บทสรุป ความลับของเวลา : นาฬิกาแห่งชีวิต

Untitled-3

– เวลาคือความเปลี่ยนแปลง เวลาหนึ่งชั่วโมงคือการเปลี่ยนตำแหน่งของเข็มนาทีบนหน้าปัดนาฬิกาครบหนึ่งรอบ เวลาหนึ่งวันคือการเปลี่ยนตำแหน่งของเข็มชั่วโมงบนหน้าปัดนาฬิกาครบสองรอบ สิ่งต่างๆที่เราไม่รู้ย่อมเป็นความลับที่มืดมนสำหรับเรา ?ความลับของเวลา? ที่แฝงอยู่ใน ?นาฬิกาแห่งชีวิตเรือนนี้? ก็คือกฎธรรมชาติที่ควบคุมอยู่เบื้องหลังวัฏฏจักรความเปลี่ยนแปลงในชีวิตที่ตัวคุณยังไม่รู้นั่นเอง (แต่ถ้าคุณรู้แล้วสิ่งเหล่านี้ก็คงไม่ใช่ความลับอะไรสำหรับคุณ)

?ความลับของเวลาที่แฝงอยู่ในนาฬิกาแห่งชีวิต? คือความลับของหนทางในการควบคุม ?อวกาศและเวลาสี่มิติในเอกภพที่คุณรับรู้? (รูป) ผ่าน ?มิติที่ห้าของจิตที่เป็นผู้รู้? (นาม) ที่แฝงอยู่ภายในตัวของคุณ เหมือนถ้าคุณรู้จักวิธีควบคุมบังคับความเร็วของยานอวกาศลำที่คุณนั่ง คุณก็จะสามารถควบคุมบังคับความเร็วของเทหวัตถุทุกอย่างในเอกภพภายนอกยานอวกาศที่คุณเห็น ไม่ว่าจะด้วยตาเปล่าหรือสังเกตผ่านเครื่องมือใดๆที่อยู่ภายในยานอวกาศของคุณก็ตาม

– แต่ถึงแม้คุณจะเข้าใจวิธีควบคุมปุ่มบังคับต่างๆที่เป็น ?hardware? ของยานอวกาศแล้วก็ตาม คุณจะต้องตั้งโปรแกรม ?software? ของคอมพิวเตอร์ที่ควบคุมยานอวกาศให้ถูกต้องด้วย ซึ่งคงไม่ใช่เรื่องง่ายและต้องใช้เวลามากกว่าการเรียนรู้แค่วิธีควบคุมปุ่มบังคับต่างๆเท่านั้น การปรับโปรแกรมการทำงานของคอมพิวเตอร์ให้ถูกต้อง ก็เหมือนกับการเปลี่ยนแท่งเหล็กให้มีคุณลักษณะเป็นแม่เหล็กอย่างถาวร โดยคุณจะต้องใช้ความพยายามในการเอาแม่เหล็กถูกับแท่งเหล็กนั้นๆในทิศทางเดียวกันอย่างเป็นระเบียบซ้ำแล้วซ้ำเล่า ด้วย ?ความถี่? (frequency) ?ห้วงเวลา? (duration) และ ?ความเข้มข้น? (concentration) ของสนามแม่เหล็กที่แรงพอ จึงจักสามารถไปเหนี่ยวนำให้โมเลกุลของแท่งเหล็กที่กระจายอย่างไม่เป็นระเบียบ เกิดการเรียงตัวใหม่โดยหันประจุขั้วบวกหรือลบไปในทางเดียวกันอย่างเป็นระเบียบและถาวรตามแบบแผนที่คุณต้องการ

