ศูนย์การเรียนรู้นวัตกรรมลดโลกร้อนนวชีวัน

?ศูนย์การเรียนรู้นวัตกรรมลดโลกร้อนนวชีวัน เป็นโครงการภายใต้มูลนิธินวชีวัน ซึ่งเดิมชื่อศูนย์การเรียนรู้วิถีเศรษฐกิจพอเพียงนวชีวัน ดำเนินการเพื่อส่งเสริมการศึกษา วิจัย และฝึกอบรม เพื่อเผยแพร่ความรู้สู่วิถีการดำเนินชีวิตที่เอื้ออำนวยต่อสุขภาวะที่สมบูรณ์ ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม ปัญญา และสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน มุ่งศึกษาและเผยแพร่นวัตกรรมที่ช่วยลดปัญหาโลกร้อนและสภาพภูมิอากาศแปรปรวนด้วยเทคโนโลยีที่ง่ายที่สุดและราคาถูกที่สุดที่มนุษย์มีอยู่ในปัจจุบัน คือการทำเกษตรที่เป็นมิตรกับระบบนิเวศและสภาพภูมิอากาศ ซึ่งเป็นการช่วยลดปัญหาความยากจน และยกระดับคุณภาพชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง โดยมีเป้าหมายเป็นต้นแบบการทำเกษตรอินทรีย์ระบบพลังชีวภาพ และสร้างเกษตรกรรุ่นใหม่ที่รู้จักการทำเกษตรอย่างฉลาด? นอกจากนี้ยังเป็นศูนย์เรียนรู้เครือข่ายในโครงการศูนย์การเรียนรู้ทางไกลเศรษฐกิจพอเพียง สำนักการศึกษาต่อเนื่อง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช และเป็นพื้นที่นำร่องในโครงการเพิ่มศักยภาพชุมชนด้านเกษตรปลอดภัยด้วยกระบวนการเรียนรู้ผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ ภายใต้ศูนย์ศึกษาและเสริมสร้างศักยภาพการจัดการทรัพยากรเพื่อท้องถิ่น?มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช?สนับสนุนโดยสำนักงานสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

Farm 09ศูนย์การเรียนรู้นวัตกรรมลดโลกร้อนนวชีวันเป็นผลพวงที่เกิดจากไร่นวชีวัน ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อปี 2542 โดยเริ่มต้นเป็นลักษณะงานอดิเรก เพราะยังเป็นมนุษย์เงินเดือน มีงานประจำต้องทำอยู่ในกรุงเทพฯ จึงต้องทำเกษตรด้วยวิธีธรรมชาติและต้องพึ่งธรรมชาติเป็นหลักในการดูแล ถึงแม้ตอนที่เริ่มต้น พื้นที่บริเวณไร่จะถูกปล่อยให้รกร้างไม่ได้ทำการเกษตรมาระยะหนึ่งแล้วก็ตาม แต่ก่อนหน้านั้นบริเวณไร่เคยถูกใช้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มานานหลายปี ทำให้สภาพดินเสื่อมและเสียจากการใช้สารเคมีทางการเกษตรจำนวนมาก ระบบนิเวศในพื้นที่บริเวณไร่จึงเสื่อมโทรม ต้องใช้เวลาหลายปีเพื่อให้สารเคมีที่ตกค้างในดินย่อยสลายไป พร้อมกับฟื้นฟูสภาพดินควบคู่กันไป เพราะเราต้องการทำเกษตรธรรมชาติและเกษตรอินทรีย์อย่างแท้จริง ซึ่งเป็นวิธีการลดปัญหาโลกร้อนที่ง่ายที่สุดและถูกที่สุดที่มนุษย์มีอยู่ในปัจจุบัน จึงไม่มีการใช้สารเคมีการเกษตรอีกเลย ต้องมีการทดลองปลูกพืชชนิดต่างๆ เพื่อทดลองให้เห็นผลว่าพืชชนิดใดเหมาะสมกับดินและสภาพแวดล้อมของพื้นที่ โดยไม่ได้มุ่งผลทางเศรษฐกิจ ทำให้พื้นที่ไร่กลายเป็นพื้นที่ทดลองหรือศูนย์เรียนรู้เกษตรธรรมชาติเพื่อมุ่งแก้ปัญหาสภาพแวดล้อมโดยปริยาย

