากการทดลองของเขาทำให้เขาต้องตะลึงและมหัศจรรย์ใจกับผลของพลังธรรมชาติที่เกิดกับน้ำ ซึ่งปรากฏให้เห็นจากการเปลี่ยนแปลงของผลึกน้ำในแต่ละกรณี

ดร.เอะโมโตะพบว่า ผลึกของน้ำจากธรรมชาติที่แวดล้อมด้วยพลังธรรมชาติด้านบวก เช่น น้ำจากต้นน้ำลำธารท่ามกลางธรรมชาติ จากบ่อน้ำพุธรรมชาติในวัด หรือหิมะจากยอดเขาสูง เป็นต้น หรือน้ำที่ได้รับพลังธรรมชาติด้านบวกหรือมีภูมิต้านทานที่ดี จะมีโครงสร้างเป็นรูปทรง 6 เหลี่ยมที่มีลวดลายสวยงามและสมมาตรกัน คล้ายกับลักษณะและลวดลายของเกร็ดหิมะในธรรมชาติ ซึ่งเป็นรูปทรงพื้นฐานที่น้ำทุกประเภทจะพยายามปรับตัวเองให้เป็นหรือให้เกิดขึ้นเมื่อได้รับพลังธรรมชาติด้านบวก ส่วนน้ำที่สัมผัสหรือแวดล้อมด้วยพลังธรรมชาติด้านลบหรือรับพลังธรรมชาติด้านลบยิ่งมาก เช่น น้ำในแม่น้ำลำธารที่ไหลผ่านชุมชนโดยเฉพาะแหล่งอุตสาหกรรม น้ำจากบ่อน้ำเสีย หรือแม้แต่น้ำประปาในเมืองใหญ่ เป็นต้น ก็ยิ่งไม่เป็นรูปทรง หรือรูปทรงไม่สมมาตร ลวดลายไม่น่าดูหรือดูน่าเกลียด

ที่มา:?http://www.hadousa.com/

หากพลังลักษณะต่างๆ แม้แต่น้ำเสียงจากคำพูดที่เราใช้ในชีวิตประจำวันโดยไม่ได้คิดเป็นประจำ ก็สามารถทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงกับน้ำได้มากมายและแจ่มชัดตามที่เห็นจากผลการศึกษาทดลองกับผลึกน้ำเหล่านี้ และในเมื่อโลกของเราและร่างกายของคนเราประกอบด้วยน้ำถึง 70% ไข่ที่ปฏิสนธิแล้วและเริ่มแบ่งตัวเจริญเติบโตพัฒนาเป็นทารกในครรภ์ประกอบด้วยน้ำถึง 95% สัตว์ต่างๆ และต้นไม้ พืชผักผลไม้ที่เป็นอาหารของคนเราก็มีน้ำเป็นส่วนประกอบด้วยกันทั้งสิ้น ก็ลองคิดดูกันเอาเองว่าพลังชีวภาพต่างๆ ที่อยู่รอบและในตัวของเราจะมีผลต่อเรา หรือต่อสรรพสิ่งรอบตัวเราได้อย่างไรบ้างและมากน้อยขนาดไหน

พวกเราคงเคยได้ยินเรื่องการทดลองเปิดเพลงให้ต้นไม้ฟังมาบ้างแล้ว การทดลองพบว่าหากเปิดเพลงเย็นๆ เบาๆ ต้นไม้จะโตเร็วและแข็งแรง ไม่มีโรคพืชหรือแมลงมารบกวน แต่ถ้าเปิดเพลงร้อนแรง ต้นไม้จะโตช้าและมีโรคมากกว่าต้นที่ไม่ได้ฟังเพลงเลย แต่ไม่มีใครสามารถอธิบายได้ว่าที่ผลปรากฏออกมาเป็นเช่นนั้นเป็นเพราะเหตุใด แต่จากผลการทดลองของดร.เอะโมโตะ ก็อาจพอจะอธิบายได้ว่าเป็นเพราะผลจากพลังของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในรูปของเสียงเพลงที่เปิดให้ต้นไม้ฟัง ได้เข้าไปเปลี่ยนโครงสร้างรูปทรงของน้ำภายในต้นพืช และส่งผลต่อสุขภาพและการเติบโตของต้นพืชนั้นเอง

ธรรมชาติของน้ำอีกข้อหนึ่งที่มีผลต่อการเจริญโตของพืช คือ การจับตัวรวมเป็นกลุ่มโมเลกุลของน้ำ โดยปกติธรรมชาติ โมเลกุลน้ำจะรวมตัวกันเป็นกลุ่มโมเลกุลขนาดต่างๆ ตามแต่อิทธิพลของพลังชีวภาพด้านบวกและด้านลบในสภาพแวดล้อมรอบๆ ตัว น้ำที่มีพลังชีวิตมากจะรวมตัวกันน้อยหรือรวมเป็นกลุ่มโมเลกุลไม่ใหญ่ราว 6 โมเลกุล กลุ่มโมเลกุลของน้ำที่ยิ่งเล็กก็จะทำให้น้ำสามารถเคลื่อนผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ได้ยิ่งดี แต่หากน้ำได้รับอิทธิพลของพลังชีวภาพด้านลบมากหรือนานเกินไปจะมีโครงสร้างกลุ่มโมเลกุลที่ใหญ่ขึ้น ตัวอย่างเช่น น้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติที่สะอาดจะจับตัวเป็นกลุ่มละราว 6 โมเลกุล น้ำประปาโดยทั่วไปจะจับตัวเป็นกลุ่มละประมาณ 14 โมเลกุล แต่เมื่อน้ำได้รับพลังคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ามากขึ้น น้ำจะปรับการจับตัวรวมเป็นใหญ่ขึ้นจนถึงกลุ่มละ 30 โมเลกุล ซึ่งทำให้ผ่านเข้าออกเซลล์ได้ยากขึ้น เป็นผลให้นำแร่ธาตุสารอาหารต่างๆ เข้าไปหล่อเลี้ยงเซลล์ได้ไม่เต็มที่ ขณะเดียวกันก็ไม่สามารถนำของเสียจากภายในเซลล์ออกมาทิ้งภายนอกได้โดยสะดวก เกิดการหมักหมมและเป็นพิษอยู่ภายใน ทำให้เซลล์อ่อนแอลงและเสื่อมคุณภาพ เป็นผลให้ภูมิคุ้มกันเชื้อโรคบกพร่อง และเกิดโรคต่างๆ ตามมา

ดังนั้น การเข้าใจการทำงานของพลังชีวภาพในธรรมชาติตามนัยยะนี้ ก็จะทำให้เรามองความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งต่างๆ ในธรรมชาติรอบตัวเราในมิติของความเป็นองค์รวมของสรรพสิ่งได้ชัดเจนยิ่งขึ้น และสามารถปรับวิธีทำการทำเกษตรให้สอดคล้องกับธรรมชาติได้ดียิ่งขึ้น โดยออกแบบการจัดการและเปลี่ยนวิธีการดูแลพื้นที่แปลงเพาะปลูกให้เอื้อกับการทำงานของธรรมชาติ เพื่อให้ได้ผลผลิตการเกษตรที่มีคุณภาพเปี่ยมด้วยพลังขีวิตอย่างแท้จริง

และนี้เป็นความหมายที่แท้จริงของระบบการทำเกษตรอินทรีย์พลังชีวภาพ ที่คำนึงถึงพลังชีวิตที่มองไม่เห็นในธรรมชาติซึ่งสามารถให้ผลที่มากกว่าเกษตรอินทรีย์ทั่วไป ทั้งผลในด้านคุณภาพของดินหรืออาหารของพืช คุณภาพของผลผลิตการเกษตรหรืออาหารสำหรับคนและสัตว์ และคุณภาพของสิ่งแวดล้อมหรืออาหารสำหรับระบบนิเวศของโลก

เกษตรอินทรีย์พลังชีวภาพ

กลับสู่ด้านบน

เกษตรอินทรีย์พลังชีวภาพ (Bio-Energetic Organic Agriculture) เป็นระบบเกษตรกรรมที่รวบรวมผสมผสานภูมิปัญญาวิธีทำการเกษตรของคนยุคโบราณ รวมทั้งหลักการแนวคิดและวิธีการที่เป็นข้อดีของระบบเกษตรกรรมทางเลือกและเกษตรกรรมยั่งยืนที่มีประสิทธิภาพจากทั่วโลก เข้ากับความรู้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการบริหารจัดการที่เป็นระบบของยุคปัจจุบัน ด้วยความเข้าใจวิถีของธรรมชาติ โดยมองว่าทุกสิ่งในธรรมชาติมีความเกี่ยวโยงเป็นหนึ่งเดียว หัวใจของเกษตรอินทรีย์พลังชีวภาพอยู่ที่การบริหารจัดการพื้นที่เพาะปลูกให้เหมือนระบบนิเวศของป่าธรรมชาติ ให้ความสำคัญกับการฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์และโครงสร้างของดินด้วยกระบวนการธรรมชาติ เพื่อให้ดินมีคุณภาพดีเหมือนดินในป่าธรรมชาติ จัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์และสิ่งมีชีวิตทั้งใต้ดินและบนดิน ที่เป็นประโยชน์ต่อพืชและระบบนิเวศตามธรรมชาติ ซึ่งเป็นสภาพแวดล้อมที่ทำให้พืชเจริญเติบโตได้ดี มีความแข็งแรง ต้านทานโรคพืชและแมลงศัตรูพืชได้ดี ให้ความสำคัญกับทุกองค์ประกอบของธรรมชาติที่มีผลต่อการเติบโตของพืช ทั้งที่มองเห็นและมองไม่เห็น เช่น สภาพภูมิอากาศ แรงดึงดูดของโลกและดวงดาวบนท้องฟ้า พลังงานจากธรรมชาติ เช่น จากสนามแม่เหล็กโลก เป็นต้น และพลังที่ผิดธรรมชาติ เช่น คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มนุษย์สร้างขึ้น เป็นต้น ซึ่งล้วนมีผลต่อผลผลิตทั้งในด้านคุณภาพและปริมาณ

เทคนิควิธีการที่นำมาผสมผสานรวมไว้ในระบบเกษตรอินทรีย์พลังชีวภาพ เพื่อการฟื้นฟูบำรุงดินและเพิ่มประสิทธิผลการผลิต รวมถึงแต่ไม่จำกัดเพียง แนวทางตามหลักวิธีของระบบเกษตรชีวภาพแบบมีพลวัต (Bio-Dynamic) ระบบชีวภาพเข้มข้น (Bio-Intensive) ระบบเกษตรกรรมเข้มข้นของฝรั่งเศส (French Intensive Farming) และระบบเกษตรกรรมถาวร (Permaculture) ระบบเกษตรธรรมชาติแบบญี่ปุ่น (Japanese Natural Farming) ทั้งตามแบบของคุณลุงมาซาโนบุ ฟูกูโอกะ และแบบของท่านโมกิจิ โอกาดะ หรือแบบเอ็มโอเอ (MOA) และคิวเซ ตลอดจนระบบเกษตรธรรมชาติแบบเกาหลี (Korean Natural Farming) ของคุณลุงโช รวมทั้งเกษตรทฤษฎีใหม่ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ภูมิปัญญาท้องถิ่นไทยโบราณ และของปราชญ์ชาวบ้านเกษตรกรไทยยุคใหม่ โดยเน้นการจัดการสภาพแวดล้อมของดินให้เหมาะสมกับการดำรงอยู่ของจุลินทรีย์และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์กับพืชและระบบนิเวศ ตลอดจนการบริหารจัดการสภาพแวดล้อมในบริเวณที่ทำการเพาะปลูก

นอกจากนี้ยังรวมเทคโนโลยีชีงภาพอย่างการเลี้ยงไส้เดือนเพื่อการเกษตร (Vermiculture) และการใช้ถ่านชีวภาพ (BioChar) ซึ่งเป็นผลผลิตของการอบอินทรีย์วัตถุด้วยความร้อนต่ำและอ๊อกซิเจนต่ำ (pyrolisis) ซึ่งทำให้ได้ถ่านชีวภาพที่มีสารประกอบคาร์บอนเหลืออยู่ในเนื้อถ่านสูง ถ่านที่ได้มีโครงสร้างที่เป็นรูพรุน สามารถกักเก็บน้ำได้ดี และเป็นที่อยู่อย่างดีของจุลินทรีย์ในดิน ซึ่งช่วยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้กับดิน และสามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของภาคการเกษตร รวมทั้งยังสามารถดูดซับก๊าซเรือนกระจกโดยเฉพาะคาร์บอนกลับมาเก็บไว้ในดินได้มากกว่าทีปล่อยออกไป (carbon negative technology) และยังรวมถึงการใช้พลังธรรมชาติลักษณะต่างๆ เพื่อเสริมช่วยการเจริญเติบโตของพืช เพิ่มผลผลิต และรักษาสมดุลของระบบนิเวศของธรรมชาติ เช่น การใช้ประโยชน์จากระดับความอ่อนเข้มของแสงอาทิตย์ การใช้ประโยชน์จากแรงดึงดูดของโลกและดวงจันทร์ช่วยเสริมการเติบโตของพืช การใช้พลังสนามแม่เหล็กและคลื่นพลังชีวิตเพื่อปรับรูปทรงของผลึกน้ำที่ใช้ และการป้องกันพลังด้านลบจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีต่อพืช ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งเมื่อเข้าใจหลักการทำงานพื้นฐานของพลังธรรมชาติเหล่านี้แล้ว จะสามารถปรับใช้พลังธรรมชาติเหล่านี้ด้วยเทคนิคต่างๆ ได้อย่างเหมาะสมกับประเภทของพืชและในทุกสภาพแวดล้อม จึงทำให้ระบบเกษตรอินทรีย์พลังชีวภาพเป็นระบบเกษตรกรรมยั่งยืนแบบองค์รวมที่มีพลวัตสูง ทำให้ผลผลิตมีความปลอดภัยในการบริโภค มีแร่ธาตุสารอาหารและพลังชีวิตที่จำเป็นต่อร่างกายอย่างครบถ้วน และในปริมาณที่สูงกว่าระบบเกษตรกรรมเคมี รวมทั้งยังเปิดกว้างที่จะเรียนรู้และบูรณาการวิธีการใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์มาเพิ่มประสิทธิผลของระบบอยู่เสมอ

ดังนั้นความจริงแล้วระบบเกษตรอินทรีย์พลังชีวภาพจึงไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เป็นระบบเกษตรกรรมที่พึ่งพิงกระบวนการทางชีวภาพของธรรมชาติ ซึ่งเป็นภูมิปัญญาของคนยุคก่อนในการรักษาความยั่งยืนในการผลิตอาหาร ที่สามารถพบได้ในทุกอารยธรรมโบราณทั่วโลก เป็นวิธีการที่ใช้กันมาแล้วเมื่อ 5,000 ปีก่อนในเอธิโอเปีย 4,000 ปีในจีน ญี่ปุ่น เกาหลี และอินเดีย 2,000 ปีในกรีซ 1,000 ปีในวัฒนธรรมชาวมายา และ 300 ปีในยุโรป เป็นต้น วิธีการเหล่านี้เป็นวิธีการที่ง่าย ตั้งอยู่บนความเข้าใจกระบวนการและสมดุลของธรรมชาติอย่างลึกซึ้งแท้จริง ซึ่งให้ผลผลิตดีแบบยั่งยืน และเป็นระบบจัดการไร่และสวนแบบองค์รวมตามแบบธรรมชาติ ซึ่งทำให้…

  • เป็นระบบการผลิตอาหารที่ครบวงจรอย่างสมบูรณ์ ใช้เพียงแรงคนและเครื่องมือทำสวนอย่างง่ายๆ ไม่ซับซ้อน ไม่ต้องพึ่งเครื่องจักรการเกษตรขนาดใหญ่ที่ใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิล หรือเทคโนโลยีราคาแพง ไม่มีการใช้สารเคมีเพื่อการเกษตร จึงลดการใช้พลังงานจากฟอสซิลในกระบวนการผลิตลงได้ถึงร้อยละ 95-994 ไม่ต้องใช้การวิจัยในห้องทดลองเพื่อปรับเปลี่ยนควบคุมธรรมชาติซึ่งอาจมีผลพวงที่คาดเดาไม่ถึงในภายหลัง ใช้เมล็ดพันธุ์ที่ได้จากการผสมเกษรตามธรรมชาติ จึงเป็นระบบเกษตรกรรมที่ทุกคนบนโลกใบนี้สามารถทำได้ และเหมาะอย่างยิ่งสำหรับเกษตรกรรายย่อย
  • ใช้วิธีการปลูกพืชที่หนาแน่นชิดกัน ให้ผลผลิตต่อพื้นที่สูง สามารถเพิ่มผลผลิตต่อพื้นที่ได้มากกว่าเกษตรเคมีถึง 2-4 เท่าตัว เพราะดินที่มีการจัดการอย่างถูกหลักจะสามารถปลูกพืชต่อพื้นที่ได้มากกว่าถึง 4 เท่า และในระยะยาวจะสามารถให้ผลผลิตเพิ่มมากขึ้นเป็น 6-12 เท่า เมื่อมีการจัดการดินจนมีความอุดมสมบูรณ์เหมือนดินในป่าตามธรรมชาติ จึงทำให้ใช้พื้นที่และทรัพยากรน้อยลง โดยสามารถใช้ที่ดินเพียง 80 ตร.ว. ปลูกพืชพอเลี้ยงคน 1 คนได้ตลอดปีในระบบปิดที่ไม่ต้องพึ่งพิงทรัพยากรจากภายนอกเลย5
  • ใช้การขุดพรวนดินลึกเป็นสองเท่าของเกษตรเคมี เพื่อร่นระยะเวลาการพัฒนาดินให้เร็วกว่ากระบวนการธรรมชาติ ซึ่งเป็นประโยชน์สำหรับการเพาะปลูกพืช มีระบบการปลูกพืชเพื่อใช้ทำปุ๋ยหมักไว้ใช้เอง และในระยะแรกใส่เพิ่มปุ๋ยอินทรีย์ในดินเพียงเล็กน้อยเพื่อปรับสมดุลของสารอาหารพืชในดิน ในระยะต่อๆ ไปสามารถลดการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ได้ถึงร้อยละ 50-100 ลดวัชพืชลงได้กว่าร้อยละ 50 และใช้น้ำเพียงร้อยละ 12-33 ของการทำเกษตรแบบเคมี6 ทำให้สามารถลดการพึ่งพิงทรัพยากรจากภายนอกได้โดยสิ้นเชิง
  • การปลูกพืชแน่นชิดกันสามารถช่วยรักษาความชื้นในดินได้ดี โดยปกติพืชที่ปลูกในดินอุดมที่มีสารอินทรีย์สูง จะทนแล้งและทนน้ำท่วมได้ดีกว่าพืชที่ปลูกแบบเกษตรเคมี จึงสามารถลดการพึ่งพิงน้ำซึ่งจะขาดแคลนมากยิ่งขึ้นในฤดูแล้ง และทนต่อภัยน้ำท่วมที่จะเกิดมากขึ้นในฤดูฝน ซึ่งเป็นผลจากสภาพภูมิอากาศแปรปรวนเพราะภาวะโลกร้อนได้ดีกว่าพืชที่ปลูกด้วยระบบเกษตรกรรมแบบอื่น
  • สามารถปรับเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้กับดินได้เร็วกว่ากระบวนการธรรมชาติถึง 60 เท่า7 สามารถเพิ่มหน้าดินที่อุดมสมบูรณ์ได้ถึง 20 กิโลกรัมต่อทุก 1 กิโลกรัมของอาหารที่เรารับประทาน จึงลดเวลาการปรับเปลี่ยนสภาพดินเสื่อม ดินเสีย และดินตายจากการทำเกษตรเคมี ให้สามารถให้ผลผลิตเทียบเคียงกับเกษตรเคมีจาก 3-7 ปีเหลือเพียง 1-2 ปี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพของดินก่อนเริ่มการปรับเปลี่ยน
  • ผลผลิตมีปริมาณแร่ธาตุสารอาหารที่ให้คุณค่าทางโภชนาการสูงขึ้นกว่าผลผลิตจากเกษตรเคมี สารอาหารบางชนิดสูงกว่าเป็นร้อยหรือเป็นพันเท่าตัว8 และเปี่ยมด้วยพลังชีวิตที่แข็งแรงสมบูรณ์ จึงสามารถลดปัญหาด้านสุขภาพของทั้งเกษตรกรผู้ผลิตและผู้บริโภค ซึ่งจะช่วยลดงบประมาณด้านการดูแลสุขภาพของประเทศลงได้อย่างมาก
  • ลดปัญหาการบุกรุกทำลายป่าเพื่อขยายที่ทำกิน เพราะความต้องการใช้พื้นที่เพื่อการเพาะปลูกลดลง ทำให้มีป่าเหลือและมีที่ดินเพื่อปลูกป่าเพิ่มขึ้น ซึ่งจะเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติและรายได้เสริมของชุมชน รวมทั้งมีต้นไม้ใหญ่ในป่ามากขึ้นเพื่อดูดซับก๊าซ CO2
    ช่วยลดปัญหาภาวะโลกร้อน และเพิ่มก๊าซ O2 ให้กับโลกได้
  • เพิ่มความสามารถในการดูดซับก๊าซเรือนกระจกของดิน เพราะดินที่อุดมสมบูรณ์จากการทำเกษตรอินทรีย์พลังชีวภาพจะเป็นที่อยู่ของจุลินทรีย์มีประโยชน์จำนวนมหาศาล จุลินทรีย์เหล่านี้นอกจากจะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่างๆ จากดิน ทั้ง คาร์บอนไดอ๊อกไซด์ (CO2) ไนไตรท์ออกไซด์ (N2O) และ มีเทน (CH4) แล้ว ยังช่วยดูดซับก๊าซเรือนกระจกเหล่านี้กลับมาเก็บไว้ในดินได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย ประมาณว่าดินที่มีอยู่ทั่วโลกสามารถดูดคาร์บอนจากอากาศได้ถึง 1,000 ล้านตันต่อปี9
  • เพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพให้สิ่งแวดล้อม

ระบบเกษตรอินทรีย์พลังชีวภาพจึงเป็นวิธีทำการเกษตรยั่งยืนแบบองค์รวมที่ครบวงจรในตัวเอง ซึ่งหากทำแบบเต็มรูปไประยะเวลาหนึ่งแล้วจะสามารถเป็นระบบปิดที่ไม่ต้องพึ่งพาปัจจัยการผลิตจากภายนอกเลย และนอกจากจะลดต้นทุนการผลิตต่อพื้นที่ลงแล้ว ยังเพิ่มปริมาณและคุณภาพของผลผลิต ซึ่งเป็นการเพิ่มรายได้ให้เกษตรกรได้อย่างยั่งยืน สามารถสร้างเสริมสุขภาพของทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค ตลอดจนทำให้ประเทศมีหลักประกันความมั่นคงและยั่งยืนด้านอาหาร จึงสามารถเป็นต้นแบบของคำตอบและให้ทางออกสำหรับปัญหาทั้งหมดของเกษตรกรไทย และเกษตรกรรายย่อยในโลกได้ อีกทั้งยังอาจเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพที่สุดที่มนุษย์เรามีอยู่ในขณะนี้ สำหรับต่อสู่กับปัญหาและผลพวงทั้งหลายของวิกฤตภาวะโลกร้อนที่โลกกำลังเผชิญอยู่ รวมทั้งยังเป็นวิธีการทำเกษตรที่สร้างความยั่งยืนให้กับระบบนิเวศธรรมชาติ เป็นประโยชน์กับสิ่งแวดล้อม ซึ่งก่อให้เกิดผลดีต่อเนื่องต่างๆ ตามมาอย่างมหาศาลอีกด้วย

?โลกของเรา…ยังเผชิญกับความท้าทายพื้นฐานในเรื่องความมั่นคงด้านอาหาร…ความก้าวหน้าอย่างมากด้านเทคโนโลยีในช่วงครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา ไม่ได้ช่วยให้ความอดอยากและยากจนในประเทศกำลังพัฒนาลดลงมากนัก… คนส่วนใหญ่ที่อดอยากต่อเนื่องเป็นเกษตรกรรายย่อยในประเทศกำลังพัฒนา…?