?ญาณ? สี่ขั้นแรกของ ?ญาณ 16? จะช่วยให้คุณเข้าใจสัจจะความจริงแห่งธรรมชาติในลักษณะคล้ายคลึงกับสิ่งที่ทฤษฎีสัมพัทธภาพของไอน์สไตน์และทฤษฎีกลศาสตร์ควอนตัม (อันเป็นภูมิปัญญาสูงสุดสองทฤษฎีหลักทางฟิสิกส์สมัยใหม่ที่ช่วยให้มนุษย์เข้าใจธรรมชาติของเอกภพ) ได้ชี้ให้เห็น ในขณะที่วิปัสสนาญาณขั้นต่อๆไปจะเป็นเหมือนการลบโปรแกรมเก่าและดาวน์โหลดโปรแกรมใหม่ลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งต้องใช้ความพยายามและสติปัญญาที่ลึกละเอียดกว่า

– แนวคิดเรื่อง ?อรรถประโยชน์? (Utility) ซึ่งเป็นรากฐานของทฤษฎีเศรษฐศาสตร์กระแสหลักอันมีอิทธิพลครอบงำอารยธรรมมนุษย์ปัจจุบัน ก็มีพื้นฐานมาจากหลักคิดที่คล้ายกับการมอง ?โลกที่ถูกรู้? ในมิติที่สัมพัทธ์กับตัว ?ผู้รู้? นี้เช่นกัน โดยถึงแม้มูลค่าแลกเปลี่ยน (value in exchange) ของสินค้าหรือบริการในตลาดจะค่อนข้างคงที่ในช่วงเวลาหนึ่งๆ เพราะมือที่มองไม่เห็นของกลไกตลาดจะคอยควบคุมให้ราคาสินค้าปรับตัวเข้าใกล้มูลค่าตามธรรมชาติ แต่มูลค่าที่เป็นประโยชน์ใช้สอยจริงๆ (value in use) หรือที่เรียกว่า ?อรรถประโยชน์? นั้นจะไม่คงที่ เช่น ก๋วยเตี๋ยวชามที่ 1 ที่กินเข้าไปจะให้อรรถประโยชน์แก่เรามากที่สุด แต่เมื่อกินก๋วยเตี๋ยวชามที่ 2, 3 ต่อไป ประโยชน์สุขหรืออรรถประโยชน์ของก๋วยเตี๋ยวชามหลังสุดที่เรากินเข้าไป ซึ่งเรียกว่าเป็นอรรถประโยชน์หน่วยสุดท้าย (marginal utility) จะมีลดน้อยลงๆโดยลำดับ (สำหรับตัวเราที่กำลังกินก๋วยเตี๋ยวอยู่นั้น)