1484720_569035763181474_65511394_nช่วงระยะแรกๆ ภายในบริเวณไร่นวชีวัน นอกจากไม้ผลโดยเฉพาะมะขามหวานที่ติดมากับที่ดินบางส่วนแล้ว เราได้เลือกปลูกไม้ยืนต้นและพืชท้องถิ่น หรือพืชที่สามารถต้านทานแมลงโรคพืชในบริเวณนั้นได้ดี โดยจะเน้นการรักษาสภาพแวดล้อมให้เป็นธรรมชาติ ปลูกพืชหลากหลายชนิดคละปนกันไปเพื่อให้มีสภาพคล้ายป่าธรรมชาติที่มีพืชพันธุ์หลากหลายชนิดขึ้นอยู่ร่วมกันอย่างเกื้อกูลกันและกัน เป็นการเกษตรที่คำนึงถึงความสมดุลของระบบนิเวศตามธรรมชาติ หรือที่ฝรั่งเรียกว่า Eco-Farm แปลเป็นภาษาไทยเอาเองว่า ระบบนิเวศเกษตร ?ต่อมาเมื่อได้มีเวลาศึกษาทำความเข้าใจเรื่องเกษตรอินทรีย์และเกษตรธรรมชาติมากขึ้น ได้เรียนรู้วิธีการและเทคนิคการทำเกษตรอินทรีย์และเกษตรธรรมชาติในประเทศต่างๆ โดยเฉพาะวิธีการที่ใช้หลักวิทยาศาสตร์ทำความเข้าใจภูมิปัญญาท้องถิ่นและวิธีการทำเกษตรแบบดั่งเดิมหลากหลายวิธี ทำให้เข้าใจถึงการทำงานของระบบชีวภาพในธรรมชาติ และในที่สุดจึงได้ประมวลความรู้เหล่านี้เข้าเป็น ระบบเกษตรอินทรีย์พลังชีวภาพ ทำให้เกิดเป็นระบบทำการเกษตรแบบองค์รวมที่ให้ผลมากกว่าเกษตรอินทรีย์ทั่วไป ซึ่งมีหัวใจอยู่ที่การบริหารจัดการพื้นที่เพาะปลูกให้เหมือนระบบนิเวศของป่าธรรมชาติ ให้ความสำคัญกับการฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์และโครงสร้างของดินด้วยกระบวนการธรรมชาติ เพื่อให้ดินมีคุณภาพดีเหมือนดินในป่าธรรมชาติ รวมทั้งการจัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อกระบวนการชีวภาพและการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์และสิ่งมีชีวิตทั้งใต้ดินและบนดิน ตลอดจนพลังชีวภาพต่างๆ ในธรรมชาติที่เป็นประโยชน์ต่อพืชและระบบนิเวศตามธรรมชาติ ซึ่งเป็นสภาพแวดล้อมที่ทำให้พืชเจริญเติบโตได้ดี มีความแข็งแรง ต้านทานโรคพืชและแมลงศัตรูพืชได้ดี วิธีการของระบบเกษตรอินทรีย์พลังชีวภาพยังเป็นวิธีการทำเกษตรที่สามารถช่วยลดปัญหาภาวะโลกร้อน (Climate Friendly Agriculture Method) ด้วย เพราะดินที่อุดมสมบูรณ์จะสามารถดึงและกักเก็บคาร์บอนจากอากาศไว้ในดินได้มากกว่าต้นไม้ในป่าหลายเท่า จึงเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยลดปัญหาภาวะโลกร้อนที่ง่าย ต้นทุนต่ำ และได้พืชผักอินทรีย์ที่ปลอดภัยเป็นอาหารที่มีคุณภาพสำหรับคนได้อีกด้วย