— UNEP-UNCTAD: เกษตรกรรมอินทรีย์และความมั่นคงด้านอาหารในอัฟริกา

รวบรวมและเรียบเรียง ? ทัศนีย์ เศรษฐ์บุญสร้าง
tatsanee@NawaChiOne.org
? สงวนลิขสิทธิ์
อนุญาตให้ใช้เพื่อการศึกษาที่ไม่เป็นธุรกิจ แต่ขอให้อ้างอิงแหล่งที่มาด้วย

กลับสู่ด้านบน

????????????????????????????????

เชิงอรรถ

1ธาตุอาหารจำเป็นสำหรับพืชประกอบที่เข้าใจกันทั่วไป ประกอบด้วย 4 กลุ่มหลักคือ

  1. ธาตุอาหารหลัก 3 ชนิดที่ขาดไม่ได้ในปุ๋ยเคมี ได้แก่ ไนโตรเจน-N, ฟอสฟอรัส-P, และโพแทสเซียม-K
  2. ธาตุอาหารรอง 3-4 ชนิด ได้แก่ แคลเซียม-Ca, แมกนีเซียม-Mg, กำมะถัน-S, และบางค่ายรวม ซิลิคอน-Si ด้วย
  3. ธาตุอาหารเสริมหรือจุลสารอีก 7-10 ชนิด ได้แก่ แมงกานีส-Mn, เหล็ก-Fe, สังกะสี-Zn, ทองแดง-Cu, โมลิบดีนัม-Mo, โบรอน-B, คลอรีน-Cl, และบางค่ายรวม นิเกิล-Ni, เซเลเนียม-Se, และโซเดียม-Na และ
  4. ธาตุอาหารจากอากาศอีก 3 ชนิด (คอร์บอน-C, อ๊อกซิเจน-O, ไฮโดรเจน-H)

2 Arden Andersen, Let Food Be Your Medicine: Why Full Nutrition Is Better Than Drugs ? Interview, ACRES USA.
3 น้ำ (H2O) มีความอ่อนไหวต่อคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นพิเศษเพราะในนิวเคลียสของอ๊อกซิเจนอะตอม (O) มีความเป็นกลางทางประจุไฟฟ้า คือไม่มีปฎิกิริยาต่อแม่เหล็ก จึงไม่ตอบสนองต่อแรงแม่เหล็กภายนอก เป็นผลให้โปรตอนตัวเดียวในนิวเคลียสของไฮโดนเจนอะตอม (H) ที่มีอยู่ถึง 2 ตัวในโมเลกุลของน้ำ สามารถคล้อยตามแรงแม่เหล็กภายนอกได้อย่างง่ายดาย
4 Standford University?s study
5 Ecology Action?s study in Africa and a confirmation testing by Biosphere II in Arizona
6 John Jeavons (2002), ibid.
7 Contex Institute, ?Bio-Intensive Mini-Gardens-Recipe for Survival?, www.organicconsumers.org/articles/article_3659.cfm
8 Rutgers University?s study
9 SciDAC Review, Scientific Discovery through Advance Computing, www.scidacreview.org/0903/html/edwards.html

เกษตรอินทรีย์พลังชีวภาพ ? บทที่ 2: ระบบการทำเกษตรเพื่ออนาคต

บทความ: เกษตรอินทรีย์พลังชีวภาพ

ดาวน์โหลด PDF


สารบัญ

————————————————————————————————

?การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะกระทบองค์ประกอบหลักสี่ประการของความมั่นคงด้านอาหาร ? ความพอเพียง เสถียรภาพ การใช้ และการเข้าถึง… ขั้นต่อไปในการพัฒนาการเกษตรจำเป็นต้อง …เกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ การหมุนเวียนคาร์บอนกลับมาใช้ และการรับรองว่าดินยังคงมีธาตุอาหารจำนวนมาก?

– UN-ESCAP: เกษตรกรรมยั่งยืนและความมั่นคงด้านอาหารในเอเซียและแปซิฟิก

การมองการณ์ไกลมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการรับมือความท้าทายของอนาคตที่เกิดจากปัญหาการเสื่อมโทรมของดิน การขาดแคลนน้ำจืด และการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรโลก เราต้องการวิธีทำเกษตรกรรมยุคใหม่ที่ให้ประสิทธิผลและมีความยั่งยืนมากขึ้น ต้องเป็นวิธีการที่จะสามารถผลิตอาหารที่มีคุณภาพ อุดมด้วยธาตุอาหาร มีรสอาหารตามธรรมชาติ เปี่ยมด้วยพลังชีวิต ไม่มีสารเคมีอันตรายปนเปื้อน เพื่อสุขภาพที่ดีของผู้บริโภค และในขณะเดียวกัน ก็สามารถช่วยเกษตรกรในการเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน และรักษาสุขภาพ ตลอดจนสามารถรักษาสิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืนไปได้พร้อมๆกัน เพื่อให้เป็นเทคโนโลยีการทำเกษตรกรรมสำหรับการปฏิวัติเขียวยุคใหม่แห่งศตวรรษที่ 21

การปฏิวัติเขียวยุคศตวรรษที่ 21

วิธีการทำเกษตรกรรมตามแนวทางการปฏิวัติเขียวของยุคก่อน ซึ่งเป็นแนวทางกระแสหลักในปัจจุบัน หรือแม้แต่วิธีการทำเกษตรอินทรีย์แบบอุตสาหกรรมที่ยังคงใช้เครื่องจักรกลการเกษตร ล้วนเป็นวิธีการเกษตรที่มองเห็นดินเป็นเพียงปัจจัยการผลิตชนิดหนึ่งเพื่อมุ่งหวังผลผลิตเป็นหลัก ไม่ได้เอาใจใส่ดูแลดินอย่างเหมาะสม และไม่สามารถรักษาความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติได้ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของปัญหาวิกฤตหลายประการที่โลกกำลังเผชิญอยู่ กรอบการพิจารณาอนาคตของการผลิตพืชและอาหารในยุคศตวรรษที่ 21 จำเป็นต้องมองบริบทอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นองค์รวม และต้องตระหนักว่าการตัดสินใจในเรื่องการใช้เทคโนโลยีในการผลิตพืชและอาหาร ต้องมองจากหลากหลายมิติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมิติทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งกำลังกลายเป็นเรื่องที่สำคัญมากยิ่งขึ้นทุกขณะ เราต้องตระหนักร่วมกันว่า เป้าหมายในการพัฒนาเกษตรกรรมนั้นต้องนำไปสู่การฟื้นฟูดิน สิ่งแวดล้อม คุณภาพชีวิตของเกษตรกรและคนส่วนใหญ่ของประเทศเป็นสำคัญ หาใช่ตัวเลขผลผลิต/ไร่ หรือการเติบโตของจีดีพี (GDP) ภาคเกษตรเท่านั้น

เพื่อความมั่นคงทางอาหารและความอยู่รอดของมนุษยชาติบนโลกใบนี้ เราจำเป็นต้องเปลี่ยนวิธีทำเกษตรกรรม ต้องลดการใช้ระบบเกษตรกรรมที่ทำลายดินด้วยการใช้เครื่องจักรขนาดใหญ่และสารเคมีเพื่อการเกษตรอย่างไม่มีความรับผิดชอบต่อสิ่งมีชีวิตในดินและระบบนิเวศแวดล้อม ลดการเลี้ยงปศุสัตว์ที่ใช้พื้นที่ขนาดใหญ่ซึ่งส่งเสริมการทำลายป่าไม้และทำให้ดินเสื่อมโทรม เราต้องหยุดการบุกรุกทำลายป่าไม้ ลดการทำให้ป่าเสื่อมโทรม และจำเป็นต้องหาวิธีเพิ่มผลผลิตการเกษตรบนที่ดินที่ใช้ทำการเกษตรที่มีอยู่ในปัจจุบัน หาระบบเกษตรกรรมที่ยั่งยืนที่สามารถผลิตอาหารได้เพียงพอสำหรับประชากรโลกที่กำลังเพิ่มจำนวนมากขึ้นทุกวัน ตลอดจนมีวิธีการฟื้นฟูดินที่เสื่อมโทรมและเสียหายให้กลับมีความอุดมสมบูรณ์ โดยเร็ว เพื่อให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการปลูกพืชอาหารหรือพืชพลังงานเพิ่มขึ้น รวมทั้งสามารถช่วยลดปัญหาจากภาวะโลกร้อนได้อีกด้วย

?อาหารที่ผลิตในภูมิภาคเอเซียแปซิฟิกส่วนใหญ่ผลิตโดยเกษตรกรรายย่อย ดังนั้นเพื่อความมั่นคงด้านอาหารในระยะยาว…ภาครัฐควรพิจารณาให้การสนับสนุนอย่างจริงจังกับการมีส่วนร่วมของเกษตรกรรายย่อยในการปฏิวัติเขียวเพื่อการผลิตอาหารแนวใหม่ ที่ให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการเพิ่มศักยภาพในการผลิตอาหารของเกษตรกรรายย่อยที่ทำการผลิตด้วยระบบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม?

– UN-ESCAP: เกษตรกรรมยั่งยืนและความมั่นคงด้านอาหารในเอเซียและแปซิฟิก

วิธีทำการเกษตรของระบบเกษตรอินทรีย์พลังชีวภาพ สามารถฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของดินด้วยวิธีธรรมชาติ ที่เร็วกว่ากระบวนการธรรมชาติถึง 60 เท่า และสามารถเพิ่มผลผลิตอาหารต่อพื้นที่ได้มากขึ้น 2-6 เท่าของเกษตรเคมี โดยสามารถลดการพึ่งพิงทรัพยากรจากภายนอกระบบได้โดยสิ้นเชิงในระยะยาว ผลผลิตที่เพิ่มขึ้นสามารถเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร และการลดการใช้ทรัพยากรจากภายนอกระบบก็เป็นการลดต้นทุนการผลิต ซึ่งเป็นการเพิ่มรายได้อีกวิธีหนึ่ง และเนื่องจากวิธีการทำเกษตรอินทรีย์พลังชีวภาพไม่มีการใช้เครื่องจักรในการทำเกษตร แต่เน้นการใช้แรงงานเป็นหลัก ทำให้ไม่ต้องมีต้นทุนเพื่อซื้อเครื่องจักร จึงนับเป็นระบบการผลิตอาหารที่ยั่งยืน เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และเหมาะอย่างยิ่งสำหรับเกษตรกรรายย่อย

จากการวิจัยระยะเวลา 6 ปี ระหว่างปี 2515-2520 ที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด (Standford Univesity) ในสหรัฐอเมริกา โดยใช้วิธีการเกษตรชีวภาพเข้มข้น (Biointensive) ซึ่งเป็นหนึ่งในวิธีการหลักที่รวมเป็นระบบเกษตรอินทรีย์พลังชีวภาพ พิสูจน์ให้เห็นว่าการทำเกษตรวิธีนี้โดยใช้แรงงานคน 1 คนในพื้นที่ 1.25 งาน สามารถสร้างได้ 5,000-20,000 ดอลล่าร์สหรัฐฯ/คน/ปี (ราคาในสหรัฐฯ เมื่อ 33 ปีก่อน) หรือราว 520,000-2,080,000 บาท/ไร่/ปี การทดลองยังพิสูจน์ให้เห็นอีกว่าวิธีการนี้สามารถปลูกอาหารพอเลี้ยงคนกินมังสะวิรัต 1 คนได้ตลอดทั้งปีโดยใช้พื้นที่เพียง 65 ตร.ว. การทดลองลักษณะเดียวกันของโครงการ Biosphere II ในมลรัฐอาริโซนา สหรัฐอเมริกาหลายปีถัดมาใช้พื้นที่ 80 ตร.ว. (ตร.ว.) ในการปลูกอาหารสำหรับเลี้ยงคน 1 คนตลอดทั้งปี ซึ่งเป็นพื้นที่ขนาดเดียวกับที่ทดลองในทวีปอัฟริกา หรือใช้พื้นที่เพียง 1/6-1/13 ของการทำเกษตรเคมี ซึ่งหมายความว่าวิธีทำการเกษตรแบบนี้สามารถให้ผลผลิตที่สูงกว่าเกษตรเคมี 6-13 เท่า การทดลองในประเทศอาร์เจนตินาเมื่อปี 2539 โดย CIESA ใช้แรงงานเกษตรกร 1 คนทำงาน 35 ชั่วโมง/สัปดาห์ บนพื้นที่ 200 ตร.ว. สามารถปลูกอาหารเลี้ยงสมาชิกครอบครัวจำนวน 4 คนได้ร้อยละ 60-80 และมีรายได้จากการขายผลผลิตพอเลี้ยงตัวเองและครอบครัวได้1

นอกจากผลผลิตที่เพิ่มขึ้นของระบบเกษตรอินทรีย์พลังชีวภาพจะช่วยเพิ่มรายได้ให้เกษตรกรแล้ว ยังถือเป็นการทดแทนผลผลิตที่จะลดลงจากผลกระทบของภาวะโลกร้อน ซึ่งจะช่วยเพิ่มความมั่นคงด้านอาหารให้กับประชาคมโลกได้ ตลอดจนการใช้น้ำที่สามารถลดลงเหลือเพียงร้อยละ 12-33 ของน้ำที่ใช้ในการทำเกษตรเคมี นับเป็นการเตรียมพร้อมเพื่อรับมือกับปัญหาภัยแล้งที่เป็นผลจากสภาพภูมิอากาศแปรปรวน นอกจากนี้ พืชที่ปลูกในดินที่อุดมสมบูรณ์จะแข็งแรง สามารถทดทานต่อการขาดน้ำในหน้าแล้ง หรือมีน้ำมากเกินไปในหน้าฝน ลำต้นที่แข็งแรงยังช่วยให้ต้นพืชสามารถทนกับแรงลมจากพายุฝนได้

ประเด็นสำคัญที่น่าสนใจอีกประการคือ ดินที่อุดมสมบูรณ์สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนจกจากดินสู่อากาศ และยังสามารถดูดคาร์บอนจากอากาศมากักเก็บไว้ในดินได้มากกว่าที่ปล่อยออกไปด้วย (Carbon negative)

แต่เพราะเกษตรกรรมแบบเคมีเป็นต้นต่อสำคัญของก๊าซเรือนกระจกจากภาคการเกษตร จึงทำให้การเกษตรถูกมองข้ามและไม่เห็นคุณค่าในฐานะที่เป็นเครื่องมือที่จะช่วยแก้ปัญหาภาวะโลกร้อน ข้อมูลจากการวิจัยต่อเนื่องนานกว่า 30 ปีของสถาบันโรเดล (Rodale Institute)2 ชี้ชัดว่า การดูดซับคาร์บอนจากอากาศของระบบเกษตรกรรมอินทรีย์แบบยั่งยืน มีศักยภาพสูงในการลดผลกระทบของภาวะโลกร้อนโดยไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่อผลผลิตทางการเกษตรหรือรายได้ของเกษตรกรแต่อย่างใด ผลการวิจัยที่ทำซ้ำหลายครั้งยืนยันว่า หากสามารถเปลี่ยนพื้นที่ทำการเกษตรแบบกระแสหลักบนโลกนี้ทั้งหมดราว 14 ล้าน ตร.กม. (8,750 ล้านไร่) ให้เป็นระบบเกษตรอินทรีย์แบบยั่งยืนแล้ว จะสามารถดูดซับคาร์บอนจากชั้นบรรยากาศในปัจจุบันได้เกือบร้อยละ 40 ดินที่ยิ่งมีความอุดมสมบูรณ์มาก จะยิ่งมีประสิทธิภาพในการดูดซับคาร์บอนได้มาก ดังนั้นประสิทธิภาพในการฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของดินของระบบเกษตรอินทรีย์พลังชีวภาพ จึงอาจทำให้ระบบเกษตรอินทรีย์พลังชีวภาพเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพที่สุดที่มนุษย์เรามีอยู่ สำหรับต่อสู่กับปัญหาวิกฤตทั้งหลายที่โลกกำลังเผชิญอยู่ซึ่งมีสาเหตุมาจากการทำเกษตรแบบเคมีอุตสาหกรรม เป็นการปฏิวัติขียวแนวใหม่ที่สามารถเป็นคำตอบและทางออกสำหรับปัญหาสภาพภูมิอากาศแปรปรวน รวมทั้งยังให้ผลพวงที่เป็นประโยชน์กับสิ่งแวดล้อมอีกมหาศาลด้วย

นอกจากนี้ เกษตรอินทรีย์พลังชีวภาพยังส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกพืชเพื่อนำมาทำปุ๋ยหมักใช้เอง และเนื่องจากพืชที่นำมาใช้ทำปุ๋ยหมักส่วนใหญ่จะมีลำต้นที่สูงและใหญ่กว่าพืชผักทั่วไป ซึ่งสามารถดูดซับคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ไว้ได้มากกว่า การปลูกพืชเหล่านี้จึงช่วยดูดคาร์บอนจากอากาศมาเก็บไว้ในลำต้นและในดินได้มากขึ้น ประกอบกับประสิทธิภาพการให้ผลผลิตต่อพื้นที่ของเกษตรอินทรีย์พลังชีวภาพที่สูงกว่าเกษตรเคมีถึง 4 เท่า ทำให้วิธีการปลูกพืชด้วยระบบเกษตรอินทรีย์พลังชีวภาพสามารถดูดซับคาร์บอนจากชั้นบรรยากาศโลกได้มากกว่าวิธีทำการเกษตรกระแสหลักหรือเกษตรอินทรีย์ทั่วไปที่แพร่หลายกันอยู่ในปัจจุบัน

ถึงแม้ระบบเกษตรอินทรีย์พลังชีวภาพจะสามารถนำไปใช้กับการทำเลี้ยงปศุสัตว์ก็ตาม แต่ระบบนี้จะเน้นการผลิตพืชผักผลไม้ที่มีสารอาหารครบสมบูรณ์ เพื่อลดการใช้พื้นที่ในการผลิตอาหารเพื่อเลี้ยงตัวเอง ดังนั้นระบบนี้จึงไม่สนับสนุนการเลี้ยงปศุสัตว์ขนาดใหญ่ แต่หากเป็นการเลี้ยงภายในครัวเรือนทั้งเพื่อเป็นอาหารหรือเป็นสัตว์เลี้ยง ก็สามารถจัดการให้เป็นส่วนหนึ่งของระบบได้ การทำฟาร์มปศุสัตว์ขนาดใหญ่นอกจากทำให้เสียทั้งพื้นที่หน้าดินเพื่อการเพาะปลูกแล้วยังเป็นการทำลายโครงสร้างของดินอย่างร้ายแรง เพราะการย่ำเหยียบดินของฝูงสัตว์และการกินหญ้าหรือดึงหญ้าจากดินขณะกินล้วนเป็นการทำให้ดินอัดแน่นมากขึ้น ดังนั้นแทนที่จะนำฟางไปเลี้ยงสัตว์ซึ่งทำให้เกิดก๊าซมีเทนซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจกมากขึ้น ฟางเหล่านั้นสามารถกลับคืนสู่ดินในรูปของปุ๋ยหมัก การนำเศษซากพืชมาทำปุ๋ยหมักเป็นการนำคาร์บอนกลับคืนสู่ดิน อินทรีย์วัตถุที่ใส่กลับคืนสู่ดินส่วนใหญ่จะสามารถย่อยสลายได้หมดในเวลาเพียงไม่กี่ปี จะมีเพียงบางชนิดเท่านั้นที่ย่อยสลายช้าและสามารถคงอยู่ได้หลายร้อยหรือหลายพันปี ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการเติมคาร์บอนให้กับดินที่ใช้ทำการเพาะปลูกมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ทุกปี โดยเฉพาะในภูมิอากาศเขตร้อน ทั้งเพื่อการบำรุงดินและเพื่อดึงคาร์บอนออกจากชั้นบรรยากาศโลกกลับไปเก็บไว้ในดินอย่างต่อเนื่อง

โดยปกติ ดินในป่าธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์จะมีอินทรีย์สารอยู่ราวร้อยละ 6-10 ดินในเขตร้อนที่จัดว่าอุดมสมบูรณ์เพื่อการเกษตรควรมีอินทรีย์วัตถุผสมอยู่ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 3 (ร้อยละ 4-6 ในเขตอบอุ่น)3 แต่ดินในไร่เกษตรเคมีส่วนใหญ่จะมีอินทรีย์วัตถุอยู่เพียงราวร้อยละ 1-2 เป็นอย่างมาก อินทรีย์วัตถุในดินเหล่านี้เป็นตัวกักเก็บคาร์บอนในดิน ประมาณว่าดินทั้งหมดในโลกนี้สามารถกักเก็บคาร์บอนได้ราว 1.74 ล้านล้านตัน มากกว่าปริมาณที่ต้นไม้สามารถกักเก็บไว้ได้ถึง 2 เท่าของ (672,000 ล้านตัน)4 ดินที่มีการดูแลจัดการอินทรีย์วัตถุอย่างถูกต้อง สามารถเปลี่ยนก๊าซเรือนกระจกให้เป็นสารอาหารของพืชได้ ดินที่มีคาร์บอนอยู่มากสามารถกักเก็บน้ำเพื่อหล่อเลี้ยงต้นพืชให้มีสุขภาพดีกว่า รวมทั้งทนทานต่อความแห้งแล้ง ตลอดจนโรคพืชและแมลงศัตรูพืชได้ดีกว่าด้วย