– ธนบัตร 1,000 บาทใบหลังสุดที่ได้เพิ่มมาในสังคม ถ้าหากถูกดูดเข้าไปอยู่ในกระเป๋าของเศรษฐีพันล้านซึ่งมีศักยภาพในการหาเงินที่เหนือกว่าคนอื่นๆ ธนบัตรดังกล่าวแทบจะไม่ก่อให้เกิดอรรถประโยชน์อะไรต่อสังคมโดยรวมเลย เพราะเศรษฐีพันล้านที่มีทุกอย่างหมดแล้วคงไม่รู้จะเอาธนบัตรพันบาทไปซื้อหาอะไรอีก แต่ถ้าธนบัตรใบนี้ตกอยู่ในมือคนจนที่มีเงินติดกระเป๋าแค่ 100 บาท คนจนผู้นั้นคงจะรีบนำเงินไปใช้ซื้อหาปัจจัยจำเป็นที่ช่วยให้ชีวิตอยู่รอดได้ต่อไป และทำให้ธนบัตรหนึ่งพันบาทใบนั้นสะพัดหมุนเวียนให้เกิดค่าทวีคูณ (multiplier effect) อันจะส่งผลทำให้อรรถประโยชน์โดยรวมของสังคม (social utility) เพิ่มมากขึ้นในมิติเชิงคุณภาพ แต่ถ้าใช้วิธียึดทรัพย์ของเศรษฐีมาเฉลี่ยแบ่งปันให้กับคนยากจนส่วนใหญ่ในสังคมแบบที่พรรคคอมมิวนิสต์กระทำ เพื่อเพิ่มอรรถประโยชน์ของผลิตผลมวลรวมที่มีต่อสังคมใน ?มิติเชิงคุณภาพ? ดังที่กล่าวมา คนเก่งๆที่มีศักยภาพก็คงไม่ทุ่มเททำงานเพื่อให้รัฐยึดทรัพย์สินที่ตนหามาได้เหล่านั้นไปแบ่งให้คนอื่น ซึ่งในที่สุดก็จะไปทำให้ผลิตผลมวลรวมของสังคม (GDP) ลดลง อันเท่ากับทำให้ประโยชน์สุขหรืออรรถประโยชน์โดยรวมของสังคมลดน้อยลงใน ?มิติเชิงปริมาณ? จนกลายเป็นความขัดแย้งภายในตัวเอง (paradox) ทั้งนี้จากสมการที่กล่าวมาเมื่อตอนหนึ่งทุ่มคือ ปัญหา (P) = ความต้องการ (D)/ สิ่งตอบสนองความต้องการ(S) หรือ P = D/S ถ้าต้องการเพิ่มค่า S ในมิติเชิงปริมาณเพื่อลดค่า P ในสมการ ค่า S ก็จะลดน้อยลงในมิติเชิงคุณภาพ ครั้นพยายามจะเพิ่มค่า S ในมิติเชิงคุณภาพ ค่า S ก็กลับลดลงในมิติเชิงปริมาณอีก ระบบสังคมเศรษฐกิจการเมืองของมนุษย์จึงแกว่งอยู่ระหว่างปลายสองด้านของลัทธิทางเศรษฐกิจการเมืองแบบคอมมิวนิสต์ กับลัทธิทางเศรษฐกิจการเมืองแบบทุนนิยมเสรีประชาธิปไตย ซึ่งล้วนแล้วแต่ประสบปัญหาทั้งคู่ เพราะข้อจำกัดของ ?paradox? ที่แฝงอยู่ในการแก้ปัญหา (ลดค่า P ในสมการ) ด้วยวิธีเพิ่มสิ่งตอบสนองความต้องการของสังคม (เพิ่มค่า S ในสมการไม่ว่าจะในมิติเชิงปริมาณหรือมิติเชิงคุณภาพเพื่อทำให้ค่า P ลดต่ำลง)

– การ ?เปลี่ยนกระบวนทัศน์? (shift paradigm) ของวิธีแก้ปัญหาด้วยการหันมาลดความต้องการส่วนเกินความพอเพียงหรือความโลภของมนุษย์ (ลดค่า D ในสมการ) ควบคู่กับการพัฒนาศักยภาพในการสร้างสิ่งตอบสนองความต้องการ (เพิ่มค่า S ในสมการ) จึงน่าจะเป็นทางออกสำหรับระบบสังคมเศรษฐกิจการเมืองของมนุษย์ท่ามกลางวิกฤติปัญหาการแย่งชิงทรัพยากรที่มีจำกัดของโลก ตลอดจนวิกฤติปัญหาสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะอย่างยิ่งความแปรปรวนของลมฟ้าอากาศอย่างสุดขั้วที่เกิดจากภาวะโลกร้อน?? ฯลฯ ขณะที่ ?ศาสนา? สามารถช่วยคลี่คลายความกลัวของมนุษย์ และลดความขัดแย้งรุนแรงจากการแก่งแย่ง ?อำนาจ? (ทั้งในมิติด้านเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม) เพื่อบรรเทาความกลัวดังกล่าว ?ศาสนาของพลเมือง? (Civic Religion) จึงทำหน้าที่เสมือนคนเฝ้าประตู (gate keeper intermediate) ที่คอยสกัดไม่ให้ความต้องการแก่งแย่ง ?อำนาจ? (Demand) ของผู้คนในสังคม ไหลบ่าเข้ามาจนระบบสังคมการเมืองนั้นๆไม่สามารถจะรองรับ (Support) และต้องล่มสลายลง ?ในเมื่อ ?ศาสนาของรัฐ? แบบจารีตนิยมที่ผูกอยู่กับความเชื่อทางศาสนาแบบเทวนิยมและลัทธิเทวสิทธิ์แก้ปัญหาของสังคมมนุษย์ไม่ได้ เพราะไม่สอดคล้องกับหลักวิทยาศาสตร์ซึ่งมีอิทธิพลครอบงำอารยธรรมมนุษย์ปัจจุบัน จนเป็นเหตุทำให้ปัญหาของสังคมมนุษย์ขยายตัวเพิ่มมากขึ้นๆ หลักพุทธปรัชญาที่สอดคล้องกับทฤษฎีทางฟิสิกส์สมัยใหม่ตามที่กล่าวมาข้างต้น จึงอาจเป็นทางออกสำคัญสำหรับการแก้ปัญหาระบบสังคมการเมืองของมนุษย์ทุกวันนี้ก็ได้ (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในหนังสือเรื่อง ?เปลี่ยนกระบวนทัศน์ใหม่ประเทศไทย? ที่มูลนิธินวชีวันพิมพ์เผยแพร่)
ad