DSC00368เมื่อต้นปี 2553 เราได้ซื้อที่นาเพิ่ม และเริ่มทำนาปลูกข้าวหอมนิลอินทรีย์ด้วยวิธีนาโยนควบคู่กับการประยุกต์วิธีการทำนาระบบน้ำน้อย หรือระบบแกล้งข้าว (System of Rice Intensification – SRI) ภายใต้หลักการระบบเกษตรอินทรีย์พลังชีวภาพ ซึ่งได้ผลผลิตรอบแรกราว 600-700 กก./ไร่ ซึ่งเป็นที่น่าพอใจอย่างยิ่ง เพราะอัตราผลผลิตโดยทั่วไปของข้าวหอมนิลจะอยู่ที่ 250-450 กก./ไร่ และในปีที่สองสามารถเพิ่มผลผลิตได้เป็น 800 กก./ไร่ จนสามารถทำให้ชาวบ้านในบริเวณใกล้เคียงที่ไม่เคยสนใจและไม่เชื่อเรื่องการทำเกษตรอินทรีย์มาก่อน เริ่มหันมาสนใจศึกษาและทดลองปรับเปลี่ยนมาทำนาโยนที่ลดการใช้สารเคมีและลดต้นทุนเมล็ดพันธุ์ได้ รวมทั้งยังสามารถเก็บเกี่ยวได้ผลผลิตเพิ่มขึ้นอีกด้วย ทำให้นอกจากจะสามารถปลดภาระหนี้สินที่มีอยู่ได้แล้ว ยังมีเงินเหลือเก็บในปีแรกที่เริ่มหันมาทำนาโยนกึ่งอินทรีย์ด้วย ถึงแม้ชาวบ้านจะยังไม่กล้าปรับเปลี่ยนมาทำเกษตรอินทรีย์เต็มตัวก็ตาม ก็ถือว่าเป็นการเริ่มต้นที่ดีสู่การปรับเปลี่ยนเป็นเกษตรอินทรีย์เต็มตัวต่อไป และเป็นจุดเริ่มของการสร้าง “กลุ่มเกษตรกรอินทรีย์” ที่เข้มแข็งต่อไปในอนาคต ?

พิธีลงนามบันทึกความเข้าใจ การจัดการเรียนรู้หลักสูตร “การดำรงชีวิตตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียง”

เมื่อปี 2554 ศูนย์การเรียนรู้วิถีเศรษฐกิจพอเพียงนวชีวัน (ชื้อเดิม) ภายใต้มูลนิธินวชีวัน ได้เข้าร่วมเป็นโครงการเครือข่ายศูนย์การเรียนรู้ทางไกลเศรษฐกิจพอเพียง ภายใต้สำนักการศึกษาต่อเนื่อง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (มสธ.) ?โดยโครงกานี้เป็นการผนึกกำลังและบูรณาการความร่วมมือระหว่างภาคประชาชน ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคสถาบันการศึกษา รวมกว่า 45 แห่ง เพื่อร่วมกันดำเนินการจัดการเรียนรู้ทางไกล หลักสูตร “การดำรงชีวิตตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียง” เพื่อขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้เป็นรูปธรรม เพื่อความอยู่ดีมีสุข ความเข้มแข็งและมั่นคงของชุมชน สังคม และประเทศไทย อีกทั้งเป็นการร่วมเฉลิมฉลองในปีมหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมายุครบ 84 พรรษาในปี 2554 ด้วย
1149060_600129600072090_1561331842_n

และในปี 2556 เราได้เข้าร่วมเป็นองค์กรภาคี และเป็นพื้นที่นำร่อง ในโครงการการเพิ่มศักยภาพชุมชนด้านเกษตรปลอดภัยด้วยกระบวนการเรียนรู้ผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ ภายใต้ศูนย์ศึกษาและเสริมสร้างศักยภาพการจัดการทรัพยากรเพื่อท้องถิ่น?มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ซึ่งเป็นโครงการที่ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เพื่อช่วยเกษตรกรให้สามารถลดต้นทุนและเพิ่มคุณภาพผลผลิตให้ได้มาตรฐานอาหารปลอดภัย และเชื่อมโยงห่วงโซ่อุปทานอาหารปลอดภัยจากผู้ผลิตถึงผู้บริโภคผ่านระบบธุรกรรมทางอิเล็คทรอนิกส์โดยไม่ต้องอาศัยพ่อค้าคนกลาง และให้ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบย้อนกลับถึงแหล่งผลิตได้