การเพิ่มอินทรีย์วัตถุให้ดินมากขึ้น 1.5 เท่า สำหรับดินในภูมิภาคเขตร้อนชื้น (เพิ่มจากร้อยละ 1 เป็นร้อยละ 2.5) และเพิ่มขึ้น 3 เท่าสำหรับดินในภูมิภาคเขตอบอุ่น (เพิ่มจากร้อยละ 1 เป็นร้อยละ 4) ในชั้นดินลึก 1 ฟุต (ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำได้โดยง่ายในระบบเกษตรอินทรีย์พลังชีวภาพ) ดินจะสามารถดูดซับคาร์บอนจากชั้นบรรยากาศให้ลดลงเหลือราว 350 ส่วนต่อล้านส่วน (parts per million-ppm) ตามที่องค์การนาซ่าได้ตั้งเป้าไว้5 หรือเทียบเท่ากับสามารถลดจำนวนรถยนต์บนถนนได้ 1 คันต่อที่ดินทุก 5 ไร่ที่เปลี่ยนมาทำเกษตรอินทรีย์ (คำนวนจากรถยนต์ที่ใช้งานเฉลี่ย 25,000 กม./ปี และกินน้ำมัน 8 กม./ลิตร6)

และท้ายที่สุด เนื่องจากระบบเกษตรอินทรีย์พลังชีวภาพมีการใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิลในกระบวนการผลิตอาหารทั้งหมดเพียงร้อยละ 1-6 ที่ใช้ในระบบเกษตรเคมี จึงสามารถลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ภาคการเกษตรปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศได้อีกทางหนึ่งด้วย หากมีการทำการเกษตรด้วยระบบเกษตรอินทรีย์พลังชีวภาพอย่างกว้างขวาง อาจสามารถลดการปล่อยคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ของภาคการเกษตรลงเหลือเพียงไม่เกินร้อยละ 5 หรือเหลือราว 1 ppm ต่อปี7

ดังนั้น ทุกคนจึงสามารถช่วยเปลี่ยนแปลงโลกได้ หากเราทุกคนร่วมมือกันคนละเล็กละน้อยในการลดการใช้เชื้อเพลิงจากฟอสซิล ช่วยกันดูแลรักษาป่าไม้ที่มีอยู่ ปลูกพืชหรือทำสวนครัวในบ้านด้วยวิธีเกษตรอินทรีย์พลังชีวภาพเพิ่มมากขึ้น และเกษตรกรเปลี่ยนมาทำการเกษตรด้วยระบบเกษตรอินทรีย์พลังชีวภาพ พวกเราจะสามารถลดก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศ ด้วยการดึงคาร์บอนกลับลงมาเก็บไว้ในดิน เปลี่ยนผลกระทบทางลบต่างๆ ที่มีต่อสิ่งแวดล้อม และฟื้นฟูธรรมชาติที่ถูกทำลายไปได้ และนี้จะเป็นปฏิบัติการปฏิวัติเขียวแนวใหม่ของศตวรรษที่ 21

ความท้าทายสู่ความมั่นคงและยั่งยืนด้านอาหาร

กลับสู่ด้านบน

ระบบเกษตรกรรมและอาหารถือเป็นฐานรากของระบบชีวิตของคน ชุมชน และสังคม การสร้างความมั่นคงและยั่งยืนด้านอาหารต้องมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาสุขภาพร่างกาย จิตใจ และปัญญาของมนุษย์ สร้างความเท่าเทียมกันทางสังคม และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นภารกิจสำคัญในยุคที่สังคมไทยและโลกกำลังเผชิญหน้ากับปัญหาวิกฤตในหลายด้านพร้อมๆ กัน ทั้งวิกฤตด้านเศรษฐกิจ วิกฤตด้านพลังงาน วิกฤตด้านอาหาร วิกฤตด้านสุขภาพ และวิกฤตจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เป็นผลจากภาวะโลกร้อน แต่หากประชากรในประเทศมีความมั่นคงและสามารถพึ่งพาตัวเองได้อย่างยั่งยืนในเรื่องอาหารเป็นพื้นฐานแล้ว ปัญหาวิกฤตด้านอื่นๆ ก็จะทุเลาลงหรือได้รับการแก้ไขป้องกันไปด้วย แต่การจะสร้างความมั่นคงและยั่งยืนด้านอาหารได้นั้น ประชากรและผู้บริหารประเทศจำเป็นต้องเปลี่ยนกระบวนทัศน์ด้านความคิด (paradigm shift) สู่แนวคิดตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ โดยเริ่มต้นที่การปฏิวัติเขียวแนวใหม่สู่วิถีเกษตรกรรมยั่งยืน ที่เป็นพื้นฐานวัฒนธรรมอาหารและอาชีพของสังคมไทย

เทคนิควิธีการและเทคโนโลยีต่างๆ ของระบบเกษตรอินทรีย์พลังชีวภาพล้วนมีการวิจัยทดลองและพิสูจน์ให้เห็นว่าเป็นเกษตรกรรมแบบยั่งยืนมาแล้วในหลายประเทศ หลายสภาพแวดล้อมและภูมิอากาศ ซึ่งสามารถใช้เป็นพื้นฐานสำหรับการปรับเปลี่ยนจากระบบเกษตรกรรมที่สร้างผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม มาสู่ระบบเกษตรกรรมที่สามารถฟื้นฟูระบบนิเวศของธรรมชาติได้

แม้แต่ในประเทศไทยเอง ขณะนี้ก็มีกรณีตัวอย่างมากมายที่ได้เริ่มทำเกษตรกรรมด้วยระบบอินทรีย์พลังชีวภาพ ถึงแม้จะยังไม่เต็มรูปแบบก็ตาม ชาวบ้านที่ได้ปรับเปลี่ยนจากการทำเกษตรเคมีมาสู่ระบบเกษตรอินทรีย์ สามารถปลูกข้าวที่ให้ผลผลิตสูงมากกว่า 2 ตัน/ไร่ ซึ่งสูงกว่าผลผลิตข้าวลูกผสมที่ให้ผลผลิตสูงของบริษัทที่ผูกขาดเมล็ดพันธุ์ถึง 2.3 เท่า และสูงกว่าผลผลิตข้าวเฉลี่ยของสหรัฐที่ใช้วิธีเกษตรเคมีแบบอุตสาหกรรมถึง 1.7 เท่า ทั้งที่ไม่ต้องพึ่งพาปุ๋ยเคมีและสารเคมีการเกษตรเลย ใช้เพียงเทคโนโลยีชีววิถีปลูกข้าวในระบบนิเวศนาทาม ใช้ข้าวพันธุ์พื้นเมืองที่คัดพันธุ์เอง และน้ำหมักชีวภาพกับสมุนไพรควบคุมแมลงที่ทำขึ้นเอง8 ซึ่งล้วนเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกษตรกรไทยใช้ปลูกข้าวในอดีต และถูกแทนที่ไปเกือบหมดในปัจจุบันด้วยเกษตรเคมีที่ต้องพึ่งระบบชลประทาน และการปลูกพืชเชิงเดี่ยวด้วยเมล็ดพันธุ์ลูกผสม

ตัวอย่างจากทั่วโลกยืนยันแล้วว่า วิธีการของเกษตรอินทรีย์พลังชีวภาพเป็นวิธีที่ทำได้และเหมาะสมที่จะทำ แต่การตัดสินใจลงมือทำนั้นกลับไม่ใช่เรื่องง่าย การจะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมความเคยชินจากวิธีทำการเกษตรเคมีของเกษตรกรส่วนใหญ่ มาสู่ระบบเกษตรอินทรีย์พลังชีวภาพในระดับประเทศให้เป็นผลสำเร็จนั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลักสองประการ คือ

  1. ความต้องการอย่างแรงกล้าของเกษตรกรเองที่จะเปลี่ยนแปลงระบบการทำการเกษตรของตน
  2. การเปลี่ยนแปลงนโยบายของภาครัฐ เพื่อสนับสนุนเกษตรกรในระหว่างช่วงของการปรับเปลี่ยน

ภาครัฐ โดยเฉพาะกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตลอดจนหน่วยงานทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรและเกษตรกร จำเป็นต้องปรับแก้นโยบายและแนวทางการส่งเสริมการเกษตรและเกษตรกร ลดและในที่สุดเลิกสนับสนุนหรือส่งเสริมการใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีเพื่อการเกษตร โดยเห็นแก่ความอยู่รอดของคนส่วนใหญ่และของโลกมากกว่าประโยชน์ส่วนตน เพิ่มการให้การศึกษาและความรู้กับประชาชนในทุกระดับและภาคส่วนในเรื่องเกี่ยวกับประโยชน์และผลที่จะได้รับจากการทำเกษตรยั่งยืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิธีการของระบบเกษตรอินทรีย์พลังชีวภาพ สร้างเครื่องมือที่จะเป็นแรงจูงใจให้เกษตรกรในวงกว้างปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหันมาทำการเกษตรด้วยระบบเกษตรอินทรีย์พลังชีวภาพ และให้การอบรมวิธีการทำเกษตรอินทรีย์พลังชีวภาพกับเกษตรกรและผู้สนใจ
แนวทางการปรับเปลี่ยนมาทำเกษตรอินทรีย์พลังชีวภาพ

แนวทางการปรับเปลี่ยนมาทำเกษตรอินทรีย์พลังชีวภาพ

กลับสู่ด้านบน

โดยทั่วไป สิ่งที่ท้าทายที่สุดในการปรับเปลี่ยนจากการทำเกษตรกระแสหลักหรือเกษตรที่ใช้สารเคมี มาเป็นเกษตรอินทรีย์ทั่วไปหรือเกษตรอินทรีย์พลังชีวภาพก็ตาม คือการปรับเปลี่ยนวิธีคิดตัวของเกษตรกรเอง เพราะการทำเกษตรอินทรีย์ที่แท้จริงไม่ใช่เป็นเพียงวิธีการเพาะปลูกที่ไม่ใช้สารเคมีเท่านั้น แต่เกษตรอินทรีย์เป็นวิถีการดำรงชีวิตและการทำเกษตรแบบยั่งยืน ถึงแม้เกษตรกรบางรายอาจเปลี่นมาทำเกษตรอินทรีย์เพื่อหวังรายได้ที่เพิ่มขึ้นจากกระแสนิยมผลผลิตอินทรีย์ที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องก็ตาม แต่หากยังไม่มีการปรับเปลี่ยนวิธีคิดและหลักการทำเกษตรให้เป็นระบบอินทรีย์แล้ว ก็คงรักษาความเป็นเกษตรอินทรีย์ได้ยาก และไม่ต้องพูดถึงการทำเกษตรอินทรีย์พลังชีวภาพกันเลย

ในปัจจุบันยังมีเกษตรกรส่วนน้อยที่หันมาทำเกษตรอินทรีย์ เพราะส่วนใหญ่ยังไม่มั่นใจว่าการไม่ใช้สารเคมีการเกษตรในทุกขั้นตอนของการผลิตจะสามารถให้มีผลผลิตที่สร้างรายได้พอเพียงไปใช้หนี้และเลี้ยงครอบครัวได้ หรือยังเคยชินกับความสะดวกสบายในการใช้สารเคมี เนื่องจากวิธีการทำเกษตรอินทรีย์ทั่วไป โดยเฉพาะเกษตรอินทรีย์พลังชีวภาพ เป็นวิธีการทำเกษตรที่ต้องใช้แรงงานและความใส่ใจในการทำและดูแลมากกว่าการทำเกษตรเคมีที่เกษตรกรส่วนใหญ่เคยชิน ดังนั้นหากเกษตรกรที่ทำเกษตรเคมีอยู่เดิมและสนใจจะปรับเปลี่ยนพื้นที่ทำเกษตรมาทำเป็นเกษตรอินทรีย์ แต่ยังไม่แน่ใจในความเป็นไปได้และผลสำเร็จ ขอแนะนำให้เริ่มปรับเปลี่ยนอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยเริ่มด้วยการทำเกษตรอินทรีย์พลังชีวภาพกับพื้นที่บางส่วนก่อน เพื่อจะได้เรียนรู้ลองผิดลองถูก และสั่งสมทักษะไปจนเมื่อทำได้ดีแล้วจึงค่อยๆ ขยายพื้นที่ออกไปจนครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด ต้องหันสังเกตุการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติที่เกิดขึ้นในบริเสณแปลงปลูกให้ดี เพราะการทำเกษตรอินทรีย์ โดยเฉพาะเกษตรอินทรีย์พลังชีวภาพ จำเป็นต้องมีทั้งศาสตร์และศิลป์ ไม่มีสูตรสำเร็จที่ใช้ได้กับทุกสภาพแวดล้อม เกษตรกรจำเป็นต้องทำความเข้าใจหลักการหรือศาสตร์ให้ถูกต้อง และใช้ศิลปะในการนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับสภาพธรรมชาติของแต่ละพื้นที่

สำหรับเกษตรกรที่ทำเกษตรอินทรีย์แบบทั่วไปอยู่ก่อนแล้ว การปรับเปลี่ยนให้มาเป็นระบบเกษตรอินทรีย์พลังชีวภาพจะทำได้ง่ายมากขึ้น โดยเริ่มการปรับเปลี่ยนตอนที่จะปลูกพืชรอบใหม่ด้วยการขุดพรวนดินให้ลึกอย่างน้อย 60 ซม. ถึง 1 เมตร และใส่ปุ๋ยบำรุงดินตามขั้นตอนการเตรียมแปลงปลูกของเกษตรอินทรีย์พลังชีวภาพ ถ้าหากสามารถตรวจดินเพื่อให้ทราบคุณภาพของดินที่เป็นอยู่ ก็จะช่วยให้สามารถใส่ปุ๋ยเพื่อเพิ่มธาตุอาหารที่ขาดในดินได้ถูกต้องมากขึ้น ที่เหลือก็เป็นการดูแลจัดการระบบการเพาะปลูกให้สอดคล้องกับการทำงานของธรรมชาติ หมั่นสังเกตุสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในพื้รที่แปลงปลูก เพื่อจะได้เข้าใจสภาพแสดล้อมและระบบนิเวศของแปลงปลูกแต่ละแปลง

ถึงแม้วิธีการของระบบเกษตรอินทรีย์พลังชีวภาพจะเน้นการทำเกษตรเพื่อพึ่งพาตัวเองเป็นหลัก ส่วนเกินจึงนำไปขายสร้างรายได้ จึงเสริมได้ดีกับวิถีการดำเนินชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบกับวิธีการของระบบเกษตรอินทรีย์พลังชีวภาพจะเน้นการใช้พื้นที่และทรัพยากรน้อย แต่ให้ผลผลิตต่อพื้นที่มากทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ จึงเป็นระบบการทำเกษตรกรรมที่เหมาะอย่างยิ่งสำหรับเกษตรกรรายย่อย หรือเกษตรกรส่วนใหญ่ในประเทศไทยที่มีพื้นที่ทำการเกษตรที่ไม่ใหญ่มาก

แต่กระนั้น หากมีความเข้าใจหลักการพื้นฐานของระบบเกษตรอินทรีย์พลังชีวภาพอย่างดีแล้ว ก็สามารถนำระบบการทำเกษตรกรรมวิธีนี้ไปปรับใช้กับการจัดการพื้นที่เกษตรแปลงใหญ่ในธุรกิจการเกษตรได้ และสมควรอย่างยิ่งที่ผู้ประกอบการธุรกิจภาคการเกษตรจะปรับเปลี่ยนจากวิธีการทำเกษตรแบบเคมีเชิงอุตสาหรรมมาใช้ระบบเกษตรอินทรีย์พลังชีวภาพ เพราะการปลูกพืชเชิงเดียวในพื้นที่กว้างด้วยวิธีเกษตรเคมีตามที่เป็นอยู่ เป็นตัวการสำคัญในการทำลายดินอย่างรวดเร็ว และสร้างก๊าซเรือนกระจกที่เป็นสาเหตุของภาวะโลกร้อนด้วย แต่ก็จำเป็นต้องมีการศึกษาวิจัยหาวิธีการทำเกษตรอินทรีย์พลังชีวภาพที่เหมาะสมสำหรับพืชเศรษฐกิจแต่ละประเภท และให้สอดคล้องกับกระบวนการผลิตเชิงอุตสาหกรรมที่ทำอยู่

?…อย่ามองและจัดการปัญหาสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการใช้พลังงาน เป็นเรื่องที่แยกขาดโดยสิ้นเชิงกับการลดความยากจนและการบรรลุเป้าหมายแห่งสหัสวรรษ ถ้าเรามองข้ามและละเลยสิ่งพื้นฐานที่สุดของชีวิตบนโลกใบเดียวที่เราต้องอาศัยอยู่ เราจะไม่มีทางได้เห็นการพัฒนาที่ยั่งยืนเลย?

– เฮเลน คลาร์ก. ผู้อำนวยการบริหาร UNDP

 

?การทำเกษตรอินทรีย์นำไปสู่การฟื้นฟูสภาพแวดล้อมธรรมชาติอย่างมากมาย รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพในการกักเก็บน้ำของดิน เพิ่มระดับน้ำใต้ดิน … ลดการกัดเซาะของดิน พร้อมไปกับการเพิ่มขึ้นของอินทรีย์วัตถุในดิน นำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพการกักเก็บคาร์บอนของดิน และเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ?

– UNEP-UNCTAD: Organic Agriculture and Food Security in Africa

รวบรวมและเรียบเรียง ? ทัศนีย์ เศรษฐ์บุญสร้าง
tatsanee@NawaChiOne.org
? สงวนลิขสิทธิ์
อนุญาตให้ใช้เพื่อการศึกษาที่ไม่เป็นธุรกิจ แต่ขอให้อ้างอิงแหล่งที่มาด้วย

กลับสู่ด้านบน

????????????????????????????????

เชิงอรรถ

1 John Jeavons (2002), idib.
2 Rodale Institute, Regenerative Organic Farming: A Solution to Global Warming, 2008
3 Rodale Institute, 2008, ibid.
4 Ibid.
5 Climate Change and Grow Biointensive, Ibid.
6 คำนวนจากตัวเลขในรายงานของ Rodale Institute, Ibid.
7 Rodale Institute, 2008, ibid.
8 มูลนิธิชีววิถี, Ibid.

เกษตรอินทรีย์พลังชีวภาพ ? บทที่ 3: หลักสำคัญ 3 ประการ ของระบบเกษตรอินทรีย์พลังชีวภาพ

บทความ: เกษตรอินทรีย์พลังชีวภาพ

ดาวน์โหลด PDF


สารบัญ

————————————————————————————————

?เกษตรอินทรีย์ทำให้เกิดการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมธรรมชาติอย่างมากมาย รวมถึง เพิ่มความสามารถในการกักเก็บน้ำของดิน เพิ่มระดับน้ำใต้ดิน … ลดการกัดเซาะของดิน ตลอดจนเพิ่มอินทรีย์วัตถุในดิน ซึ่งนำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพของดินในการดูดซับคาร์บอนจากอากาศ รวมทั้งเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ?

– UNEP-UNCTAD: เกษตรกรรมอินทรีย์และความมั่นคงด้านอาหารในอัฟริกา

การทำเกษตรกรรมแบบเกษตรอินทรีย์พลังชีวภาพเป็นระบบการผลิตอาหารเพื่อมุ่งเลี้ยงตัวเองเป็นหลักและเพื่อการค้าเป็นรอง มีการดูแลระบบการผลิตแบบองค์รวม โดยให้ความสำคัญหลักกับการสร้างและรักษาระบบนิเวศในแปลงเพาะปลูกให้คล้ายคลึงกับระบบนิเวศธรรมชาติของป่า เป็นกระบวนการเยียวยารักษาความอุดมสมบูรณ์และโครงสร้างของดิน คืนแร่ธาตุและสารอาหารพืชกลับสู่ดิน ฟื้นฟูและบำรุงดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ลักษณะเดียวกับดินในป่าธรรมชาติ ไม่ใช้สารเคมีการเกษตรและหลีกเลี่ยงการใช้เครื่องจักรหนักในกระบวนการผลิต อาศัยแรงงานคนเป็นหลัก และต้องหมั่นใส่ใจดูแลและช่างสังเกตุในทุกขั้นตอนของกระบวนการผลิต ซึ่งจัดได้ว่าเป็นวิธีทำการเกษตรที่ต้องใช้ความประณีต ผู้ทำต้องมีใจรักในงาน และซื่อสัตย์ต่อตัวเองในการดำเนินงานตามหลักการและขั้นตอนอย่างจริงใจ

หลักการสำคัญของระบบเกษตรอินทรีย์พลังชีวภาพ มีด้วยกัน 3 ประการ ดังต่อไปนี้

  1. รู้จักพอเพียงและพึ่งพาตนเอง โดยมีธรรมะเป็นพื้นฐาน
  2. ฟื้นฟูบำรุงดินให้มีสภาพเหมือนดินในป่า
  3. จัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการทำงานของกระบวนการธรรมชาติ

1. รู้จักพอเพียงและพึ่งพาตนเอง โดยมีธรรมะเป็นพื้นฐาน

กลับสู่ด้านบน

เนื่องจากระบบเกษตรกรรมและการผลิตอาหาร ถือเป็นฐานรากของระบบชีวิตของคน ชุมชน และสังคม ตลอดไปจนถึงความมีอยู่ของสิ่งมีชีวิตบนโลกใบนี้ ระบบเหล่านี้จึงควรเป็นไปเพื่อเกื้อกูลให้มนุษย์ทั้งหมดสามารถพัฒนาตนเองไปสู่เป้าหมายสูงสุด คามความเชื่อของแต่ละคน และเนื่องจากการทำเกษตรอินทรีย์พลังชีวภาพเป็นงานที่ต้องลงแรงพอสมควร และต้องให้เวลาเอาใจใส่งานโดยเฉพาะการดูแลดินอย่างดียิ่ง ปัจจัยสำคัญพื้นฐานลำดับแรกที่เกษตรกรต้องมี คือ การรู้จักพอเพียงและพึ่งพาตัวเอง โดนนำธรรมะมาเป็นหลักยึดในการทำงานเกษตร ความจริงแล้ว หลักธรรมะที่เป็นพื้นฐานให้รู้จักพอเพียงและพึ่งพาตัวเอง ซึ่งจำเป็นในการทำการเกษตรอินทรีย์ไม่ว่าระบบใด จะมีสอนกันอยู่ในทุกศาสนา ประเด็นจึงอยู่ที่ความเข้าใจในแก่นของธรรมะเพื่อนำเนื้อหาไปใช้ให้เกิดประโยชน์ จึงถือว่ามีความสำคัญมากกว่าการติดยึดอยู่เพียงที่ชื่อหรือในตัวอ้กษรที่ทำหน้าสื่อความหมายที่แท้จริง แต่ในที่นี้จะขออธิบายด้วยหลักธรรมของพุทธศาสนาเป็นหลัก เพราะพุทธศาสนาถือเป็นรากฐานของวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของไทย สำหรับชาวพุทธแล้ว ธรรมะที่ถือเป็นพื้นฐานจำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตตามวิถีพอเพียง เน้นการพึ่งพาตัวเอง และจำเป็นสำหรับการทำเกษตรอินทรีย์พลังชีวภาพ คือ อิทธิบาท 4 และศีล 5