ณ เวลาเที่ยงคืนของจุดจบชีวิต

– ทุกงานเลี้ยงย่อมมีวันเลิกรา? เที่ยงคืนของชีวิตวัยแปดสิบสี่ปีคือเวลาที่คุณจะต้องเข้านอนด้วยความอ่อนล้าเต็มทนของร่างกาย? หลังจากที่คุณเหน็ดเหนื่อยกับการทำงานมาทั้งวัน? ทำใจให้สบายๆ? ปล่อยวางสิ่งต่างๆ? งานที่คั่งค้าง ?คนที่คุณรัก ?อำนาจ-เกียรติยศ-ทรัพย์สินเงินทอง? ฯลฯ? ที่คุณจะต้องอำลาจากไปตลอดกาล? เพื่อไม่เก็บเอาไป ?ฝันร้าย? ด้วยความห่วงกังวล
12

– ถ้าเปรียบเทียบการควบคุม ?โลกทั้งหมดที่ถูกรู้?? กับการควบคุมความเร็วของเทหวัตถุทุกอย่างในเอกภพภายนอกยานอวกาศตามที่เราสังเกตเห็น? ด้วยวิธีควบคุมบังคับที่ความเร็วในยานอวกาศลำของเรา? สิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงสอนทั้งหมดก็จะเปรียบได้กับการสอนวิธีควบคุมบังคับยานอวกาศลำที่เรากำลังนั่งอยู่นั่นเอง ?แน่นอนว่าไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะสอนให้คนธรรมดาผู้หนึ่งสามารถเข้าใจเทคโนโลยีอันสลับซับซ้อนที่สุดของยานอวกาศซึ่งเคลื่อนที่ไปได้ทุกแห่งหนในเอกภพด้วยความเร็วเหนือแสงลำนี้? แต่ก็ไม่เหลือวิสัยของความเป็นไปได้ที่จะสอนให้คนธรรมดาผู้หนึ่งค่อยๆเรียนรู้วิธีควบคุมปุ่มต่างๆที่จะบังคับการเคลื่อนที่ของยานอวกาศดังกล่าว ??โดยปุ่มควบคุมสำคัญในวงจรของ ?กฎปฏิจจสมุปบาท? ก็คือ? ปุ่มควบคุมตรง ?เวทนาเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา?