ปัจจุบันทั้งไร่และนา รวมทั้งโรงสีขนาดเล็กของศูนย์การเรียนรู้นวัตกรรมลดโลกร้อนนวชีวัน ได้รับการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์จากสำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ (มกท.) ซึ่งเป็นมาตรฐานระดับสากล IFOAM และได้รับการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ EU-Equivalent ของสหภาพยุโรป, COR ของประเทศคานาดา ซึ่งเทียบเท่ามาตรฐาน NOP (USDA) ของสหรัฐอเมริกา เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

Logo_ACT-IFOAM_sEU_organic_farming_logo_s???? ? LogoBioCanadaRGBpresse? 2000px-USDA_organic_seal.svg

เนื่องจากศูนย์การเรียนรู้ฯ นวชีวัน ดำเนินงานภายใต้มูลนิธินวชีวัน ซึ่งเป็นองค์กรสาธารณประโยชน์ จึงมีเป้าหมายในขั้นแรกที่จะเลี้ยงตัวเองให้ได้ด้วยผลผลิตที่ได้จากแปลงสาธิตภายในศูนย์การเรียนรู้ฯ

ผลผลิตของศูนย์การเรียนรู้ฯ นวชีวันที่ออกสู่ตลาดแล้ว ได้แก่ เมล็ดพันธุ์ข้าวและข้าวเพื่อสุขภาพ รวมถึง ข้าวเจ้าหอมนิลอินทรีย์ (Organic Aromatic Black Rice or Black-Jasmin Rice [Hom-nin rice]) และ ข้าวหอมมะลิแดงอินทรีย์ หรือ (Organic Red Jasmin Rice) ผัก ผลไม้ และเมล็ดพันธุ์พืชอินทรีย์หลายชนิด

Rice pack_new lable2ส่วนที่มีการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ขณะนี้มีข้าวเจ้าหอมนิลอินทรีย์ Organic Aromatic Black (Hom-nin) Rice?และข้าวหอมมะลิแดง ทั้งข้าวกล้องและข้าวซ้อมมือ บรรจุถุงพลาสติกสูญญากาศ ขนาด 1 กิโลกรัม

ผลิตภัณฑ์แปรรูปอื่นๆ จากผลผลิตภายในศูนย์ฯ ได้แก่ กล้วยอบไอนำ้อินทรีย์ ชาสมุนไพรอินทรีย์ – ชากลีบดอกบัวหลวง ชาเกสรบัวหลวง ชาใบบัวหลวง ชาก้านบัวหลวง ชาใบไชยา ชาใบมะรุม ชาใบและเปลือกถั่วดาวอินคา ชาใบหม่อน ชาใบวอเตอร์เครส ชาข้าวหอมมะลิแดง ฯลฯ

ในปี 2559 จะเริ่มผลิตภัณฑ์ใหม่ที่เป็นประโยชน์สำหรับผู้สนใจดูแลสุขภาพด้วยอาหาร เช่น กระเทียมดำ (black garlic) ?แป้งกล้วย (resistant starch) ?น้ำมันถั่วดาวอินคา ที่อุดมด้วยไขมันโอเมก้า 3 และ 9 ?เป็นต้น

ผู้สนใจอุดหนุนผลิตภัณฑ์อินทรีย์คุณภาพ ผลผลิตจากระบบเกษตรอินทรีย์พลังชีวภาพ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่?ศูนย์การเรียนรู้นวัตกรรมลดโลกร้อนนวชีวัน หรือ มูลนิธินวชีวัน

ข้อมูลเพิ่มเติม:
-?ระบบเกษตรอินทรีย์พลังชีวภาพ
-?ข้าวเจ้าหอมนิลอินทรีย์ Organic Hom-nin (Black) Rice
-?การแบ่งระดับความปลอดภัยของผลผลิตการเกษตร
-?ตรารับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ เชื่อถือได้หรือไม่? ?เพียงใด?
-?ตรารับรองมาตรฐานสินค้าอินทรีย์ที่ควรรู้จัก

บทความ:
Real Health Starts with Real Soil
เกษตรอินทรีย์พลังชีวภาพ: อนาคตอยู่ในมือเรา

Facebook: ศูนย์การเรียนรู้นวัตกรรมลดโลกร้อนนวชีวัน NawaChiOne Knowledge Center for Climate Innovation