1.1 อิทธิบาท 4

อิทธิบาท 4 ถือเป็นหลักธรรมพื้นฐานสู่ความสำเร็จ ไม่เพียงสำหรับการทำเกษตรอินทรีย์พลังชีวภาพเท่านั้น แต่สำหรับการทำทุกสิ่งในชีวิต ประกอบด้วย

  • ฉันทะ (ความพอใจ) คือ พอใจรักในงานที่ทำ หากเริ่มต้นการทำงานไม่ว่าจะเป็นงานใดๆ โดยไม่ชอบหรือไม่รักในงานแล้ว ก็คงจะประสบความสำเร็จในงานนั้นได้ยาก และความรักในงานที่ทำจะช่วยให้เราเข้าใจเป้าหมายที่แท้จริงของงานที่ทำ จึงสามารถทำงานนั้นๆ ได้อย่างสัมฤทธิ์ผล ในการทำเกษตรอินทรีย์พลังชีวภาพ เป้าหมายถึงแม้จะเป็นวิธีทำการเกษตรที่ให้ผลผลิตสูงได้ก็จริง แต่เป้าหมายหลักไม่ได้อยู่ที่การทำเพื่อขายให้ได้กำไร หรือความร่ำรวย แต่เป็นการบำรุงดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ ดูแลเอาใจใส่รักษาชีวิตนับล้านนับพันที่เป็นเพื่อนรักในดินทั้งหลายที่ช่วยทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์ ส่วนผลผลิตที่ดีที่ได้มาจากความอุดมสมบูรณ์ของดินถือเป็นผลพวงที่ได้รับ สำหรับผู้ที่รับจ้างเขาทำงาน ไม่ได้เป็นเจ้าของไร่หรือสวนที่ทำอยู่ ก็ควรมองว่าเป้าหมายเหล่านี้เป็นเป้าหมายหลักในการมารับจ้างใช้แรงงานช่วยทำการเกษตรในระบบนี้ ไม่ใช่ทำเพื่อหวังรับเงินค่าแรงโดยทำแบบเพียงขอให้ได้ทำ ให้เวลาหมดๆ ไปในแต่ละวันเพื่อจะได้รับค่าตอบแทน
  • วิริยะ (ความเพียร) คือ พากเพียรในการทำงานที่รัก ใส่ใจในหน้าที่ความรับผิดชอบ ทำงานตามแผนอย่างต่อเนื่องระยะยาวเพื่อให้งานบรรลุเป้าหมาย ซึ่งรวมถึงการลงแรงปรับปรุงบำรุงดิน การจัดหาพันธุ์พืชเพื่อปลูก การจัดหาพันธุ์สัตว์เพื่อเลี้ยง ฯลฯ เนื่องจากธรรมชาติทำงานตลอด 24 ชั่วโมง และ 7 วันต่อสัปดาห์ไม่มีวันหยุด เราจะหยุดรดน้ำพืชไป 3 วัน 3 คืนเพราะเป็นช่วงวันหยุดยาว ก็คงทำการเกษตรไม่ประสบผลสำเร็จอย่างแน่นอนไม่ว่าจะเป็นการเกษตรวิธีใดก็ตาม เพราะพืชและจุลินทรีย์เพื่อนรักในดินไม่ได้หยุดทำงานไปกับเราด้วย และยังต้องการน้ำ ต้องการอาหาร ต้องการบ้านที่มีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการอาศัยดำรงชีวิตอยู่ ความขยันหมั่นเพียรในงานที่ตนรักจึงไม่ใช่ภาระ แต่กลับเป็นความสุขที่ได้ทำงานที่ใจรัก และมุ่งมั่นฝ่าฟันอุปสรรค์เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการอย่างไม่ย่อท้อ
  • จิตตะ (ความคิด) คือ มีความตั้งใจจดจ่อ เอาใจใส่ในงานที่ทำด้วยความจริงใจ มีวินัยแลรับผิดชอบในการทำงานตามแผนที่ได้วางไว้
  • วิมังสา (ความไตร่ตรองหรือทดลอง) คือ ใช้ปัญญาพินิจพิเคราะห์ พิจารณาตรวจสอบสิ่งที่ทำ เพื่อแก้ไขปรับปรุงให้ดียิ่งๆ ขึ้นเรื่อยๆ เพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศ


1.2 ศีล 5

ศีล คือ ข้อปฏิบัติขั้นพื้นฐานเพื่อควบคุมความประพฤติทางกายและวาจาให้ตั้งอยู่ในความดีงาม มีความปกติสุข เพื่อประโยชน์ขั้นพื้นฐาน คือความสุขและไม่มีการเบียดเบียนกันในสังคม ในบริบทของการทำเกษตรอินทรีย์พลังชีวภาพ ศีล 5 มีบทบาทสำคัญดังนี้

  • ศีลข้อที่ 1 ละเว้นจากการทำร้ายชีวิตอื่น ? การใช้สารเคมีการเกษตรของเกษตรกรที่ทำเกษตรเคมี ทั้งปุ๋ยเคมีและสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ล้วนเป็นการฆ่าชีวิตจุลินทรีย์และสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กนับล้านๆ ที่อาศัยอยู่ในดินและบนดิน ซึ่งสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ส่วนใหญ่แล้วเป็นเพื่อนที่ดีที่มีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการเกษตร แต่เรากลับไปทำร้ายเบียดเบียนชีวิตของเพื่อนที่แสนดีเหล่านี้ด้วยความไม่รู้หรือไม่เท่าทัน
  • ศีลข้อที่ 2 ละเว้นจากการเอาของผู้อื่นมาเป็นของตน ? การเพาะปลูกถือเป็นการนำทรัพยากรหรือแร่ธาตุออกไปจากดิน จึงเป็นการสมควรที่จะนำทรัพยากรเหล่านั้นกลับคืนสู่ดินด้วยเพื่อรักษาความอุดมสมบูรณ์ที่ยั่งยืนของดินตามธรรมชาติ แต่การใช้ปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยอินทรีย์ที่ใช้วัตถุดิบในการผลิตจากที่อื่นมาใส่คืนสู่ดินนั้น ถือเป็นการเอาของที่ควรจะอยู่หรือเป็นของที่อื่นมาใช้ในพื้นที่ของตนเอง ในระบบเกษตรอินทรีย์พลังชีวภาพจะเน้นการปลูกและทำปุ๋ยเองจากวัสดุในพื้นที่ เพื่อนำธาตุอาหารที่เอาออกมาจากดินใส่กลับคืนสู่ดินในพื้นเดียวกัน จึงเป็นการลดหรือเลิกนำทรัพยากรจากที่อื่นมาใช้
  • ศีลข้อที่ 3 ละเว้นจากการละเมิดกามหรือผิดผู้ผัวตัวเมียผู้อื่น ? โดยธรรมชาติของพืช การสืบเผ่าพันธุ์เกิดขึ้นโดยการผสมเกสรตามธรรมชาติ ซึ่งเป็นกระบวนการคัดเลือกพันธุ์ของธรรมชาติ การสร้างเมล็ดพันธุ์ลูกผสมหรือการตัดแต่งพันธุ์กรรม (จีเอ็มโอ) จึงเป็นเรื่องผิดธรรมชาติ และส่งผลเสียต่อสมดุลของธรรมชาติ ทำให้ปัจจุบันพันธุ์พืชกว่าร้อยละ 95 ต้องสูญพันธุ์ไปจากโลก เพราะมนุษย์ทำให้เกิดการผิดศีลข้อ 3 ในหมู่พืช เกษตรอินทรีย์พลังชีวภาพจึงเน้นการใช้และเก็บเมล็ดพันธุ์ที่ได้จากการผสมเกษรตามธรรมชาติเท่านั้น
  • ศีลข้อที่ 4 ละเว้นจากการพูดเท็จ ? ผลผลิตเกษตรอินทรีย์กำลังเป็นที่ต้องการมากขึ้นในตลาดโลก ทำให้ผลผลิตอินทรีย์มีราคาสูงกว่าผลผลิตเคมี แต่เนื่องจากการทำเกษตรอินทรีย์มีความซับซ้อนและต้องใช้แรงงานรวมทั้งความอดทนมากกว่าเกษตรเคมี การตรวจสอบในระบบการรับรองมาตรฐานผลผลิตเกษตรอินทรีย์ไม่อาจทำได้ตลอด 24 ชั่วโมง เกษตรกรจึงจำเป็นต้องมีความซื่อสัตย์ ไม่แอบใช้สารเคมีแล้วแจ้งเท็จว่าเป็นผลผลิตเกษตรอินทรีย์ เพื่อให้ขายได้ในราคาที่สูงขึ้น
  • ศีลข้อที่ 5 การละเว้นจากการเสพสิ่งเสพติด ? คนที่ติดเหล้าติดยาจะขาดสติ ทำให้ง่ายที่จะทำผิดศีล 4 ข้อข้างต้น และยากที่จะทำการเกษตรแบบประณีตได้สำเร็จ ดังนั้น ศีลข้อ 5 จึงถือเป็นพื้นฐานสำคัญที่สุดของการปฏิบัติเพื่อรักษาธรรมะข้ออื่นๆ ในการดำรงชีวิตอย่างเป็นปกติสุข

ตัวอย่างของการใช้ธรรมะเป็นพื้นฐานในการทำเกษตรอีกรูปแบบหนึ่ง มีให้เห็นได้จากปราชญ์พื้นบ้านของไทยท่านหนึ่ง คือ คุณลุงฉลวย แก้วคง ขณะที่นักวิชาการเกษตรและบริษัทยักษ์ใหญ่ในวงการเกษตรพยายามศึกษาวิจัยเพื่อหาทางเพิ่มผลผลิตต่อไร่ และสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรเป็นเป้าหมายสูงสุด แต่ปราชญ์ชาวบ้านอย่างคุณลุงฉลวย กลับมองเห็นแก่นแท้ของการทำการเกษตร และได้ตั้งชื่อหลักการใช้ชีวิตการเป็นเกษตรกรของท่านว่า ?พุทธเกษตรกรรม? หรือ ?ประมง-นา-สวน?1 โดยมองการทำการเกษตรของท่านว่าเป็นไปเพื่อ

  1. มนุษย์สมบัติ เพราะวิถีเกษตรกรรมของท่านสามารถตอบสนองให้ข้าวปลาอาหารเลื้ยงตัวท่านและครอบครัวได้อย่างเพียงพอตามพื้นฐานของมนุษย์
  2. สวรรค์สมบัติ เมื่อถึงพร้อมด้วยมนุษย์สมบัติ ที่นาที่มีอยู่จึงเป็นเหมือนสรวงสวรรค์ กระต๊อบที่อยู่อาศัยเป็นเหมือนวิมาน และมีภรรยาเป็นนางฟ้าอยู่ข้างกาย
  3. นิพพานสมบัติ เมื่อจิตใจสงบมีความสุขท่ามกลางธรรมชาติ ย่อมเกื้อกูลแก่การเจริฐสติ เมื่อนั้นนิพพานสมบัติก็เป็นที่หมายของชีวิต

ยังมีปราชญ์ชาวบ้านไทยอีกหลายท่านที่มีปรัชญาการทำงานเกษตรและการดำเนินชีวิตที่ยึดหลักธรรมะเป็นพื้นฐาน หรือแม้แต่หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงก็ไม่สามารถสัมฤทธิ์ผลได้โดยขาดธรรมะเป็นเครื่องนำและยึดเหนียวจิตใจ

2. ฟื้นฟูบำรุงดินให้มีสภาพเหมือนดินในป่า

กลับสู่ด้านบน

การดูแลรักาให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์หรือมีสุขภาพที่ดี มีความหมายมากกว่าการไม่มีโรคและแมลงศัตรูพืชมารบกวน และกรณีหลังจะเกิดได้ก็ต่อเมื่อมีกรณีแรกหรือมีดินที่มีสุขภาพดีแล้วเท่านั้น สิ่งมีชีวิตที่มีสุขภาพดีทั้งหลายจะมีดำเนินกิจกรรมของตัวเองตามหน้าที่ที่ถูกออกแบบมาโดยธรรมชาติ และทำงานประสานร่วมมือกับพันธมิตรที่ถูกต้องเท่านั้น ดังนั้น ดินที่อุดมสมบูรณ์และมีสุขภาพดี จะหมายถึง ดินที่มีสิ่งมีชีวิตต่างๆ ที่ควรมีในดิน ทำหน้าที่ของตนเองที่ควรทำตามธรรมชาติเพื่อสนับสนุนการเจริญเติบโตของพืช ซึ่งมีความต้องการแตกต่างกันในแต่ละชนิด ดังนั้นจึงไม่มีสูตรสำเร็จขององค์ประกอบของสิ่งมีชีวิตในดินที่สามารถสร้างสภาพแวดล้อมให้เหมาะกับพืชทุกชนิด แต่โดยทั่วไป การมีจุลินทรีย์หลากหลายชนิดอยู่รวมกันในดินถือเป็นหัวใจของการมีดินที่มีอุดมสมบูรณ์เพื่อให้เกิดพืชที่มีสุขภาพดี

การฟื้นฟูและดูแลบำรุงรักษาให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์เหมือนดินในสภาพแวดล้อมของป่า จึง ถือเป็นหัวใจสำคัญและเป้าหมายหลักของการทำเกษตรอินทรีย์และเกษตรธรรมชาติทุกประเภท เพียงแต่จะแตกต่างกันในรายละเอียดด้านเทคนิควิธีการเท่านั้น และในระบบเกษตรอินทรีย์พลังชีวภาพจะมีหลักการฟื้นฟูบำรุงดิน 5 ข้อ ดังนี้


2.1 เตรียมดินเริ่มต้นโดยขุดพรวนลึก 1 เมตร

การเตรียมแปลงเพาะปลูกของระบบเกษตรอินทรีย์พลังชีวภาพจะเน้นการขุดพรวนดินให้ลึกสำหรับการเตรียมดินครั้งแรก อย่างน้อย 60 ซม. ถึง 1 เมตร หรือ ลึกเป็น 2 หรือ 3 เท่าของวิธีทำการเกษตรเคมีหรือเกษตรอินทรีย์โดยทั่วไปที่มักพรวนดินลึกราว 15-30 ซม. เท่านั้น และต้องทำการขุดพรวดอย่างถูกวิธีจึงจะเกิดประโยชน์มากกว่าโทษ การขุดพรวนดินให้ลึกนี้เป็นวิธีที่ปฏิบัติกันมาของอารยธรรมโบราณทั่วโลก เช่น ของชาวจีนเมื่อกว่า 5,000 ปีก่อน ของชาวกรีกโบราณเมื่อกว่า 2,000 ปีมากแล้ว และของชาวมายันเมื่อ 1,000 กว่าปีก่อน และต่อมามีการนำมาใช้ในระบบเกษตรเข้มข้นของฝรั่งเศส (French Intensive Garden) การพัฒนาวิธีการขุดพรวนดินให้ลึกเกิดจากการมีพื้นที่ทำการเพาะปลูกจำกัด เกษตรกรจึงต้องหาเทคนิควิธีการเพิ่มผลผลิตจากที่ดินแปลงเล็กที่มีอยู่

ในไร่หรือสวนเกษตรโดยทั่วไป เรามักพบเห็นการปลูกพืชเรียงกันเป็นแถวยาว และมีทางเดินระหว่างแถวของพืชที่ปลูกเพื่อให้เกษตรกรสามารถเดินเข้าไปรดน้ำ เก็บวัชชพืชและผลผลิตรอบๆ ต้นพืชที่ปลูกได้ ดินในแปลงปลูกจึงถูกเหยียบย่ำและกดทับที่ละน้อยอย่างต่อเนื่อง และเริ่มอัดแน่นลึกลงไปถึงรากของต้นพืชที่ปลูกอยู่ในแปลง ทำให้เกษตรกรต้องขุดพรวนดินอยู่เป็นประจำ หากพิจารณาลักษณะเช่นนี้ จะเห็นได้ไม่ยากว่าเป็นการสูญเสียพลังงานในการขุดพรวนดิน เพราะเมื่อขุดพรวนไปแล้วก็กลับไปย่ำให้ดินแน่นแข็งเหมือนเดิมอีก ทำให้ต้องมีการขุดพรวนดินอยู่เสมอเป็นระยะเพราะการย่ำเหยียบดินของเราเอง ในระบบเกษตรอินทรีย์พลังชีวภาพเราจึงใช้เทคนิคการยกแปลงเพาะปลูกแบบถาวร โดบทำทางเดินถาวรรอบบริเวณแปลงเพาะปลูก และจะไม่มีการเข้าไปเดินย่ำหรือใช้รถไถเข้าไปบดเหยียบในแปลงปลูกอีกเลยหลังจากขุดพรวนเสร็จแล้ว แปลงเพาะปลูกของระบบเกษตรอินทรีย์พลังชีวภาพจึงมีขนาดกว้างราว 1.2-1.5 เมตร หรือพอที่ผู้ดูแลสามารถเอื้อมมือเก็บผลผลิตตรงกลางแปลงได้จากข้างแปลงทั้งสองด้าน และถ้าหากต้องเข้าไปทำงานภายในบริเวณแปลงปลูก เช่น ทำการขุดพรวนดินครั้งต่อๆ ไป ก็ต้องมีไม้กระดานขนาดความกว้างเท่าความกว้างของแปลงมาวางเป็นแผ่นไม้รองเหยียบ เพื่อกระจายน้ำหนักตัวออกไปที่แผ่นไม้รองเหยียบ แทนที่ จะให้น้ำหนักตัวทั้งหมดกดดินที่เท้าของเราเพียงจุดเดียว (Point load) วิธีนี้ทำให้เราสามารถรักษาความร่วนซุยของดินในแปลงปลูกไว้ และเมื่อผ่านไปนานวันเข้าจะพบได้ว่าการยกแปลงแบบถาวรทำให้สามารถทำงานได้ง่ายขึ้นกว่าวิธีการขุดพรวนและปลูกพืชในแปลงเพาะปลูกแบบทั่วไป ข้อได้เปรียบอีกประการหนึ่งของการทำแปลงถาวรคือความสะดวกในการเติมอินทรีย์วัตถุลงในแปลงปลูก ถึงแม้การขุดพรวนดินเพื่อเตรียมแปลงครั้งแรกอาจต้องใช้เวลาหลายชั่วโมง แต่การขุดพรวนแปลงเดิมในครั้งต่อๆ ไปจะสามารถทำได้ในเวลาเพียง 20 นาที (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมใน คู่มือการเตรียมดินและทำแปลงเพาะปลูก ระบบเกษตรอินทรีย์พลังชีวภาพ)

ประโยชน์ของการขุดพรวนดินให้ลึกสองเท่าก็คือการทำให้อากาศในดินสามารถถ่ายเทได้ดี เมื่อเราขุดพรวนดิน ไม่ว่าจะเป็นการขุดพรวนด้วยวิธีปกติหรือขุดลึกสองเท่า ก็คือการส่งอากาศลงไปในดิน การเติมอากาศให้ดินก็คือเหตุผลหลักที่เราต้องพรวนดิน โดยทั่วไปในแปลงเกษตรที่ใช้ระบบการขุดพรวนหรือไถ่พรวนด้วยรถไถ เราจะได้ชั้นดินด้านบนที่ร่วนซุยลึกราว 15-30 ซม. แต่ลึกลงไปด้านล่างยังคงเป็นชั้นดินที่แน่นแข็งหรืออาจเป็นดินดาน อากาศไม่สามารถผ่านเข้าไปได้ วิธีการขุดพรวนลึกสองเท่าจะทำให้อากาศสามารถลงไปในดินได้ลึกกว่าวิธีการขุดพรวนโดยทั่วไป เพราะจะขุดพรวนถึงชั้นดินดานเพื่อให้อากาศเข้าถึงดินส่วนที่แน่นแข็งชั้นล่างได้ แต่การขุดพรวนดินที่อัดแน่นจนแข็งในครั้งแรกก็เป็นงานที่หนักมากเอาการอยู่

วัตถุประสงค์ของการขุดพรวนดินลึกเป็นสองเท่านี้คือการจัดการกับดินที่อัดแน่นชั้นล่างนั่นเอง การอัดแน่นนี้ค่อยๆ สะสมจากการถูกกดทับด้วยเครื่องจักรหนักหรือการเดินเหยียบย่ำบนดิน ฝนที่ตกหนักหรือการรดน้ำที่กระทบผิวหน้าดินอย่างแรง หรืออะไรก็ตามที่ไปเพิ่มน้ำหนักให้กับดิน การอัดแน่นของดินเป็นผลเสียโดยตรงต่อการเติบโตของต้นพืช เพราะหมายถึงการลดลงของปริมาณอากาศในดิน ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นต่อการหายใจของพืช สัตว์ และจุลินทรีย์ใต้ดิน พืชต้องหายใจเหมือนสัตว์และคนเรา พืชหายใจทั้งที่รากและที่ใบ ในบริเวณที่ดินมีการอัดแน่นอย่างมาก โดยเฉพาะในบริเวณที่ดินมีน้ำขังหรือเปียกชุ่มมาก รากของพืชอาจไม่ได้รับอากาศเพียงพอ เมื่อรากขาดอากาศหายใจ การเติบโตของต้นจะช้าลงหรือหยุดการเจริญเติบโต นอกจากนี้ ดินที่อัดแน่นยังขัดขวางการเจริญเติบโตของราก ทำให้รากต้องออกแรงผลักมากขึ้นในการแทรกทะลวงดินที่แน่นแข็งเพื่อเติบโต เมื่อเราทำดินให้ร่วนซุย รากจะเติบโตได้เต็มที่และอย่างง่ายดาย

นอกจากรากของพืชที่ต้องพึ่งพาอากาศแล้ว ยังมีสัตว์อย่างไส้เดือนและจุลินทรีย์ในดินจำนวนมากที่ต้องการอากาศหายใจเช่นกัน ชีวิตในดินเหล่านี้เป็นผู้รับผิดชอบต่อลักษณะและโครงสร้างของดิน ตลอดจนหมุนเวียนสารอาหารพืชในดิน เราไม่สามารถมีดินที่อุดมสมบูรณ์โดยปราศจากสัตว์ตัวเล็กๆ และจุลินทรีย์ใต้ดินที่หลากหลายเหล่านี้