ใน ?ญาณ 16? (ซึ่งคัมภีร์ชั้นอรรถกถาได้ขยายรายละเอียดเพิ่มจาก ?วิปัสสนาญาณ 9? ในพระไตรปิฎก) ?เริ่มต้นขั้นแรกด้วย ?นามรูปปริเฉทญาณ? (ญาณกำหนดรู้แยกแยะรูป-นามได้)? และ ?ปัจจยปริคคหญาณ? (ญาณกำหนดรู้ปัจจัยการปรุงแต่งแห่งนามรูปที่นำไปสู่การเห็นสิ่งต่างๆว่าเป็นอัตตาตัวตนที่ดำรงอยู่จริงอย่างเป็นวัตถุวิสัย)? ญาณสองขั้นแรกนี้ช่วยให้เข้าใจพื้นฐานของ ?สัจจะความจริง? ในลักษณะคล้ายกับสิ่งที่ทฤษฎีสัมพัทธภาพของไอน์สไตน์ได้ชี้ให้เห็น ?แต่เมื่อกำหนดรู้ละเอียดขึ้นสู่ญาณในลำดับขั้นต่อไปอันคือ ?สัมมสนญาณ? (ญาณกำหนดรู้ธรรมชาติแห่งไตรลักษณ์ของรูป-นามที่เกิด-ดับต่อเนื่องอยู่ทุกขณะเวลา)? และ ?อุทยัพพยญาณ? (ญาณที่กำหนดรู้ละเอียดขึ้นจนตัดกระแสสันตติที่ทำให้เห็นสรรพสิ่งเป็นตัวตนได้) ?ญาณขั้นที่ 3 และ 4 นี้จะช่วยให้เข้าใจพื้นฐานแห่งสัจจะความจริงของสรรพสิ่งในลักษณะคล้ายกับสิ่งที่ทฤษฎีกลศาสตร์ควอนตัม (Quantum Mechanic) ชี้ให้เห็น? โดยเมื่อสังเกตผ่านเครื่องมือการทดลองต่างๆเข้าไปภายในอนุภาคพื้นฐานที่เล็กที่สุดในอะตอมของสสาร? ปรากฏการณ์ที่นักวิทยาศาสตร์ค้นพบก็คือมีการดูดและคายพลังงานที่ทำให้อนุภาคพื้นฐานเหล่านี้เปลี่ยนสถานะเป็นพลังงานและเปลี่ยนกลับเป็นอนุภาคสลับไปมาอยู่ในทุกขณะเวลา? จนไม่อาจกล่าวได้ว่าอนุภาคที่เป็นองค์ประกอบพื้นฐานของ ?เอกภพที่ถูกรู้? นั้น? ดำรงอยู่จริงอย่างเป็นภววิสัยหรือวัตถุวิสัย ตำแหน่งแห่งที่ตรงไหนของอวกาศและเวลา ?เพราะทันทีที่กำหนดรู้อนุภาคนั้นๆก็สลายตัวเปลี่ยนไปในทุกๆขณะ