การขุดพรวนแปลงเพาะปลูกให้ลึกจะทำให้รากของพืชสามารถเติบโตลึกลงไปในดินชั้นล่างเพื่อหาน้ำและธาตุอาหารในดินได้โดยไม่มีดินดานหรือชั้นดินที่อัดแน่นเป็นอุปสรรคขัดขวาง แต่ในแปลงเพาะปลูกที่ยังมีชั้นดินดานอยู่ เมื่อรากเติบโตลงไปถึงชั้นดินที่แน่นแข็งดังกล่าวก็จะเริ่มโตออกทางด้านข้าง จึงต้องมีระยะห่างระหว่างต้นพืชแต่ละต้นให้เพียงพอเพื่อให้รากมีที่เติบโตออกทางด้านข้างไปหาธาตุอาหารและน้ำได้โดยไม่แยกกัน แต่ในแปลงเพาะปลูกที่มีการขุดพรวนดินให้ลึก จะทำให้รากพืชส่วนใหญ่โตลงด้านล่างตามธรรมชาติ และไม่ต้องการพื้นที่ให้รากขยายออกด้านข้างมากนัก ดังนั้นจึงสามารถปลูกพืชให้ชิดกันมากขึ้นได้ และหลักการนี้ถือเป็นหลักสำคัญประการหนึ่งของการทำเกษตรอินทรีย์พลังชีวภาพ เพราะการปลูกพืชได้ชิดกันมากขึ้นย่อมหมายถึงผลผลิตที่เพิ่มขึ้นในพื้นที่ขนาดเล็กลง

แปลงเพาะปลูกที่มีการจัดเตรียมอย่างดีจะมีดินที่ร่วนซุยลึกอย่างน้อย 60 ซม. เพื่อช่วยให้รากของพืชเติบโตตามธรรมชาติได้อย่างสะดวก สามารถดูดซึมธาตุอาหารส่งให้กับส่วนที่เหลือของต้นพืชได้อย่างทั่วถึง น้ำสามารถไหลผ่านดินได้อย่างคล่องตัว และสามารถดึงถอนวัชพืชได้ง่าย รากพืชมีดินที่ร่วนซุยกว่าเพื่อเติบโตลงลึกถึงชั้นดินด้านล่าง ทำให้สามารถปลูกพืชได้มากกว่าในพื้นที่ขนาดเท่ากัน ซึ่งหมายถึงมีผลผลิตที่มากกว่าจากแปลงเกษตรขนาดเล็กกว่า การปลูกลักษณะนี้สามารถให้ผลผลิตมากกว่าวิธีการปลูกแบบใช้เคมีโดยทั่วไปถึง 4-6 เท่า

เป้าหมายของการขุดพรวนลึกสองเท่าคือการสร้าง ?แผ่นฟองน้ำที่มีชีวิต? ในดินที่ลึกอย่างน้อย 60 ซม. และมีช่องว่าง ร้อยละ 50 สำหรับน้ำและอากาศ ? แบ่งสัดส่วนอย่างละครึ่งจะดีที่สุด (ที่เหลืออีกร้อยละ 50 ของดินจะเป็นแร่ธาตุต่างๆ รวมถึงเศษหินและอินทรีย์วัตถุอีกเล็กน้อย) ในแปลงเกษตรที่เพิ่งเริ่มต้นใหม่ ชั้นดินที่เป็นเหมือนแผ่นฟองน้ำนี้อาจมีความหนาหรือลึกเพียง 40-45 ซม. เท่านั้น แต่จุลินทรีย์ ไส้เดือน สิ่งมีชีวิตอื่นในดิน รากพืช และน้ำ จะทำให้แผ่นฟองน้ำหนาหรือลึกเพิ่มมากขึ้นทุกปี

ประโยชน์สำคัญอีกประการที่ได้รับจากดินที่มีอากาศเข้าถึงได้ลึก คือ การซึมผ่านของน้ำจะดีขึ้นเนื่องจากมีช่องว่างในดินจำนวนมากจากความร่วนซุยของดินในแปลงที่ขุดพรวนไว้ลึกสองเท่า เมื่อเรารดน้ำหรือเมื่อฝนตก น้ำจะซึมผ่านลงในดินได้โดยง่ายและอย่างรวดเร็ว ดินที่ร่วยซุยจะมีที่ว่างระหว่างเนื้อดินให้อากาศถ่ายเทได้จะมีลักษณะเหมือนฟองน้ำที่จะสามารถดูดซับและกักเก็บน้ำไว้ได้อย่างรวดเร็ว ในดินที่มีการอัดแน่นมากกว่า ดินจะมีความสามารถในการดูดซับและกักเก็บน้ำได้น้อยกว่า ดังนั้นเมื่อฝนตกหนัก น้ำจะเริ่มไหลออกจากแปลง ซึ่งเป็นการสูญเสียน้ำจืดเพื่อการเกษตรที่จะขาดแคลนมากขึ้นในอนาคต แต่ในแปลงเพาะปลูกที่มีการขุดพรวนดินไว้ลึก จะใช้ประโยชน์จากน้ำฝนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่า สามารถเก็บรักษาน้ำไว้ใช้ในช่วงที่แห้งแล้งได้มากกว่า และสามารถลดปัญหาหน้าดินถูกชะล้างเสียหาย เพราะมีน้ำเหลือไม่มากให้ไหลออกจากแปลงเพาะปลูก จึงไม่มีหน้าดินที่มีจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ไหลปนสูญเสียไปกับน้ำมากนัก (สามในสี่ของจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์อาศัยอยู่ในบริเวณดินชั้นบนหนา 15 ซม.) การทำแปลงเพาะปลูกถาวรด้วยการขุดพรวนดินลึกสองเท่าจึงเป็นหัวใจของไร่และสวนเกษตรที่มีสุขภาพดีและให้ผลผลิตปริมาณมาก


2.2. บำรุงดินและสิ่งมีชีวิตในดินด้วยอินทรีย์วัตถุ

ในระบบเกษตรกรรม ความยั่งยืนของระบบมักหมายความว่า ไร่หรือสวนเกษตรที่ทำอยู่สามารถให้ผลผลิตที่พอเพียงให้เจ้าของสามารถเลี้ยงตัววเองได้ตลอดไป ซึ่งจะเป็นไปได้ก็ต่อเมื่อดินในระบบ หรือในไร่/สวน ได้รับการดูแลให้อุดมสมบูรณ์โดยไม่ต้องพึ่งพาทรัพยากรจากภายนอก หรือทรัพยากรที่ใช้แล้วหมดสูญไปอย่างเชื้อเพลิงจากฟอสซิล หรือไปทำให้ส่วนอื่นในระบบได้รับผลเสีย เช่น การใช้เครื่องจักรถึงจะทุ่นแรงแต่ก็ก่อให้เกิดผลสียกับสุขภาพของดินที่เครื่องจักรวิ่งผ่าน ทำให้ดินที่ถูกกดทับอัดแน่น อากาศเข้าไปได้น้อย ทำให้ระบบนิเวศใต้ดินเสียสมดุลและเสียหาย หรือแม้แต่การใช้ปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยหมักที่อาจดูเป็นทางเลือกที่ดี แต่ถ้าเป็นปุ๋ยที่ได้มาจากผลผลิตของดินจากที่อื่น ก็ถือเป็นการไปเอาธาตุอาหารจากดินของที่อื่นมาใช้ ทำให้ดินที่ไปเอาผลผลิตมาเสียความอุดมสมบูรณ์ไป เป็นต้น เราสนใจแต่เพียงการปลูกเพื่อให้ได้ผลผลิตมากที่สุด แต่มักลืมให้สิ่งที่ดินต้องสูญเสียไปกลับคืนไปให้ดิน หรือให้กลับคืนไปน้อยกว่าที่เอามาจากดิน วิธีทำการเกษตรลักษณะนี้จะทำให้ดินค่อยๆ สูญเสียความอุดมสมบูรณ์และเสื่อมโทรมลงเรื่อยๆ จนอาจกลายเป็นดินตายในที่สุด และเมื่อนั้นก็จะไม่สามารถใช้ดินนั้นปลูกอะไรได้อีก

ดังนั้น ในระบบการทำเกษตรอินทรีย์พลังชีวภาพ การฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของดิน และดูแลรักษาไว้ให้ยั่งยืน เพื่อความมีสุขภาพที่ดีของดินจึงเป็นหัวใจสำคัญที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ปัจจัยที่ผลิตได้จากภายในระบบเท่านั้น ซึ่งหมายถึงการนำธาตุอาหารในอินทรีย์วัตถุที่ผลิตได้จากดินกลับคืนไปให้กับดินภายในระบบ เป็นการเพิ่มฮิวมัสในดิน ตลอดจนดำรงไว้ซึ่งกิจกรรมต่างๆ ของสิ่งมีชีวิตที่ได้รับการกระตุ้นจากกระบวนการนี้

ปกติในการปลูกพืช ดินจะสูญเสียธาตุอาหารในดินจากการที่พืชดูดไปใช้เพื่อการเจริญเติบโต และสูญเสียฮิวมัสในดินที่จุลินทรีย์ใต้ดินใช้เป็นที่อยู่อาศัยและอาหาร เพื่อการเจริญเติบโตและสร้างธาตุอาหารในดินให้กับพืช เพื่อรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดินสำหรับใช้ทำการเกษตรได้อย่างยั่งยืน เราจำเป็นต้องเติมธาตุอาหารและฮิวมัสกลับสู่ดิน ซึ่งจะเกิดขึ้นได้เมื่อเรานำเศษซากของผลผลิตที่เราไม่ได้รับประทานไปหมักให้เป็นปุ๋ยเพื่อใส่กลับคืนสู่ดิน ปุ๋ยหมักที่หมักจากเศษซากของผลผลิตในแปลงจะมีธาตุอาหารเกือบทุกชนิดที่มีในพืช และอาจให้ฮิวมัสพอเพียงต่อความต้องการในการฟื้นฟูดิน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทของพืชที่ปลูก คาร์บอนที่ถูกดึงไปจากดินจะกลับคืนสู่ดิน หากมีการปลูกพืชที่เก็บคาร์บอนในลำต้นไว้มาก (เช่น ข้าวโพด ข้าวฟ้าง ลูกเดือย หรือตระกูลธัญพืชทั้งหลาย เป็นต้น) การนำลำต้นรวมและรากของพืชเหล่านี้มาทำปุ๋ยหมักเพื่อใส่คืนกลับไปในดิน ก็คือการนำสารอาหารที่พืชเหล่านี้ดูดขึ้นมาใช้บางส่วนซึ่งยังหลงเหลีออยู่ลำต้นและรากใส่กลับคืนสู่ดิน

ดินในธรรมชาติแต่ละที่จะมีธาตุอาหารแตกต่างกัน และอาจมีไม่ครบทุกชนิดที่จำเป็นต้องมีในดินเพื่อจัดเป็นดินที่มีสุขภาพดีและให้ผลผลิตสูง พืชที่มีระบบรากลึก จะสามารถดูดธาตุอาหารที่อยู่ในดินส่วนลึกได้ และเมื่อนำพืชเหล่านี้มาหมักเป็นปุ๋ยเพื่อใส่กลับลงในดิน ก็เป็นการนำธาตุอาหารที่อยู่ลึกลงไปใต้ดินมาสู่ชั้นหน้าดิน แต่ถ้าธาตุอาหารที่ต้องการไม่มีอยู่ในดินส่วนลึกชั้นล่างแล้ว ธาตุอาหารเหล่านั้นก็จะไม่มีในปุ๋ยหมักเช่นกัน อย่างไรก็ตาม ธรรมชาติก็มีระบบจัดการสมดุลที่วิทยาศาสตร์ปัจจุบันยังไม่สามารถเข้าใจได้ เพราะเมื่อมีการเติมปุ๋ยหมักลงในดิน วงจรของระบบชีวภาพในดินซึ่งมีจุลินทรีย์เป็นกลจักรสำคัญอาจสามารถผลิตธาตุอาหารที่ดินยังขาดอยู่ขึ้นมาได้เอง แต่ถ้าหากจุลินทรีย์ในดินไม่สามารถผลิตธาตุอาหารจำเป็นที่ยังขาดอยู่ได้แล้ว ดินก็ยังจะคงขาดธาตุอาหารชนิดนั้นต่อไป และจำเป็นต้องยอมแก้ไขด้วยการนำธาตุอาหารที่ยังขาดอยู่มาจากภายนอกระบบในรูปของปุ๋ยอินทรีย์มาใส่เติมให้ แต่ก็อาจต้องการทำเพียงครั้งเดียว เพราะเมื่อดินในระบบมีธาตุอาหารที่จำเป็นครบถ้วนแล้ว ระบบก็จะดำเนินไปตามวงจรและรักษาความยั่งยืนต่อไปได้

ระบบอาจมีการสูญเสียธาตุอาหารบางชนิดไปกับน้ำฝนที่ไหลออกจากแปลง หรือถูกลมพัดไป (ถึงแม้ประเด็นเหล่านี้จะไม่ใช่ปัญหาที่น่าเป็นห่วงของระบบเกษตรอินทรีย์พลังชีวภาพก็ตาม) ในขณะเดียวกัน ธรรมชาติก็ช่วยนำธาตุอาหารมาเพิ่มให้กับระบบ โดยมากับฝน ลม และการย่อยสลายแร่ธาตุจากหินในดินของจุลินทรีย์ รวมทั้งได้จากน้ำใต้ดิน ดังนั้น ในระบบเกษตรอินทรีย์พลังชีวภาพ ธาตุอาหารที่ได้รับมาอาจเท่าๆ กับส่วนที่สูญเสียไป และหากมีการหมุนเวียนธาตุอาหารในดินที่พืชนำไปใช้ทั้งหมดได้ ระบบก็จะสามารถรักษาความอุดมสมบูณ์ของดินอย่างยั่งยืนได้ในระดับหนึ่ง (เพราะธรรมชาติเป็นอนิจจัง ไม่มีความยั่งยืนสมบูรณ์เต็มร้อยในโลกนี้)

มีข้อควรระวังในการใส่ปุ๋ยเพื่อการบำรุงดินที่จำเป็นต้องทราบ คือ การใส่ปุ๋ยให้กับดินมากเกินไป ไม่ว่าจะเป็นปุ๋ยเคมี ปุ๋ยอินทรีย์ หรือแม้แต่ปุ๋ยหมักก็ตาม สามารถเป็นโทษและให้ผลในทางลบกับพืชที่ปลูกได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผัก เพราะการให้ปุ๋ยมากเกินไปจะทำให้ผักมีสารไนเตรด-ไนโตรเจน (NO3-N) ที่เป็นตัวบ่งชี้ความเป็นอันตรายของผัก สะสมอยู่มากและอาจถึงระดับที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้บริโภคได้

อย่างไรก็ตาม อินทรีย์วัตถุในดินจะไม่มีความหมายใดๆ ในการเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินเลย หากขาดสิ่งมีชีวิตทั้งหลายที่อาศัยอยู่ในดิน โดยเฉพาะจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์หลากลายชนิดซึ่งช่วยเปลี่ยนอินทรีย์วัตถุในดินให้เป็นฮิวมัสและสร้างเอ็นไซม์ต่างๆ ที่เป็นประโยชน์สำหรับพืช การเพิ่มขึ้นของจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในดิน และยังมีผลในการช่วยควบคุมและกำจัดจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคได้อีกด้วย นอกจากนี้ยังมีสัตว์ตัวเล็กๆ หลากหลายชนิดที่อาศัยอยู่ในดิน อาทิ ไส้เดือน กิ้งกือ ฯลฯ ที่ช่วยขุดพรวนดิน (Bio-tillage) และเกื้อกูลสร้างความสมดุลให้กับระบบนิเวศใต้ดิน การบำรุงเลี้ยงสิ่งมีชีวิตในดินเหล่านี้จึงถือเป็นสิ่งจำเป็น และเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่ง ในกระบวนการฟื้นฟูและรักษาความยั่งยืนของดินในระบบเกษตรอินทรีย์พลังชีวภาพ

มีข้อที่ควรตระหนักและคำนึงถึงในการเพิ่มจุลินทรีย์ให้กับดิน ในช่วงทศวรรษปีที่ผ่านมา ในประเทศไทยมีการเผยแพร่วิธีารทำและใช้น้ำหมักชีวภาพเพื่อเพิ่มจุลินทรีย์ให้กับดิน โดยมีทั้งแนะนำวิธีการเก็บและขยายเชื้อจุลินทรีย์จากภายในท้องถิ่น (Indiginious Micro-Organizms หรือ IMOs) และการใช้จุลินทรีย์ที่มีการคัดพันธุ์มาเป็นพิเศษ (Effective Micro-Organizms หรือ EMs) [ปัจจุบันศัพท์คำนี้ได้กลายเป็นชื่อการค้าของน้ำหมักชีวภาพที่แพร่หลาย จนคนเรียกกันติดปากและสร้างความสับสนระหว่างชื่อสินค้า กับน้ำหมักที่เกษตรกรทำขึ้นใช้เองจากจุลินทรีย์ท้องถิ่น] ตลอดจนการใช้จุลินทรีย์สายพันธุ์พิเศษเพื่อกำจัดโรคพืชบางชนิดเป็นการเฉพาะ เป็นต้น หากพิจารณาการใช้จุลินทรีย์เพื่อการเกษตรและการบำรุงดินตามหลักเกษตรธรรมชาติแล้ว จุลินทรีย์ที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการบำรุงดินคือจุลินทรีย์ที่มีอยู่ในท้องถิ่น (IMOs) โดยเฉพาะจุลินทรีย์ที่ได้จากป่าที่อุดมสมบูรณ์หรือใต้ต้นไม้ใหญ่ซึ่งมักมีดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ และเป็นตัวบ่งชี้ถึงความแข็งแรงและมีประโยชน์ของจุลินทรีย์ในบริเวณเหล่านั้น โดยที่คำว่า ?ในท้องถิ่น? ในความหมายของเกษตรธรรมชาติ คือ แหล่งที่มาของจุลินทรีย์ควรอยู่ห่างจากบริเวณที่จะนำจุลินทรีย์ไปใช้ไม่เกิน 3 กิโลเมตร ทั้งนี้เนื่องจากจุลินทรีย์ในบริเวณพื้นที่เดี่ยวกันจะมีการปรับตัวให้สามารถเจริญเติบโตได้ดีภายใต้สภาพแวดล้อมในบริเวณนั้นมาแล้วเป็นเวลานาน จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศย่อยที่สมดุลเฉพาะบริเวณนั้นๆ

การใช้จุลินทรีย์จากต่างถิ่นโดยเฉพาะที่มีการคัดพันธุ์แบบแข็งแรงเป็นพิเศษมาใช้ อาจทำให้เป็นผลเสียต่อสมดุลของระบบนิเวศ เพราะจุลินทรีย์เหล่านั้นจะต้องมาปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ และยิ่งเป็นจุลินทรีย์ที่มีการคัดพันธุ์แบบแข็งแรงเป็นพิเศษด้วยแล้ว ก็เป็นไปได้ที่จุลินทรีย์ต่างถิ่นหรือจากต่างประเทศเหล่านี้จะสามารถเอาชนะจุลินทรีย์ท้องถิ่นที่มีอยู่เดิม ทำให้จุลินทรีย์ท้องถิ่นไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้และสูญพันธุ์ไปในที่สุด ระยะหลังมีผลการศึกษาการใช้จุลินทรีย์ที่คัดพันธุ์แข็งแรงเป็นพิเศษในการบำรุงดินระยะยาวในประเทศญี่ปุ่น (ต้นตำรับการใช้จุลินทรีย์คัดพันธุ์เป็นพิเศษเพิ่อบำรุงดิน) พบว่าเพราะความแข็งแรงเป็นพิเศษของจุลินทรีย์เหล่านี้ ได้ทำให้พืชมีประสิทธิในการดูดสารอาหารจากดินและส่งผลให้ดินเสื่อมโทรมและเสียไม่ต่างจากการใช้สารเคมี ในบางกรณีสามารถทำให้ดินเสื่อมโทรมเร็วกว่าใช้สารเคมีอีกด้วย จึงเป็นประเด็นที่เกษตรกรควรระวังในการใช้จุลินทรีย์ต่างถิ่น โดยเฉพาะจากต่างประเทศ เพื่อบำรุงดิน

– ปุ๋ยหมักและปุ๋ยมูลไส้เดือน

ในระบบเกษตรอินทรีย์พลังชีวิภาพจะสนับสนุนให้ฟื้นฟูและรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดินด้วยการใช้ปุ๋ยหมัก โดยเฉพาะวัสดุที่ได้จากภายในระบบ เพราะเป็นวิธีการคืนสารอาหารที่นำออกมาจากดินส่วนหนึ่งกลับคืนสู่ดิน และในกระบวนการหมักปุ๋ยที่ถูกต้องยังสามารถกำจัดเชื้อโรคบางชนิดและเมล็ดวัชพืชที่ติดมากับวัสดุที่ใช้หมักปุ๋ยได้ด้วย การใช้ปุ๋ยหมักจากมูลสัตว์ หากเป็นมูลสัตว์ที่นำมาจากที่อื่นก็อาจมีสารเคมีหรือเชื้อโรคปะปนมา ซึ่งเชื้อโรคจากสัตว์บางชนิดก็ไม่สามารถกำจัดได้ในกระบวนการหมักปุ๋ยและอาจเป็นต้นเหตุของโรคพืชตามมาได้ อย่างไรก็ตามผลการวิจัยพบว่า ปุ๋ยหมักจากพืชมีธาตุอาหารสำหรับพืชมากกว่าปุ๋ยหมักจากมูลสัตว์ถึง 4 เท่า โดยเฉพาะปุ๋ยหมักจากรากพืช จะมีธาตุอาหารสำหรับพืชมากกว่าปุ๋ยหมักจากลำต้นและใบพืชถึง 2 เท่า2

ปุ๋ยหมักที่ทำจากพืชหลากหลายชนิดจะช่วยให้เกิดจุลินทรีย์ที่หลากหลายในดิน และจุลินทรีย์เหล่านี้จะให้ธาตุอาหารที่หลากหลาย รวมทั้งช่วยเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์กับการเติบโตและความแข็งแรงของพืชได้ด้วย (ดูรายละเอียดการทำปุ๋ยหมักเพิ่มเติมใน คู่มือการดูแลบำรุงรักษาดิน ของระบบเกษตรอินทรีย์พลังชีวภาพ)

นอกจากนี้ ยังสามารถใช้ปุ๋ยมูลไส้เดือนจากการเลี้ยงไส้เดือนช่วยเสริมได้ ที่จริงแล้วมูลไส้เดือนก็เกิดจากกระบวนการหมักภายในตัวไส้เดือน ที่เปลี่ยนอินทรีย์วัตถุที่ไส้เดือนกินเป็นอาหารออกมาเป็นปุ๋ยพร้อมใช้นั้นเอง ถึงแม้มูลไส้เดือนจะมีสารที่คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าเป็นสารอาหารหลักสำหรับพืช คือ N-P-K อยู่ไม่สูงเลยก็ตาม แต่เราก็ทราบกันดีว่าพืชก็เจริญงอกงามได้ดีมากถ้าในดินมีไส้ดินอยู่มาก หรือถ้าพบไส้เดือนในดินที่ไหนก็รู้ได้ว่าดินบริเวณนั้นมีความอุดมสมบูรณ์ระดับหนึ่งแล้ว ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะความเข้าใจผิดของคนส่วนใหญ่ในเรื่องสารอาหารที่พืชต้องการนั้นเอง ที่จริงแล้วแหล่งอาหารหลักของพืช หรือร้อยละ 95 พืชได้จากอากาศผ่านกระบวนการสังเคราะห์แสงที่ใบ อีกร้อยละ 5 ที่พืชต้องการเป็นน้ำที่มีแร่ธาตุต่างๆ โดยเฉพาะจุลธาตุ (trace elements) หลากหลายชนิดจากดิน ซึ่งอาจมี N-P-K เป็นส่วนประกอบสำคัญ แต่ก็ต้องการในปริมาณที่ไม่มากเลย และพืชจะไม่สามารถนำ N-P-K ไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่หากขาดจุลธาตุเสริมที่จำเป็นทั้งหลายด้วย การใช้ปุ๋ยเคมีที่มี N-P-K มากเกินความต้องการพืชจึงทำให้ส่วนที่พืชใช้ไม่หมดตกค้างในดิน และเป็นต้นเหตุที่ทำให้ดินเสียนั้นเอง

สาเหตุที่ปุ๋ยมูลไส้เดือนสามารถทำให้พืชเจริญงอกงานได้ดีก็เพราะ มีจุลินทรีย์หลากหลายชนิด มากกว่าที่พบในปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยหมักธรรมดา และยังมีสารอินทรีย์อีกหลายชนิดที่วิทยาศาสตรปัจจุบันเพิ่งจะเริ่มเข้าใจความสำคัญต่อการเติบโตของพืช เช่น ฮิวเมท (humates)?ออกซิน (auxins)?ไคเนติน (kinetins) จิเบอเรลริล (giberellin)?และไซโตไคนิน (cytokinin) ที่ช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์พืช?ช่วยให้รากรับอาหารไปใช้ได้ดีขึ้น คุมการหันหน้าของดอกไม้เข้ารับแสงแดด คุมความยาวของเซลล์ และแม้กระทั่งทำหน้าที่เป็นสารต้านการแก่ตัวของพืชไม่ให้เน่าเปื่อยเร็ว เป็นต้น ปุ๋ยมูลใส้เดือนจึงมีประสิทธิภาพสูงในการช่วยให้พืชเจริญเติบโตดีขึ้นตามธรรมชาติ ช่วยเก็บรักษาความชื้นและธาตุอาหารในดิน เป็นตัวปลดปล่อยธาตุอาหารอย่างช้าๆ ทำให้ลดปัญหาการสลายตัวของธาตุอาหาร ไม่ทำให้เกิดรากไหม้ในพืชแม้ใช้ในปริมาณที่มาก มีปริมาณโลหะหนักต่ำ (เพราะไส้เดือนสามารถขจัดความเป็นพิษของธาตุโลหะหนักยางชนิดได้) ไม่มีกลิ่นแต่มีฤทธิ์ในการดับกลิ่นได้ และยังช่วยปรับสภาพดินให้ดีขึ้น โดยทำให้ดินร่วนซุยและมีการรวมตัวอย่างเหมาะสมตามธรรมชาติ ทำให้รากพืชสามารถแพร่ขยายได้กว้าง

การผสมปุ๋ยมูลไส้เดือนกับปุ๋ยหมักจะช่วยเพิ่มส่วนประกอบของกรดฮิวมิค ซึ่งเป็นตัวกักเก็บธาตุอาหารที่จำเป็นต่อพืชหลายชนิดในโมเลกุลของกรดฮิวมิคที่เป็นรูปที่พร้อมใช้ และจะถูกปลดปล่อยออกมาเมื่อพืชต้องการ นอกจากนี้ ในมูลไส้เดือนยังมีสารและเอนไซม์ที่มีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราที่เป็นกับพืช และมีฤทธิ์ในการขับไล่แมลงศัตรูพืช (insect repellent) ได้อีกด้วย (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมใน คู่มือการควบคุมโรคและแมลงศัตรูพืชด้วยชีววิถี ของระบบเกษตรอินทรีย์พลังชีวภาพ)

– ถ่านชีวภาพ (Bio-Char) เพื่อการบำรุงดิน

การใช้ถ่านชีวภาพ หรือ Bio-Char ที่ผลิตเองจากเศษซากพืชจากแปลงเพาะปลูกหรือเศษอาหารจากครัว เป็นอีกวิธีการบำรุงดินที่สนับสนุนให้ใช้ในระบบเกษตรอินทรีย์พลังชีวภาพ ถ่านชีวภาพเป็นถ่านที่ได้จากเผาหรืออบอินทรีย์วัตถุด้วยกระบวนการแยกสลายด้วยความร้อน หรือ ไพโรไลซิส (Pyrolysis) ในสภาพแวดล้อมที่มีอ๊อกซิเจนต่ำหรือไม่มีเลย ที่อุณหภูมิต่ำกว่า 700?C หรือช่วง 400-700?C ทำให้ถ่านที่ได้มีประจุไฟฟ้าและความพรุนสูง สามารถนำมาใช้ปรับปรุงดิน เพิ่มประสิทธิภาพการดูดยึดธาตุอาหารสำหรับพืช และปลดปล่อยออกมาให้พืช ทำให้ลดการสูญเสียธาตุอาหาร ความพรุนของโครงสร้างสามารถช่วยดูดซับความชื้นในดิน และเป็นที่อยู่อาศัยอย่างดีของจุลินทรีย์ในดิน จึง สามารถเพิ่มประสิทธิผลของปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยหมักได้อย่างดี ซึ่งหมายถึงการเจริญเติบโตที่ดีของพืช ทำให้ประหยัดการใช้ปุ๋ย ลดต้นทุนและเพิ่มรายได้จากผลผลิตที่เพิ่มขึ้น (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมใน คู่มือการดูแลบำรุงรักษาดิน ของระบบเกษตรอินทรีย์พลังชีวภาพ)

การผลิตถ่านชีวภาพยังเป็นวิธีการที่ง่ายและต้นทุนต่ำในการกำจัดขยะอินทรีย์ได้อย่างปลอดภัย และหากมีการออกแบบเตาเผาให้ดีแล้ว ยังได้เชื้อเพลิงชีวภาพที่สะอาด (syn gas) มาใช้ปรุงอาหารหรือแม้กระทั่งผลิตไฟฟ้าได้ด้วย นอกจากนี้ การเติมถ่านชีวภาพที่เป็นคาร์บอนลงในดินยังเป็นวิธีการที่ง่ายสำหรับการนำคาร์บอนจากอากาศไปกักเก็บไว้ใต้ดินได้เป็นหลายพันปีอีกด้วย จึงถือเป็นเทคโนโลยีง่ายๆ ที่มีประสิทธิภาพในการช่วยลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกจากบรรยากาศโลก เพราะมีค่าคาร์บอนสุทธิเป็นลบ หรือเป็นเทคโนโลยีคาร์บอนลบ (carbon negative)3

ความจริงแล้วคำว่า ถ่านชีวภาพ หรือ Bio-Char เป็นชื่อที่เพิ่งจะใช้เรียกกันเมื่อมีการค้นพบวิธีการใช้ถ่านชีวภาพเพื่อบำรุงดินของคนโบราณเมื่อไม่มานี้เท่านี้ ประวัติการใช้เทคโนโลยีถ่านชีวภาพเพื่อการเกษตรสามารถถอยกลับไปได้หลายพันปี เพราะพบการใช้อย่างกว้างขวางในอารยธรรมโบราณทั่วโลก โดยเฉพาะในแถบลุ่มน้ำอเมซอน หลังจากหลายพันปีผ่านไปยังสามารถเห็นพื้นที่บางแห่งมีชั้นดินสีดำที่อุดมสมบูรณ์ลึกถึง 2 เมตร ซึ่งชาวพื้นเมืองรู้จักกันในชื่อ ทีรา-พรีต้า (terra preta) ที่แปลว่าดินดำ หรือที่เกษตรกรไทยจะรู้จักและใช้กันอยู่ในรูปของแกลบดำนั่นเอง แต่นักวิทยาศาสตร์ปัจจุบันเพิ่งจะเริ่มเข้าใจประโยชน์มากมายของถ่านชีวภาพที่มีกับพืช และเริ่มมีการส่งเสริมให้เกษตรกรหันมาทำและใช้ถ่านชีวภาพเพื่อการบำรุงดินมากขึ้น เพราะประโยชน์ทั้งด้านการเกษตร ช่วยลดต้นทุนการผลิต เพิ่มรายได้ แก้ปัญหาความยากจน ได้พลังงานสะอาด ดูดและกักเก็บคาร์บอนไว้ในดินได้นาน และช่วยลดปัญหาภาวะโลกร้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ


2.3. การคลุมดิน

การคลุมดินเป็นวิธีการรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดินที่ช่วยประหยัดเวลาและแรงงานให้เกษตรกรได้อย่างมาก เพราะแปลงเพาะปลูกที่มีการคลุมดินจะมีสุขภาพที่ดีกว่า มีวัชพืชน้อยหรือไม่มีเลย และทนความแล้งได้มากขึ้น จึงประหยัดเวลาในการรดน้ำ กำจัดวัชพืช และแก้ปัญหาโรคและแมลงศัตรูพืชรบกวน

วิธีการคลุมดินในระบบเกษตรอินทรีย์พลังชีวภาพจะเน้นวิธีการปลูกพืชคลุมดินเป็นหลัก แต่ในช่วงการเตรียมดินและระยะที่พืชยังไม่โต จะให้ใช้เพียงอินทรีย์วัตถุธรรมชาติ เช่น ฟาง ใบไม้ หรือหญ้าแห้ง ที่สามารถกลายเป็นอาหารให้กับจุลินทรีย์และสิ่งมีชีวิตในดินซึ่งจะเป็นโรงงานผลิตอาหารให้กับพืชต่อไป การใช้วัสดุคลุมดินประเภทอื่น โดยเฉพาะพลาสติก ถึงแม้จะเป็นพลาสติดชีวภาพที่ย่อยสลายได้ก็ตาม นอกจากจะเป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายโดยไม่จำเป็นแล้ว ในขั้นตอนการผลิตพลาสติกก็ต้องใช้พลังงาน ซึ่งหากมองในภาพรวมทั้งระบบจะถือเป็นวิธีการที่ไม่ยั่งยืนและสนับสนุนการทำลายสิ่งแวดล้อมโดยทางอ้อม ยิ่งไปกว่านั้นหลังจากที่พลาสติกชีวภาพย่อยสลายแล้ว ก็อาจมีสารเคมีบางส่วนตกค้างในดินได้อีกด้วย

ระบบการเตรียมดินและจัดการแปลงปลูกของเกษตรอินทรีย์พลังชีวภาพ ทำให้สามารถปลูกพืชได้แน่นชิดกัน ใบของพืชที่โตเต็มที่ชนซ้อนทับกันจนเป็นปิดคลุมผิวดิน เกิดเป็นระบบภูมิอากาศย่อยๆ (mini-climate) ภายใต้ร่มเงาของใบพืช ทำให้บริเวณหน้าดินมีความร่มเย็น รักษาอุณหภูมิของดินไม่ให้เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และรักษาความชื้นในแปลง จึงช่วยลดการใช้น้ำโดยเฉพาะเป็นการอนุรักษ์น้ำในช่วงฤดูแล้งได้อย่างดี ซึ่งประโยชน์โดยรวมของการคลุมดินอาจแบ่งออกได้เป็น?3?ด้าน ได้แก่ ด้านกายภาพ ด้านเคมี และชีวภาพของดิน (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมใน คู่มือการดูแลบำรุงรักษาดิน ของระบบเกษตรอินทรีย์พลังชีวภาพ)

ประโยชน์ในด้านกายภาพ – วัสดุหรือใบของพืชที่คลุมดินไว้สามารถช่วยลดแรงปะทะของเม็ดฝนหรือน้ำจากการรดน้ำที่กระทำต่อผิวดิน?ลดปริมาณและระยะทางการกระเด็นของดินซึ่งเกิดจากการตกลงมาของเม็ดฝนหรือน้ำที่รดลงในแปลงปลูก?ลดปริมาณและอัตราการแข็งตัวของดิน?น้ำซึมผ่านได้ง่ายจึงลดการสะสมของน้ำที่ผิวดิน?จึงช่วยลดการจับตัวเป็นแผ่นแข็งที่ผิวดินเพราะช่องว่างในดินลดลง เป็นร่มเงาลดปริมาณแสงแดดตอนกลางวัน ป้องกันการระเหยของน้ำจากดิน จึงช่วยรักษาระดับอุณหภูมิและความชื้นของดินให้ค่อนข้างคงที่ หรือไม่แตกต่างกันมาในเวลากลางวันและกลางคืน ลดความเร็วของลมและน้ำที่ไหลบ่าไปตามผิวดิน จึงลดการพังทลายหรือการถูกกัดเซาะของดินจากลมและน้ำ

ประโยชน์ด้านเคมี?- ช่วยตรึงไนโตรเจนให้อยู่ในรูปอินทรีย์สารในระยะเวลาอันสั้นหลังจากใส่ตอซังของพืชลงในดิน?เกิดจากสภาพขาดออกซิเจน เนื่องจากมีการเน่าเปื่อยของคาร์โบไฮเดรตในดินบน?ปลดปล่อยอินทรีย์ไนโตรเจนให้กลายมาอยู่ในรูปที่พืชใช้ดี?อาจทำให้เกิดการตรึงไนโตรเจนเพิ่มขึ้น?มีการตรึงฟอสฟอรัสชั่วคราวเกิดขึ้น?มีโพแตสเซียมที่เป็นประโยชน์น้อยลง?แต่โพแตสเซียมทั้งหมดเพิ่มขึ้น?ธาตุอาหารพืชถูกชะล้างมากขึ้น?ลดการสูญเสียธาตุอาหารพืช?เนื่องมาจากน้ำที่ไหลบ่าบนผิวดินเพราะน้ำที่ไหลบ่าลดลง

ประโยชน์ด้านชีวภาพ?- เพิ่มกิจกรรมของจุลินทรีย์ดินซึ่งอยู่ใกล้ผิวดิน?ศัตรูพืชมีมากขึ้น?พืชต่างๆ?เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว?ผลผลิตของพืชมีโอกาสได้รับสูงขึ้น


2.4. ปลูกพืชเกื้อกูล

ผลการวิจัยหลายชิ้นได้พิสูจน์แล้วว่าพืชหลายชนิดเติบโตได้ดีขึ้นเมื่อปลูกใกล้พืชบางชนิด พืชบางชนิดก็มีประโยชน์ในการช่วยป้องกันหรือไล่แมลง ในขณะที่พืชบางชนิดจะช่วยดึงดูดตัวห้ำตัวเบียนที่เป็นศัตรูของแมลงที่เป็นศัตรูพืช พืชต้นใหญ่สามารถให้ร่มเงากับพืชต้นเล็กที่ไม่ชอบแสงมาก ในขณะที่ไม้ป่าหลายชนิดให้ผลในทางบวกกับดิน รากต้นไม้ใหญ่ช่วยพรวนดินชั้นล่าง และดูดแร่ธาตุสารอาหารจากดินชั้นล่างซึ่งไม่มีอยู่ในดินชั้นบนขึ้นมาสู่หน้าดิน การปลูกพืชหลากชนิดที่เกื้อกูลกันจึงสามารถช่วยเกษตรกรผลิตผลผลิตการเกษตรที่มีคุณภาพและช่วยรักษาคุณภาพของดินให้มีชีวิตและอุดมสมบูรณ์อีกด้วย

การปลูกพืชหลายชนิดที่เกื้อกูลกัน (Companion Planting) จึงหมายถึง การเลือกพืชที่จะมาปลูกร่วมในแปลงเดียวกัน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดสำหรับทั้งกับระบบนิเวศย่อยในแปลงและระบบนิเวศใหญ่ของไร่หรือสวน หรือในความหมายที่กว้างขึ้นอาจหมายรวมถึง การจัดสภาพแวดล้อมในแปลงปลูกให้องค์ประกอบต่างๆ อยู่ร่วมกันแบบเสริมช่วยการมีชีวิตและการเติบโตของกันและกัน สร้างความเชื่อมโยงระหว่างพืชผัก ผลไม้ ต้นไม้ พุ่มไม้ ดอกไม้ วัชพืช นก ดิน จุลินทรีย์ ไส้เดือน น้ำ ธาตุอาหาร หนอน แมลง กบ แมงมุม ไก่ หรือแม้แต่จอมปลวกในบริเวณพื้นที่เพาะปลูก เป็นต้น และเป็นวิธีการใช้ประโยชน์จากความสัมพันธ์ของพืชและธรรมชาติอย่างสร้างสรรค์ของเกษตรกร

ความสัมพันธ์ระหว่างพืชต่างชนิดจะคล้ายกับคน พืชบางชนิดอาจชอบหรือไม่ชอบอยู่ใกล้พืชบางชนิดภายใต้สภาพแวดล้อมบางลักษณะ พืชบางชนิดทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยง บางชนิดเป็นหมอเยียวยา ในขณะที่บางชนิดช่วยบำรุงดิน ความสัมพันธ์เหล่านี้จะมีความสำคัญมากขึ้นเมื่อพืชโตขึ้นและเริ่มปรากฎลักษณะเฉพาะตัว ซึ่งอาจเป็นพฤติกรรม ลักษณะทางกายภาพ หรือกลิ่น ฯลฯ การเลือกพืชที่จะปลูกร่วมกันหรือแซมกันจึงต้องคำนึงถึงคุณสมบัติของพืชแต่ละฃนิด และวัตถุประสงค์ของการใช้งานด้วย

ถึงแม้เอกสารข้อมูลการวิจัยทางวิทยาศาสตรืในเรื่องพืชที่เกื้อกูลกันจะมีอยู่ไม่มาก แต่ก็มีข้อมูลที่เก็บรวบรวมจากภูมิปัญญาท้องถิ่นของเกษตรกรที่ช่างสังเกตุจากทั่วโลก ที่ได้สังเกตุเห็นและเก็บบันทึกไว้ว่าพืชบางชนิดเติบโตได้ดีกว่าหากปลูกอยู่ใกล้พืชบางชนิด แต่อาจยังไม่ทราบหรือเข้าใจว่าเป็นด้วยสาเหตุใด ข้อสันนิษฐานมีว่าอาจเป็นเพราะรากของพืชสามารถแผ่ขยายคลอบคลุมพื้นที่มากกว่าที่ตาของคนเราจะเห็นได้ อาจเป็นไปได้ว่ารากของพืชมีการทำปฏิกิริยาระหว่างกันอยู่ใต้ดิน เป็นผลให้เกิดการเสริมช่วยหรือขัดขวางการเจริญเติบโตของกันและกัน โดยปกติทั่วไปแล้ว พืชแต่ละกลุ่มแต่ละวงศ์จะไม่แย่งอาหารกัน เนื่องจากระบบรากที่ใช้ในการหาอาหารและแร่ธาตุที่พืชแต่ละเหล่าต้องการจะแตกต่างกัน เนื่องจากเรายังขาดข้อมูลเกี่ยวกับพืชเกื้อกูลอยู่มาก และยังต้องมีการศึกษาวิจัยเก็บข้อมูลเพิ่มเติมอีกมาก เพราะปัจจัยเรื่องอายุของพืช สัดส่วนของพืชที่ใช้ปลูกร่วมกัน หรือระยะห่างที่เหมาะสมระหว่างพืชที่เป็นเพื่อนบ้านที่ดีและไม่ดี เหล่านี้ล้วนมีความสำคัญในการจะเลือกและปลูกพืชเกื้อกูลให้ได้ผลในทางบวก ถ้าเรามีข้อมูลที่ดีก็จะไม่ต้องเสียเวลากับการลองผิดลองถูก เพราะหากไปเอาสิ่งที่เข้ากันไม่ได้ไปปลูกด้วยกันโดยไม่ตั้งใจแล้ว ก็จะทำให้เสียทั้งประโยชน์และเวลา ดังนั้นการปลูกพืชเกื้อกูลจึงควรทำด้วยความระมัดระวังและควรตามสังเกตุผลที่เกิดขึ้นอย่างใกล้ชิด รวมทั้งศึกษาหาสาเหตุของความเกื้อกูลหรือเป็นปฏิปักษ์ต่อกันของพืชแต่ละชนิดไปพร้อมกันด้วย แล้วคุณจะพบว่าพืชเกื้อกูลเป็นเรื่องที่น่าอัศจรรย์ยิ่งอีกอย่างหนึ่งของธรรมชาติ

เทคนิคการปลูกพืชเกื้อกูลที่อาจนำมาใช้ประโยชน์ในแปลงเพาะปลูก สามารถเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน ซึ่งรวมถึง เพื่อความแข็งแรงและการเติบโตที่ดี เพื่อเพิ่มธาตุอาหาร เพื่อการเกื้อกูลด้านกายภาพ เพื่อเสริมเพิ่มความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างวัชพืช แมลง และสัตว์ต่างๆ เป็นต้น รูปแบบวิธีการปลูกพืชเกื้อกูลในระบบมีอยู่หลายลักษณะ เช่น อาจปลูกพืชที่ช่วยขับไล่ป้องกันแมลง (ดอกทานตะวันหรือดาวเรือง) เป็นแถวสลับกับพืชอาหาร หรือปลูกแซมเป็นระยะในแปลง หรือปลูกรอบๆ แปลง ปลูกพืชบำรุงดินแซมไปในแปลง หรือปลูกหมุนเวียนระหว่างฤดู เป็นต้น สำหรับในประเทศไทย อาจมีการวางรูปแบบใช้ต้นไม้ประเภทปาล์ม เช่น มะพร้าว ตาล หมาก ฯลฯ ปลูกขนาบไปกับพืชไร่และพืชผัก ก็เป็นวิธีการปลูกพืชผักที่ให้ผลได้ดีอีกลักษณะหนึ่ง (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมใน คู่มือการดูแลบำรุงรักษาดิน ของระบบเกษตรอินทรีย์พลังชีวภาพ)


2.5. หมุนเวียนพืชที่ปลูก

การหมุนเวียนพืชที่ปลูก (Crop Rotation) เป็นอีกวิธีหนึ่งในการฟื้นฟูและรักษาความยั่งยืนของดิน การปลูกพืชชนิดเดียวกันในพื้นที่เดิมเป็นเวลานานจะทำให้เกิดโรคและ/หรือแมลงที่เป็นโทษกับพืชชนิดนั้นได้ เช่น หากปลูกกะหล่ำปลีในที่เดียวกันหลายปี จะมีเชื้อโรคในดินที่ทำให้รากกระหล่ำปลีเน่าง่าย จึงต้องมีการพักดินจากการปลูกกระหล่ำปลีและไปปลูกพืชชนิดอื่นแทนระยะหนึ่งก่อนที่จะกลัมมาปลูกกะหล่ำปลีในพื้นที่เดิมได้อีก บางครั้งการปลูกพืชประเภทเดียวกันหรือตระกูลเดียวกันไว้ด้วยกันจะช่วยให้การจัดการวางแผนการหมุนเวียนพืชที่ปลูกได้ง่ายขึ้น