?โลกที่ถูกรู้? จึงมีลักษณะไม่แตกต่างจากภาพแต่ละเฟรมของฟิล์มภาพยนต์ที่ถูกฉายขึ้นไปปรากฏบนจอ? ลำพังภาพแต่ละเฟรมที่ปรากฏขึ้นแล้วดับไปๆนั้นไม่มีแก่นสารความหมายอะไร?? แต่การปรุงแต่งภายใน ?จิตที่เป็นผู้รู้? ซึ่งได้เชื่อมภาพที่เห็นต่อเนื่องเป็น ?กระแสสันตติ? ดังกล่าวต่างหาก? ที่ให้ ?ความหมาย? แห่งความเป็นอัตตาตัวตนของตัวละครต่างๆซึ่งแสดงบทบาทเรื่องราวให้เรารู้สึกสุข-ทุกข์ , พอใจ-ไม่พอใจ ,หัวเราะ-ร้องไห้? ฯลฯ ความรู้สึก ?พอใจเป็นสุข? (สุขเวทนา)? และ ?ไม่พอใจเป็นทุกข์? (ทุกขเวทนา)? จึงมีสถานะเสมอกันโดยสัจจะ? เพราะล้วนแต่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้น-ตั้งอยู่-ดับไปๆทั้งสิ้น ?อดีตเมื่อวินาทีที่แล้วคือ ?หลุมดำ? ซึ่งกลืนกินทุกสรรพสิ่งให้หายสาบสูญไปตลอดกาล? อนาคตคือความว่างเปล่าที่จับต้องอะไรไม่ได้? ??ความจริง? จะดำรงอยู่เพียงแค่ในแต่ละปัจจุบันขณะแล้วดับไปๆ? เหมือนพยับแดด? เหมือนสายฟ้า? เหมือนรอยที่ขีดลงบนผิวน้ำ ฯลฯ ?ถ้าเรามี ?สติ? (สติสัมโพชฌงค์), ?ปัญญา? (ธัมมวิจัยสัมโพชฌงค์), และ ?ความเพียร? (วิริยะสัมโพชฌงค์) ในการพยายาม ?เข้าถึง? สัจจะความจริงนี้? จนสามารถที่จะ ?วางเฉย? (อุเบกขาเวทนา) ต่อความรู้สึกอยากได้ อยากมี อยากเป็น ในสิ่งต่างๆได้ (เพราะเวทนาดับตัณหาจึงดับ)? ?สถานะ? (ภพ) ของสิ่งที่เคยมีบทบาทบีบคั้นกำหนดให้เราต้องดิ้นรนแสวงหา? ก็จะหมดอิทธิพลในการเป็นนายที่คอยควบคุมบังคับเราตลอดเวลา (เพราะตัณหาดับอุปาทานและภพจึงดับ) ?แล้วชีวิตก็จะเข้าถึงภาวะแห่ง ?อิสรเสรีภาพอันไพบูลย์? มากขึ้นๆ? สุดท้ายเมื่อ ?ตัวตนที่เกิดจากความกลัว? ถูกทำให้แตกตัวสลายลง (เพราะภพดับชาติจึงดับ)? เวลา, แรงงาน, ทรัพย์สินเงินทอง, สติปัญญา? ฯลฯ ?ซึ่งเคยถูกใช้เพื่อการแสวงหาสิ่งต่างๆมาบรรเทาความกลัวนั้นๆ? ก็จะถูกปลดปล่อยออกมาเป็น ?กัมมันตภาพแห่งความร่มเย็นเป็นสุข?? แผ่ขยายออกไปสู่สังคมของมวลหมู่มนุษย์? เหมือนพลังงานนิวเคลียร์อันไพศาลที่ถูกปลดปล่อยออกมาเมื่อสามารถทำให้อะตอมแตกตัวฉะนั้น

ad

ณ เวลาห้าทุ่ม (หรือ 23.00 นาฬิกาของชีวิตวัยแปดสิบปีครึ่ง)

– หลายคนอาจนอนหลับสนิทไปแล้วและกำลังอยู่ในโลกของความฝัน ไม่ว่าจะเป็นการ ?ฝันดี? หรือ ?ฝันร้าย? ก็ตาม ทั้งนี้ขณะที่ ?โลก? ซึ่งเรารับรู้ เป็นสัมพัทธภาพระหว่าง ?รูป? (สิ่งที่ถูกรู้) กับ ?นาม? (อันคือจิตที่เป็นผู้รู้) ตามนัยแห่งกฎปฏิจจสมุปบาทและทฤษฎีสัมพัทธภาพของไอน์สไตน์ดังที่ได้กล่าวมา คนที่มีจิตขุ่นมัวเพราะถูกบีบคั้นครอบงำด้วยความ ?โลภ-โกรธ-หลง? ถึงแม้จะกำลังนั่งอยู่ในคฤหาสน์ใหญ่โตที่มีสิ่งอำนวยความสุขสะดวกสบายทุกอย่างประดุจวิมานบนสวรรค์ แต่คุณภาพของ ?โลกที่คนผู้นั้นรับรู้? อันถูกฉาย (project) ออกไปจาก ?จิตที่ขุ่นมัว? ไปปรากฏบนฉากของคฤหาสน์หลังนั้นแล้วสะท้อนกลับสู่การรับรู้ของจิตดังกล่าว ก็จะปรากฏแก่คนผู้นั้นไม่แตกต่าง หรือ ?สมมูล? (equivalence) กับการตกอยู่ใน ?นรก? ขุมใดขุมหนึ่งที่เร่าร้อนจนนั่งไม่เป็นสุข?? ในทางกลับกันถึงกำลังนั่งอยู่ในกระท่อมซอมซ่อ แต่ถ้าจิตของผู้นั้นนิ่งสงบผ่องใส (แม้เพียงชั่วขณะในฌานลืมตา) ?โลกที่ถูกรู้? ซึ่งฉายออกไปจาก ?จิตที่ผ่องใส? โดยไปปรากฏบนฉากของกระท่อมซอมซ่อ ก็จะสะท้อนกลับมาให้เห็นประดุจกำลังอยู่ใน ?สวรรค์? ชั้นใดชั้นหนึ่งที่มีความประณีตงดงามเบาสบาย ในความหลับใหลอันยาวนานที่ไม่รู้ว่าจะมีโอกาสได้ตื่นขึ้นมาอีกหรือไม่เมื่อไหร่ คุณอยาก ?ฝันร้ายตกนรก? หรือ ?ฝันดีได้ขึ้นสวรรค์? แบบไหนมากกว่ากัน11