หลักในการหมุนวียนพืชที่ปลูกมีอยู่หลายวิธี แต่ไม่มีวิธีใดที่สมบูรณ์พร้อมและสามารถยึดเป็นมาตรฐานเดียวได้ ทั้งนี้ มีวิธีการหนึ่งที่เป็นที่นิยมแพร่หลายในหมู่นักเกษตรกรรมยั่งยืน และจัดการได้ค่อนข้างง่าย คือ การแบ่งประเภทของพืชในการหมุนเวียนปลูกตามความต้องการธาตุอาหารเพื่อการเติบโต ซึ่งสามารถแบ่งกลุ่มพืชอย่างคร่าวๆ ออกเป็น 4 จำพวก คือ

  1. พืชที่ต้องการธาตุอาหารและไนโตรเจนมากเพื่อการเติบโต ส่วนใหญ่ลักษณะทางกายภาพที่สังเกตุได้ง่าย คือ มีใบและลำต้นใหญ่ เช่น ข้าวโพด ผักกาดหอม คะน้า ฯลฯ เป็นต้น
  2. พืชที่ต้องการธาตุอาหารและไนโตรเจนปานกลาง ส่วนใหญ่จะมีใบขนาดกลางๆ ไม่เล็กไม่ใหญ่ ให้ผลเหนือดิน เช่น พริกไทย มะเขือเทศ ตำลึง ฯลฯ เป็นต้น
  3. พืชที่ต้องการธาตุอาหารและไนโตรเจนน้อย จะเป็นพืชอาหารประเภทกินรากและหัวที่อยู่ใต้ดิน เช่น เผือก มัน แครอท ไช้เท้า มันแกว ฯลฯ เป็นต้น
  4. พืชที่ช่วยสร้างธาตุอาหารหรือตรึงไนโตรเจนเพิ่มในดิน เช่น พืชตระกูลถั่ว เป็นต้น

หลักการหมุนเวียนพืชที่ปลูกวิธีนี้ คือ หลังการบำรุงดินแล้ว ให้เริ่มปลูกพืชกลุ่มที่ 1 ที่ต้องการไนโตรเจนและธาตุอาหารมาก หรือปลูกต่อจากการปลูกพืชพืชกลุ่มที่ 4 ที่เพิ่มไนโตรเจนให้ดิน วิธีนี้พืชที่ต้องการไนโตรเจนและธาตุอาหารมากจะมีธาตุอาหารในดินจากการปลูกพืชกลุ่มที่ 4 ไว้ใช้อย่างเต็มที่ หากดูตามตารางก็จะเห็นเป็นการหมุนเวียนพืชที่ปลูกตามเข็มนาฬิกา สำหรับแปลงที่ปลูกพืชกลุ่มที่ 1 ไปแล้ว จะมีธาตุอาหารและไนโตรเจนลดลง ก็จะใช้ปลูกพืชกลุ่มที่ 2 ซึ่งต้องการธาตุอาหารและไนโตรเจนระดับปานกลาง ธาตุอาหารที่เหลือในดินยังพอสามารถให้พืชกลุ่มนี้เติบโตได้ดีอยู่ ส่วนแปลงที่ปลูกพืชกลุ่มที่ 2 ไปแล้ว จะมีธาตุอาหารและไนโตรเจนเหลืออยู่น้อย แต่ก็ยังสามารถใช้ปลูกพืชกลุ่มที่ 3 ซึ่งต้องการธาตุอาหารและไนโตรเจนน้อยอยู่แล้ว และเมื่อใช้ดินปลูกพืชกลุ่มที่ 3 แล้ว ก็สมควรแก่เวลาที่จะนำพืชกลุ่มที่ 4 มาปลูกเพื่อช่วยเพิ่มธาตุอาหารและไนโตรเจนให้กับดิน และพร้อมสำหรับปลูกพืชกลุ่มที่ 1 ได้ต่อไป การหมุนเวียนอาจทำทุกฤดูกาลปลูกหรือทุกปี แต่หลักการคือไม่ควรปลูกพืชซ้ำชนิดในแปลงเดียวกันติดต่อกันนานเกินไป

อย่างไรก็ตาม ต้องตระหนักเสมอว่าวิธีการจัดแบ่งประเภทพืชเพื่อการหมุนเวียนพืชที่ปลูกในระบบนี้ เป็นการจัดกลุ่มอย่างคร่าวๆ เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น แต่ในความเป็นจริงก็มีความซับซ้อนในรายละเอียดที่จำเป็นต้องนำมาพิจารณาประกอบด้วย ตัวอย่างเช่น มันฝรั่ง ซึ่งเป็นพืชประเภทหัวใต้ดิน ซึ่งตามระบบการจัดกลุ่มพืชวิธีนี้จะจัดเป็นพืชที่ต้องการธาตุอาหารและไนโตรเจนน้อย หรือมะเขือเทศ ซึ่งเป็นพืชใบขนาดกลาง จะจัดเป็นพืชที่ต้องการธาตุอาหารและไนโตรเจนปานกลาง แต่ในความเป็นจริง ทั้งมันฝรั่งและงมะเขือเทศเป็นพืชที่ต้องการธาตุอาหารและไนโตรเจนมาก เกษตรกรจึงจำเป็นต้องหาความรู้เกี่ยวกับพืชที่จะปลูก และข้อยกเว้นปลีกย่อยลักษณะดังกล่าวนี้ เพราะธรรมชาติไม่มีความตายตัว ทุกอย่างเป็นเรื่องของความสมดุลและการปรับเข้าหาสมดุลทั้งสิ้น สำหรับในระบบเกษตรอินทรีย์พลังชีวภาพที่มีการใช้พืชในแปลงมาทำปุ๋ยหมักใส่เติมกลับลงในดินเป็นประจำอยู่แล้ว ซึ่งก็เป็นเหมือนได้ทำการหมุนเวียนพืชที่ปลูกในแปลงเช่นกัน (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมใน คู่มือการดูแลบำรุงรักษาดิน ของระบบเกษตรอินทรีย์พลังชีวภาพ)

3. จัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการทำงานของกระบวนการธรรมชาติ

กลับสู่ด้านบน

ในระบบเกษตรอินทรีย์พลังชีวภาพ การดูแลจัดการสภาพแวดล้อมให้สอดตล้อมกับการทำงานของธรรมชาติ ถือเป็นวิธีการทุ่นแรงงานเกษตรกร เพราะจะสามารถปล่อยให้ธรรมชาติทำงานแทนเราได้ ซึ่งส่วนที่ต้องดูแลจัดการมีดังนี้


3.1. ปลูกพืชแน่นชิดกัน

เนื่องจากในระบบเกษตรองค์รวม มีการขุดพรวนดินลึกเป็นสองเท่าของระบบการทำเกษตรลักษณะอื่นๆ จึงเป็นการช่วยให้รากของต้นพืชสามารถเติบโตลึกลงไปในดินตามธรรมชาติที่ควรเป็นได้โดยสะดวก ทำให้สามารถปลูกพืชแน่นชิดกันได้ จึงสามารถเพิ่มผลผลิตต่อพื้นที่ได้มากกว่าการปลูกเป็นแถวตามวิธีที่นิยมกันทั้งในเกษตรเคมีและเกษตรอินทรีย์ทั่วไป 2-6 เท่าเป็นอย่างน้อย และจะเพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับตามการฟื้นคุณภาพของดิน

การปลูกพืชได้ชิดกันมากของระบบเกษตรอินทรีย์พลังชีวภาพ ยังทำให้ใบของพืชที่แผ่มาชนกันเมื่อโตเต็มที่สามารถเป็นร่มเงาให้กับหน้าดินในแปลงปลูกได้เป็นอย่างดี เป็นเหมือนวัสดุคลุมดินที่มีชีวิต (living mulch) โดยไม่ต้องใช้วัสดุคลุมดินอื่นเพิ่มเติม การรักษาความชื้นในดินยังถือเป็นการรักษาสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับเป็นที่อยู่อาศัยของจุลินทรีย์ในดิน ช่วยเพิ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ทั้งชนิดและปริมาณในดิน นอกจากนี้ ใบพืชที่แผ่มาชนกัน ยังช่วยกันไม่ให้แสงแดดส่องถึงพื้นดิน จึงช่วยลดการเติบโตของวัชพืชได้ถึงร้อยละ 50 โดยไม่ต้องทำอะไรเพิ่ม ใบของพืชที่ชนซ้อนกันยังสามารถช่วยป้องกันการชะล้างของหน้าดินจากการรดน้ำหรือน้ำฝน ถือเป็นการอนุรักษ์ดิน รวมทั้งลดการตกกระแทงของน้ำสู่หน้าดิน ช่วยรักษาความร่วนซุยของหน้าดิน ซึ่งจะสะดวกต่อการชอนไชไปหาอาหารของรากพืชและสิ่งมีชีวิตในดิน ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ช่วยส่งเสริมให้พืชเจริญเติบโตได้ดี และเพิ่มผลผลิตให้สูงขึ้นทั้งสิ้น (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมใน คู่มือการดูแลบำรุงรักษาดิน ของระบบเกษตรอินทรีย์พลังชีวภาพ)


3.2. ใช้น้ำอย่างมีประสิทธิผล

น้ำมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อทั้งดินและพืช น้ำช่วยให้พืชแข็งแรงและตั้งตรงอยู่ได้ ช่วยลดความร้อน และเก็บธาตุอาหารที่ละลายได้ในดิน เราทุกคนรู้ดีว่าหากขาดน้ำเสียแล้วก็ไม่มีอะไรจะเติบโตได้ การรักษาความชื้นในดินขึ้นอยู่กับประเภทของดิน โครงสร้างและลักษณะของดิน ภูมิอากาศและอุณหภูมิของอากาศ ความชื้นและลักษณะของลม และตัวของพืชเอง

วิธีการฟื้นฟูบำรุงดินให้มีคุณภาพของระบบเกษตรอินทรีย์พลังชีวภาพช่วยให้ดินสามารถดูดซับน้ำและกักเก็บความชื้นเพื่อประโยชน์ของพืชได้เป็นอย่างดี เพราะดินที่ร่วยซุยจะมีที่ว่างระหว่างเนื้อดินที่สามารถกักเก็บน้ำได้คล้ายลักษณะของฟองน้ำ การขุดพรวนดินให้ลึกและเติมปุ๋ยหมักที่มีคุณภาพยิ่งช่วยให้ดินสามารถรักษาความชื้นไว้ได้นานขึ้น ปุ๋ยหมักหรือฮิวมัสสามารถเก็บอมน้ำได้มากกว่าน้ำหนักของตัวเองถึง 6 เท่า การใส่ปุ๋ยหมักเพิ่มในดินสามารถลดการใช้น้ำลงได้ถึงร้อยละ 75 ต่อทุกกิโลกรัมของอาหารที่ผลิตได้ การปลูกพืชแน่นชิดกันทำให้ใบพืชโตมาชนกันจนกลายเป็นวัสดุคลุมหน้าดิน สามารถลดการระเหยของน้ำจากดินได้ถึงร้อยละ 13-63 การดูแลรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดินอย่างดียังสามารถลดการสูญเสียน้ำจากการคายน้ำของพืชได้ร้อยละ 10-75 เพราะพืชที่ขาดธาตุอาหารจะดูดน้ำมากขึ้นเพื่อให้ได้ธาตุอาหารที่จำเป็นอย่างเพียงพอ ทำให้พืชต้องคายน้ำที่ดูดเพิ่มขึ้นมาทิ้งไปมากขึ้น ทั้งหมดนี้จึงเป็นวิธีการที่สามารถช่วยลดการใช้น้ำลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ คุณสมบัติข้อนี้มีความสำคัญและเป็นประโยชน์ทั้งต่อพืชและระบบนิเวศโดยรวม

วิธีการรดน้ำพืชของระบบเกษตรอินทรีย์พลังชีวภาพก็คำนึงถึงการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ โดยจะแนะนำให้รดน้ำแปลงปลูกในเวลาเย็น ราว 2 ชั่วโมงก่อนพระอาทิตย์ตก เพื่อลดการสูญเสียน้ำจากการระเหยไปเพราะแสงแดดและความร้อน ทั้งยังมีเวลาตลอดทั้งคืนให้น้ำค่อยๆ ซึมลงไปถึงส่วนของรากพืชในดินชั้นล่างก่อนที่พระอาทิตย์จะขึ้นอีกครั้งในตอนเช้า วิธีการนี้ช่วยให้สามารถประหยัดน้ำได้ไม่น้อย นอกจากนี้ สำหรับพืชแล้ว ความชื้นในดินตอนกลางคืนมีความสำคัญมาก เพราะพืชมีการเจริญเติบโตในช่วงกลางคืนอย่างมากด้วย สำหรับต้นอ่อนของพืชและเมล็ดที่กำลังเพาะในถาดเพาะอาจต้องให้น้ำในตอนเช้า และอีกครั้งในตอนเย็นถ้ามีแดดตลอดทั้งวัน ต่อเมื่อใบของต้นอ่อนโตมาชนกันจนช่วยบังแสงแดดให้หน้าดินได้แล้วจึงลดการให้น้ำลงได้

วิธีการอนุรักษ์น้ำของระบบเกษตรอินทรีย์พลังชีวภาพยังรวมไปถึงอุปกรณ์ที่ใช้และวิธีการรดน้ำในแปลงปลูก การรดน้ำควรหลีกเลื่ยงการฉีดหรือใช้หัวฉีดน้ำที่ทำให้น้ำกระทบดินหรือใบพืชอย่างแรง หัวรดน้ำที่ดีควรให้น้ำในลักษณะคล้ายการตกลงมาของเม็ดฝนหรือหัวฝักบัว ถ้าจะลงทุนทำระบบรดน้ำ ระบบสปริงเกอร์อาจเปลือกน้ำมากกว่าระบบน้ำหยด และทำให้สังเกตพฤตกรรมการซึมของน้ำลงดินได้ลำบาก

วิธีการรดน้ำเพื่อการอนุรักษ์น้ำ ให้สังเกตุระยะเวลาที่น้ำซึมลงไปในดินจนหมด เช่น ในแปลงที่เพิ่งขุดพรวนใหม่ ควรหยุดรดน้ำเมื่อมีเห็นน้ำคาอยู่หน้าดิน 3-5 วินาทีก่อนที่ซึมลงดินได้หมด ส่วนในแปลงเก่า ให้หยุดรดน้ำเมื่อน้ำเหลือคาอยู่ 5-15 วินาที เป็นต้น ระยะเวลาที่น้ำซึมลงดินสามารถบ่งบอกระดับความชื้นของดินในแปลงได้ และจะเป็นการดีถ้าจะตรวจสอบความชื้นของดินก่อนที่จะรดน้ำ เพื่อดูว่าส่วนที่ลึกลงไปมีความชื้นอยู่มากน้อยเพียงใดและดินต้องการน้ำเพิ่มมากน้อยขนาดไหน ดินอาจดูเหมือนแห้งมากที่ผิวหน้าแต่ชื้นอยู่ใต้ผิวดิน หรืออาจดูชื้นเมื่อแห้งมากๆ และควรตรวจดูตอนที่รดน้ำด้วยว่าน้ำซึมลงไปในดินได้ลึกขแค่ไหน (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมใน คู่มือการดูแลบำรุงรักษาดิน ของระบบเกษตรอินทรีย์พลังชีวภาพ)


3.3. ปลูกปุ๋ย พลังงาน และธาตุอาหาร

เพื่อให้ง่ายในการรักษาความยั่งยืนของระบบเกษตรกรรม และสามารถพึ่งพาเลี้ยงตัวเองได้จากการทำการเกษตรอืนทรีย์องค์รวม ควรมีการแบ่งสัดส่วนประเภทของพืชที่ปลูกในพื้นที่ เพื่อให้สามารถใช้เป็นอาหารได้อย่างพอเพียงและมีสารอาหารที่เป็นประโยชน์กับสุขภาพครบถ้วน ขณะเดียวกัน สามารถใช้ส่วนที่ไม่ได้บริโภคมาทำปุ๋ยหมักเพื่อเป็นธาตุอาหารให้กับดินได้พร้อมกันไปด้วย

จากการทดลองในหลายประเทศพบว่า การปลูกอาหารด้วยระบบเกษตรอินทรีย์พลังชีวภาพเพื่อให้ได้ผลผลิตพอเลี้ยงคนได้หนึ่งคนตลอดทั้งปี จะต้องมีแปลงปลูกราว 40 แปลง (ขนาด 10 ตารางเมตร/แปลง) ใช้พื้นที่ราว 95 ตร.ว.คน เฉพาะพื้นที่แปลงเพาะปลูก หรือ 150 ตร.ว./คน เมื่อรวมทางเดินและพื้นที่ทำปุ๋ยหมัก โดยคิดสัดส่วนการปลูกพืชต่างๆ ดังนี้

  • ประมาณร้อยละ 60-65 ของพื้นที่ หรือประมาณ 24 แปลง ให้ปลูก พืชประเภทที่ให้คาร์บอนและเป็นปุ๋ย (ธัญพืชและถั่ว) เพื่อให้ได้คาร์บอนปริมาณมากมาทำปุ๋ยหมัก ในขณะเดียวกันก็เป็นพืชอาหารที่ให้โปรตีนสำหรับคน
  • ประมาณร้อยละ 30 ของพื้นที่ หรือประมาณ 12 แปลง ให้ปลูก พืชประเภทกินรากหรือหัว (ตระกูลเผือก มัน หอม กระเทียม ไช่เท้า แครอท ฯลฯ เป็นต้น) ที่ให้พลังงานหรือคาร์โบไฮเดรสูง
  • ประมาณร้อยละ 5-10 (ไม่ควรเกินร้อยละ 10) ของพื้นที่ หรือประมาณ 4 แปลง ให้ปลูก พืชประเภทผักและผล (ผักกินใบ ดอก และผล) เพื่อเป็นอาหารที่ให้มีวิตามินและแร่ธาตุ

วิธีการปลูก อาจปลูกคละรวมหรือแบ่งพื้นที่แยกกันในแปลงเดียวกัน หรือแยกแปลงกันปลูกในบริเวณพื้นที่เพาะปลูกก็ได้

สัดส่วน 60:30:10 นี้ได้จากข้อมูลภาคปฏิบัติที่ดำเนินการต่อเนื่องนานกว่า 10 ปีภายใต้ระบบชีวภาพเข้มข้น ซึ่งสามารถใช้เป็นเกณฑ์เริ่มต้นในการปลูกได้ แต่ทั้งนี้เนื่องจากในความเป็นจริงเรื่องของการเกษตรเป็นเรื่องที่มีพลวัตสูง ไร่และสวนแต่ละแห่งจะมีเงื่อนไขด้านปัจจัยและสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน ทำให้ยากที่จะกำหนดอะไรเป็นมาตรฐานตายตัวที่เหมาะสมกับทุกสภาพแวดล้อม จึงขอแนะนำให้มีการทดลองปรับสัดส่วนตามความเหมาะสมของแต่ละไร่แต่ละสวน โดยยึดหลักการพื้นฐานและวัตถุประสงค์ของการแบ่งสัดส่วนเป็นหลักสำคัญในการพิจารณา (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมใน คู่มือการดูแลบำรุงรักษาดิน ของระบบเกษตรอินทรีย์พลังชีวภาพ)


3.4. รักษาความหลากหลายทางชีวภาพและสมดุลของระบบ

ในระบบนิเวศของธรรมชาติจะมีความหลากหลายและสมดุล ทุกอย่างอาศัยดำรงอยู่ร่วมกันและมีผลประโยชน์ที่เอื้อต่อกันและกัน ความหลากหลายทางชีวภาพจึงเป็นหัวใจและองค์ประกอบที่สำคัญอย่างยิ่งหากไม่ใช่สำคัญสูงสุดของระบบนิเวศธรรมชาติที่สมบูรณ์ ในระบบเกษตรกรรมยั่งยืนก็เช่นกัน ความยั่งยืนจะเกิดขึ้นไม่ได้หากปราศจากความหลากหลายทางชีวภาพ ความหลากหลายของพืชที่ปลูก ทั้งไม้ใบ ไม้ผล และไม้ดอก สามารถเป็นแหล่งอาหารที่หลากหลายของแมลง ดึงดูดแมลงหลากหลายชนิดมาอาศัยอยู่รวมกัน ซึ่งจะมีทั้งแมลงที่เป็นศัตรูพืชและแมลงที่เป็นศัตรูธรรมชาติของแมลงศัตรูพืช ซึ่งจะช่วยควบคุมแมลงศัตรูพืชให้ได้

ในระบบเกษตรกรรมอินทรีย์องค์รวม ความหลากหลายทางชีวภาพในระบบนิเวศของไร่/สวน หรือแม้แต่ภายในแปลงเพาะปลูกแต่ละแปลง ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญในความสำเร็จและการเพิ่มผลผลิตของระบบการเกษตรวิธีนี้ ภายในแปลงเพาะปลูกแต่ละแปลงจะเป็นระบบนิเวศย่อยๆ ที่รวมอยู่ในระบบนิเวศใหญ่ของทั้งไร่หรือทั้งสวน ที่มีปฏิสัมพันธ์กับแสงแดด ร่มเงา ความร้อน ลม นก แมลง และสัตว์ต่างๆ และธรรมชาติจะรักษาสมดุลของระบบไว้เสมอ วิธีการทำเกษตรอินทรีย์พลังชีวภาพจะย้ำเตือนผู้ปลูกให้ใส่ใจกับความสมดุลของระบบเป็นสำคัญ เช่น หากมีการเพิ่มขึ้นของแมลงและสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งชนิดใดในแปลกปลูกมากผิดปกติ ก็แสดงว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้นในระบบนิเวศของแปลงปลูก ถ้าหากเราเลือกที่จะแก้ปัญหาด้วยการกำจัดแมลงหรือสิ่งมีชีวิตที่มีเพิ่มมากขึ้น โดยไม่คำนึงถึงความเชื่อมโยงของแมลงหรือสิ่งมีชีวิตชนิดนั้นกับสิ่งอื่นๆ ในแปลงปลูก แทนที่จะให้ความสนใจค้นหาสาเหตุต้นต่อของการเสียสมดุลของระบบ ก็เสมือนว่าเรากำลังทำงานที่เป็นปฏิปักษ์กับธรรมชาติ เพราะเราอาจไปทำลายส่วนหนึ่งของระบบนิเวศให้เสียหายหรือตายไป ซึ่งเป็นการผลักดันทำให้ธรรมชาติทำงานต่อต้านเรา และอาจส่งผลในทางลบกระทบเป็นลูกโซ่ต่อไปทั้งระบบนิเวศของแปลงปลูกได้

ในขณะที่เป้าหมายหลักของระบบเกษตรอินทรีย์พลังชีวภาพคือ การฟื้นฟูและรักษาดินให้มีคุณภาพและสุขภาพที่ดี เป้าหมายย่อยของระบบก็คือการทำให้ไร่และสวนมีความสมดุลด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งทำได้โดย

ใช้เมล็ดพันธุ์ที่ได้จากการผสมเกสรตามธรรมชาติ (Use of Open Pollinated Seeds)

ปัจจุบัน เกษตรกรส่วนใหญ่มักซื้อเมล็พันธุ์จากบริษัทผู้ผลิต ซื่งมักมีราคาแพงและส่วนใหญ่เป็นเมล็ดพันธุ์ลูกผสม (F1-Hybrid) ซื่งผลิตโดยวิธีเกษตรเคมและคลุกสารเคมีในกระบวนการเก็บรักษา ซึ่งไม่ปลอดภัยสำหรับการบริโภคและสิ่งแวดล้อม ผลผลิตของเมล็ดพันธุ์ลูกผสมเหล่านี้ส่วนใหญ่ไม่สามารถนำไปใช้เป็นเมล็ดพันธุ์เพื่อปลูกต่อ ทำให้เกษตรกรต้องหาซื้อเมล็ดพันธุ์ใหม่ทุกครั้งที่ต้องการปลูกพืช ผลการศึกษาวิจัย4 ชี้ว่าร้อยละ 95 ของสายพันธุ์พืชในโลกได้สูญพันธุ์ไปเพราะการทำเกษตรเคมีและการใช้เมล็ดพันธุ์ลูกผสม รวมทั้งเมล็ดพันธุ์จากการตัดแต่งพันธุกรรม (GMO) เมล็ดพันธุ์ลูกผสมไม่ได้ให้ผลผลิตสูงอย่างที่มีการโฆษณาไว้ทั้งหมด แต่ทำให้เกษตรกรมีต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น เพราะต้องหาซื้อมาในราคาแพงเนื่องจากถูกผูกขาดโดยของบริษัทเพียงไม่กี่รายในโลก และยังต้องใช้ทรัพยากรมากกว่าในการปลูก โดยเฉพาะพืชจีเอ็มโอที่ต้องใช้สารเคมีการเกษตรเพิ่มขึ้นอย่างมากในการปลูก แต่หากดินมีความอุดมสมบูรณ์แล้ว การใช้เมล็ดพันธุ์ลูกผสมพิเศษเพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดีก็ไม่จำเป็นอีกต่อไป เพราะโดยทั่วไปแล้วเมล็ดพันธุ์ท้องถิ่นที่มีการคัดพันธุ์จากการผสมเกสรตามธรรมชาติมักสามารถต้านทานโรคและแมลงได้ดี อีกทั้งยังต้องการปุ๋ยเพียงเล็กน้อย และสามารถให้ผลผลิตที่ดีเยี่ยมอยู่แล้ว

การส่งเสริมให้เกิดการผสมเกสรของพืชโดยวิธีธรรมชาติ เพื่อให้ได้เมล็ดพันธุ์ที่แข็งแรงทนทานต่อโรคและแมลงศัตรูพืชในสภาพแวดล้อมของท้องถิ่นมาเพาะปลูกต่อ จะทำให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพมากขึ้น เมื่อนำเมล็ดไปปลูกต่อก็จะได้ต้นลูกที่มีลักษณะและให้ผลผลิตเหมือนหรือใกล้เคียงต้นพ่อแม่ นอกจากนี้ การส่งเสริมการผสมเกสรพืชแบบเปิดยังช่วยให้มีพืชพันธุ์ที่หลากหลายและเป็นการอนุรักษ์ความหลากหลายทางพันธุ์กรรมในโลกด้วย

รู้จักประโยชน์ของวัชพืช

หากเรารู้จักสังเกตุและเริ่มเข้าใจระบบนิเวศของธรรมชาติมากขึ้น เราจะพบว่าแม้แต่วัชพืชก็บทบาทหน้าที่ของตัวเองที่สำคัญในการรักษาสมดุลภายใต้ระบบนิเวศธรรมชาติ วัชพืชที่จริงแล้วก็คือพืชที่คนเรายังไม่รู้ถึงประโยชน์ที่แท้จริง เพราะที่จริงแล้ววัชพืชแต่ละชนิดเป็นผู้เชี่ยวชาญและนักบำบัดในหมู่พืช สามารถขึ้นได้ดีในดินที่มีปัญหาและต้องการการเยียวยาฟื้นฟู จะสังเกตุได้ว่าดินที่ป่วยหรือเสื่อมโทรมจะมีวัชพืชมาช่วยบำบัดฟื้นฟูเป็นกลุ่มแรกโดยธรรมชาติ วัชพืชบางชนิดสามารถดูดฟอสฟอรัส โปแตส แคลเซียม แร่ธาตุต่างๆ และสารอาหารอื่นๆ มากมายจากดิน ทั้งในดินชั้นบนและที่อยู่ลึกลงไปในดินชั้นล่าง แล้วมาเก็บสะสมไว้ที่ต้น ซึ่งพืชที่เราปลูกทั้งหลายไม่สามารถหรือไม่มีสัญชาติญาณที่จะทำเช่นนั้น และด้วยธาตุอาหารที่สะสมอย่างเข้มข้นอยู่ในวัชพืชนี้เอง จึงทำให้มันเป็นวัตถุดิบอย่างดีสำหรับการทำปุ๋ยหมักเพื่อใช้บำรุงดิน ทั้งยังสามารถใช้ดูดสารพิษที่เราไม่ต้องการออกจากดินในแปลงเพาะปลูกได้อีกด้วย แต่ทั้งนี้ก็ต้องศึกาทำความรู้จักคุณสมบัติของวัชพืชแต่ละชนิดด้วย (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมใน คู่มือการดูแลบำรุงรักษาดิน ของระบบเกษตรอินทรีย์พลังชีวภาพ)

อนุรักษ์แมลงและสัตว์ที่มีประโยชน์

บริเวณไร่/สวนจัดเป็นระบบนิเวศของสิ่งมีชีวิตอย่างหนึ่ง จึงเป็นธรรมดาที่จะมีแมลงและสัตว์ที่เป็นศัตรูพืชและศัตรูธรรมชาติของสัตว์และแมลงศัตรูพืชมาอาศัยอยู่ร่วมกัน นักเกษตรธรรมชาติจะถือหลักว่า ก่อนจะกำจัดแมลงหรือสัตว์ใดๆ ในแปลงเพราะปลูก ต้องพิสูจน์ให้แน่ใจก่อนว่าแมลงหรือสัตว์ชนิดนั้นไม่มีประโยชน์หรือก่อโทษให้กับพืชและระบบจริงๆ ด้วยเหตุนี้ ในระบบเกษตรอินทรีย์พลังชีวภาพ จึงไม่ให้ความสำคัญหรือกังวลกับการหาทางกำจัดแมลงและสัตว์ที่เข้ากันโดยทั่วไปว่าเป็นศัตรูพืชทิ้ง เพราะการทำเช่นนั้นอาจเป็นการทำลายความสมดุลของระบบนิเวศย่อยในสวนหรือไร่นาได้ การเสียพืชบางส่วนเป็นอาหารให้แมลงและสัตว์ในแปลงถือเป็นการเกื้อกูลกันในห่วงโซ่หรือใยอาหารตามธรรมชาติ แต่สิ่งสำคัญที่ควรทำคือการหมั่นตรวจดูว่ามีแมลงและสัตว์อะไรที่เป็นศัตรูธรรมชาติของศัตรูพืชมาอาศัยอยู่บ้าง และศึกษาว่าอะไรที่เป็นสิ่งล่อแมลงและสัตว์ที่มีประโยชน์ทั้งหลายให้เข้ามาอาศัยอยู่ในบริเวณสวนและไร่นาได้บ้าง

การควบคุมโรคและแมลงศัตรูพืชโดยวิธีธรรมชาติหรือชีววิถี เป็นวิธีการดั้งเดิมที่นำสิ่งที่มีอยู่แล้วในธรรมชาติ และเป็นศัตรูของแมลงศัตรูพืชมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการควบคุมโรคและแมลงที่เป็นศัตรูพืช หรือใช้ประโยชน์จากศัตรูธรรมชาติของแมลงศัตรูพืชในการรักษาระดับความหนาแน่นของประชากรแมลงศัตรูพืชชนิดใดชนิดหนึ่งให้อยู่ต่ำกว่าระดับที่จะทำให้เกิดความเสียหายต่อผลผลิต ซึ่งรวมถึงพืชสมุนไพร แมลง และสัตว์อื่นๆ ตลอดจนเชื้อโรคที่มีอยู่แล้วในธรรมชาติ ความรู้เก่าแก่ที่สุดของวิธีการนี้เริ่มต้นขึ้นในประเทศจีน โดยชาวจีนรู้จักนำเอามดตัวห้ำ (predatory ants) มาควบคุมแมลงบางชนิดในสวนส้ม จากนั้นความรู้ในเรื่องการใช้ประโยชน์จากธรรมชาติมาควบคุมแมลงศัตรูพืชก็กว้างขวางออกไป และนับวันจะมีบทบาทมากขึ้นเมื่อมนุษย์สามารถนำเอาสิ่งมีชีวิตต่างๆ มาใช้ให้เกิดประโยชน์มากขึ้น ซึ่งเป็นการลดการใช้ยาฆ่าแมลงเคมี และทำให้ผลเสียที่จะเกิดจากการใช้ยาอย่างไม่ถูกต้องลดน้อยลง การปลูกพืชเกื้อกูลร่วมแปลงเพื่อล่อและเป็นอาหารของแมลงและสัตว์ที่เป็นศัตรูธรรมชาติของแมลงศัตรูพืช จึงนับเป็นการช่วยให้ระบบนิเวศรอบๆ ไร่/สวนเกิดสมดุลทางธรรมชาติโดยปราศจากการใช้สารเคมี ในระบบเกษตรอินทรีย์พลังชีวภาพ จึงมุ่งอนุรักษ์แมลงและสัตว์ที่มีประโยชน์ต่อระบบ เพื่อส่งเสริมการควบคุมโรคและแมลงศัตรูพืชด้วยชีววิธี

การแผ่ขยาย เพิ่มพูน และอนุรักษ์ นับเป็นขั้นตอนที่สำคัญของการทำเกษตรอินทรีย์พลังชีวภาพ และเกษตรกรทุกคนก็ควรหันมาอนุรักษ์แมลงและสัตว์ที่มีประโยชน์ เพื่อใช้การควบคุมแมลงและสัตว์ที่เป็นศัตรูพืชด้วยชีววิธีแทนการใช้สารเคมีพิษที่เป็นอันตรายกับทั้งผู้ใช้และผู้บริโภคให้มากขึ้น (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมใน คู่มือการควบคุมโรคและแมลงศัตรูพืชด้วยระบบชีววิถี ของระบบเกษตรอินทรีย์พลังชีวภาพ)


3.5. ป้องกันอันตรายจากสภาพแวดล้อม

เนื่องจากในความเป็นจริง พื้นที่ทำการเกษตรอินทรีย์พลังชีวภาพอาจอยู่ใกล้หรือถูกล้อมด้วยพื้นที่ที่ทำเการเกษตรแบบเคมี หรืออาจต้องใช้แหล่งน้ำจากระบบชลประทานที่ได้รับน้ำที่ผ่านมาจากพื้นที่เกษตรแคมี และยังมีปัจจัยอื่นๆ ด้วยสภาพแวดล้อมที่อาจส่งผลลบหรือเป็นปัญหากับการรักษาความเป็นธรรมชาติในระบบนิเวศของไร่/สวนที่ทำระบบเกษตรอินทรีย์พลังชีวภาพ จึงต้องมีการเตรียมการป้องกันไว้ล่วงหน้าเหมือนวิธีการปฏิบัติของไร่/สวนที่มีการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์โดยทั่วไป

การทำแนวกันชนเพื่อเป็นการป้องกันการปนเปื้อนจากสารเคมีหรือสิ่งที่ไม่ต้องการจากแปลงเกษตรเคมีใกล้เคียงทั้งที่อาจมากับลมและน้ำสามารถทำได้ไม่ยาก โดยกันพื้นที่รอบแปลงขนาดกว้างอย่างน้อย 1 เมตรไว้ และอาจปลูกพืชเป็นกำแพงหรือแนวกันลมในส่วนที่กันไว้นี้เพื่อป้องกันการปนเปื้อนที่มาทางอากาศ เช่น มาจากการฉีดพ่นสารเคมี หรือจากละอองน้ำจากระบบการให้น้ำแบบฉีดฝอยของแปลงเกษตรเคมีข้างเคียง

แหล่งน้ำเป็นอีกจุดหนึ่งที่มีโอกาสได้รับการปนเปื้อนจากสารเคมีจากภายนอกสูง โดยเฉพาะถ้าหากรับน้ำมาจากระบบชลประทานสาธารณะ หรือใช้น้ำประปาที่มีการใช้สารคลอลีนเพื่อฆ่าเชื้อโรค จึงควรมีวิธีเติมอากาศให้กับน้ำ หรือใช้ระบบธรรมชาติคือให้แสงแดดช่วยและจุลินทรีย์ช่วยบำบัดน้ำก่อนนำมารดพืชในแปลง เช่น ทำคันดินล้อมรอบแปลง หรือทำร่องน้ำ หรือมีบ่อพักน้ำในพื้นที่ หรือใช้ระบบให้น้ำไหลต่อเนื่อง หรือใช้ระบบน้ำสปริงเกอร์เพื่อให้น้ำได้ผ่านอากาศ เพื่อป้องกันการปนเปื้อนที่มากับน้ำที่ผ่านแปลงเกษตรที่ใช้สารเคมีมา

เนื่องจากการทำเกษตรอินทรีย์พลังชีวภาพจะคำนึงถึงปัจจัยที่มองไม่เห็นแต่มีอิทธิพลต่อพืชและระบบนิเวศ อย่างเช่นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากสายไฟฟ้าแรงสูง จะมีผลกระทบในทางลบกับสิ่งมีชีวิตทุกชนิดที่อยู่ใกล้ หากแปลงปลูกพืชในระบบเกษตรอินทรีย์พลังชีวภาพไปอยู่ในรัศมีของสนามแม่เหล็กไฟฟ้าเข้มข้น เช่น อยู่ใต้หรือใกล้สายส่งไฟฟ้าแรงสูง ก็จำเป็นต้องเพิ่มปัจจัยที่สามารถป้องกันสนามแม่เหล็กไฟฟ้าเหล่านี้ให้มากขึ้น เช่นอาจปลูกต้นไม้ใหญ่เป็นแนวตามสายไฟฟ้าแรงสูงเพื่อให้ค้นไม้ใหญ่ช่วยลดผลกระทบของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าแรงสูงต่อแปลงผักด้านล่าง เป็นต้น


3.6. นำส่วนดีของธรรมชาติมาใช้ให้เกิดประโยชน์

หลักสำคัญอีกข้อหนึ่งของการทำเกษตรอินทรีย์พลังชีวภาพที่แตกต่างจากระบบอินทรีย์ทั่วไปหรือเกษตรธรรมชาติอื่นๆ ก็คือ การนำพลังชีวภาพด้านบวกในธรรมชาติ ที่ไม่สามารถมองเห็นและจับต้องไม่ได้ แต่มีเหตุผลยืนยันหรือสามารถพิสูจน์ได้แล้วทางวิทยาศาสตร์ถึงผลดีที่มีต่อการสุขภาพและคุณภาพของพืช มาช่วยเสริมการเจริญเติบโตเพื่อเพิ่มคุณภาพและปริมาณผลผลิตของพืชที่ปลูก ซึ่งรวมถึงการใช้พลังจากแรงดึงดูดของโลกและดวงดาวบนท้องฟ้า หรือการดูปฏิทินดวงดาวของคนโบราณเพื่อเพิ่มประสิทธิผลให้กับกิจกรรมการเกษตรที่จะทำ เช่น การเพาะเมล็ดหรือย้ายต้นกล้า เป็นต้น หรือการใช้พลังของน้ำวน (vortex water) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพน้ำและสารเหลวเพื่อการบำรุงดินและพืช ซึ่งถือเป็นหลักการสำคัญของระบบกเษตรชีวพลวัต หรือการใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ให้ผลด้านบวก เช่น การใช้แสง (จัดการระดับแสงแดดสำหรับพืช) สี (เลือกปลูกไม้ดอกสีต่างๆ เพื่อดึงดูดแมลงที่เป็นประโยชน์และไล้แมลงที่เป็นศัตรูพืช) เสียง (ใช้เสียงเพลงหรือเสียงสวดมนต์เพิ่มการเจริญเติบโตและภูมิต้านทานของพืช) หรือการให้พลังความรักและการแผ่เมตตาเพื่อเพิ่มพลังชีวิตที่ดีให้ผลผลิต การเพิ่มคุณภาพน้ำที่ใช้รดต้นพืชด้วยแม่เหล็กเพื่อปรับโครงสร้างของผลึกน้ำและขนาดโมเลกุล ฯลฯ เป็นต้น ตามที่ได้อธิบายเบื้องต้นไว้ในบทเรื่อพลังชีวภาพแล้ว

วิธีการนำส่วนดีของธรรมชาติมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลการผลิตมีด้วยกันหลากหลายวิธี และมีการนำมาใช้มากในวิธีทำเกษตรแบบชีวพลวัต สำหรับผู้ที่ไม่เข้าใจแล้ว วิธีการเหล่านี้จะฟังดูเหมือนเป็นการกระทำที่งมงายไร้สาระหรือไม่มีเหตุผล แต่สำหรับผู้ที่เข้าใจและได้สัมผัสพลังธรรมชาติที่มองไม่เห็นจับต้องไม่ได้เหล่านี้ จะยอมจ่ายเงินเพิ่มเพื่อซื้อผลผลิตที่มีคุณภาพมากกว่าจากวิธีการผลิตนี้ ซึ่งปัจจุบันมีเครื่องมือที่สามารถตรวจพิสูจน์ได้ โดยปกติผลผลิตเกษตรอินทรีย์ที่ได้รับการรับรองเกษตรอินทรีย์จะมีราคาสูงกว่าผลผลิตเกษตรเคมีอยู่แล้ว แต่ผลผลิตจากระบบเกษตรชีวพลวัตที่ได้รับการรับรองโดยหน่วยงานรับรองเฉพาะที่ชื่อ Demeter จะมีราคาสูงกว่าผลผลิตเกษตรอินทรีย์ผ่านการรับรอง เพราะต้องใช้ความเอาใจใส่ดูแลในการปลูกมากกว่าและมีค่าใช้จ่ายในการตรวจรับรองที่สูงกว่า แต่ผลผลิตก็เป็นที่ต้องการของตลาดกลุ่มหนึ่ง โดยเฉพาะในประเทศออสเตรเลีย และบางประเทศในยุโรป รวมทั้งในสหรัฐอเมริกาบางส่วน ที่วิธีการเกษตรพลวัตมีความแพร่หลายมากกว่าส่วนอื่นของโลก

ถึงแม้ระบบการทำเกษตรอินทรีย์พลังชีวภาพจะไม่มีข้อกำหนดในเรื่องการใช้ประโยชน์จากพลังส่วนดีในธรรมชาติที่ตายตัวและมากมายอย่างของวิธีเกษตรชีวพลวัตก็ตาม แต่หากมีการปรับปรุงบำรุงดินตามวิธีการที่แนะนำจนคุณภาพดินมีการฟื้นตัวดีมากขึ้นเรื่อยๆ และผู้ปลูกมีความชำนาญมากขึ้นแล้ว ประเด็นรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ เหล่านี้จะเริ่มมีความสำคัญมากขึ้น และจะส่งผลกระทบสูงขึ้นกับผลผลิต วิธีการต่างๆ ที่นำส่วนดีของธรรมชาติมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการผลิต จึงเป็นอีกทางเลือกสำหรับช่วยเพิ่มผลผลิตที่เป็นวิธีการที่คำนึงถึงความสมดุลและสมบูรณ์ของระบบนิเวศโดยรวม


3.7. ทุกกิจกรรมเป็นส่วนย่อยของ ?ระบบองค์รวม?

วิธีการผลิตอาหารแบบเกษตรอินทรีย์พลังชีวภาพเป็นระบบที่เป็นองค์รวม ดังนั้นการที่จะทำการเกษตรด้วยระบบเกษตรอินทรีย์พลังชีวภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะต้องดำเนินการอย่างถูกต้องครบถ้วนในทุกหลักการและทุกปัจจัยองค์ประกอบที่ได้กล่าวมาแล้วทั้งหมด เพื่อให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด หากขาดส่วนในส่วนหนึ่งไปอาจทำให้ส่งผลกระทบต่อคุณภาพของดิน เพราะการให้ผลผลิตที่สูงของระบบการทำการเกษตรวิธีนี้ หมายถึงพืชมีการดูดดึงาตุอาหารจากดินขึ้นมามาก ซึ่งจะทำให้ดินจืดและโทรมเร็ว จึงจำเป็นต้องมีการบำรุงดินอย่างเพียงพอและต่อเนื่อง ด้วยกระบวนการของธรรมชาติ เพื่อรักษาความยั่งยืนของทรัพยากรดินหรือแหล่งอาหารของเรา หากมีการดำเนินการตามวิธีการของทั้งระบบอย่างเหมาะสมถูกต้องครบถ้วน คือ มีการนำเศษซากและขยะทุกชนิดที่ได้มากจากดิน กลับมาเวียนใช้ประโยชน์คืนสู่ดิน มีการปลูกอินทรีย์วัตถุอย่างพอเพียงเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับการทำปุ๋ยหมักให้เพียงพอใช้เองภายในระบบ เพื่อรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดินอย่างยั่งยืน ไร่/สวนระบบเกษตรอินทรีย์พลังชีวภาพจะสามารถสร้างดินได้อย่างต่อเนื่อง และรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดินได้อย่างยั่งยืน และนี่คือวิธีที่เราทุกคนที่ตั้งใจทำเกษตรอินทรีย์พลังชีวภาพ หรือเกษตรทางเลือกวิธีอื่น สามารถสร้างสรรค์ความเปลี่ยนแปลงให้กับโลกอย่างต่อเนื่องร่วมกันได้

?ไม่มีสิ่งใดที่เกิดขึ้นในธรรมชาติโดยไม่มีความเกี่ยวข้องกับระบบองค์รวม? – เกอเธ่

รวบรวมและเรียบเรียง ? ทัศนีย์ เศรษฐ์บุญสร้าง
tatsanee@NawaChiOne.org
? สงวนลิขสิทธิ์
อนุญาตให้ใช้เพื่อการศึกษาที่ไม่เป็นธุรกิจ แต่ขอให้อ้างอิงแหล่งที่มาด้วย

กลับสู่ด้านบน

????????????????????????????????

เชิงอรรถ

1 พุทธเกษตรกรรม เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก 2539
2 John Jeavons, Ibid. 2002. How to Grow More Vegetables, Ecology Action, USA.
3 http://www.biochar-international.org/
4 http://salsa.democracyinaction.org/o/2167/t/0/blastContent.jsp?email_blast_KEY=1150373