– กฎปฏิจจสมุปบาทในหลักพุทธธรรมชี้ให้เห็นว่า ?อวิชชา? (ความไม่รู้) เป็นปัจจัยให้เกิด ?สังขาร? (โครงสร้างการปรุงแต่งในภวังคจิตที่เป็นไปตามอำนาจแห่งอวิชชา) สังขารเป็นปัจจัยให้เกิด ?วิญญาณ? (โครงสร้างการรับรู้ในภวังคจิตตามอิทธิผลแห่งการปรุงแต่งของสังขาร) วิญญาณเป็นปัจจัยให้เกิด ?นาม-รูป? (โครงสร้างของภาวะความแปลกแยก ระหว่างสิ่งที่ถูกรู้หรือ ?รูป? กับจิตที่เป็นผู้รู้หรือ ?นาม? ภายใต้กระบวนการรับรู้ที่ซ่อนตัวอยู่ในรูปภาวะแฝง) นาม-รูปเป็นปัจจัยให้เกิด ?สฬายตนะ? (โครงสร้างการเชื่อมต่อระหว่างสิ่งที่ถูกรู้จากภายนอกกับจิตที่เป็นผู้รู้ภายใน) สฬายตนะเป็นปัจจัยให้เกิด ?ผัสสะ? (ภาวะจริงของกระบวนการรับรู้ในวิถีจิตที่เชื่อมสิ่งที่ถูกรู้กับจิตที่เป็นผู้รู้เข้าด้วยกัน) ผัสสะเป็นปัจจัยให้เกิด ?เวทนา? (ความรู้สึก พึงพอใจ ไม่พอใจ หรือเฉยๆ) เวทนาเป็นปัจจัยให้เกิด ?ตัณหา? (ความอยากเสพอารมณ์ความรู้สึกที่น่าพอใจและอยากผลักไสอารมณ์ความรู้สึกที่ไม่น่าพอใจออกไปให้พ้นๆ) ตัณหาเป็นปัจจัยให้เกิด ?อุปาทาน? (ความยึดถือสิ่งต่างๆที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์ความรู้สึกทั้งที่น่าพอใจและไม่น่าพึงพอใจ มาเป็นอัตตาตัวตนของสิ่งที่ดำรงอยู่จริงอย่างเป็นภววิสัยหรือวัตถุวิสัย เช่น เพราะฉันกำลังอยากได้ อยากมี อยากเป็น ฉะนั้นตัวตนของฉันจึงดำรงอยู่จริงเท่ากับขนาดของความรู้สึกอยากนั้นๆ เป็นต้น) อุปาทานเป็นปัจจัยให้เกิด ?ภพ? (สถานะของอัตตาตัวตนภายใต้ระบบความสัมพันธ์ในโลกแห่งความรู้สึก-นึก-คิด ที่เราสร้างขึ้น) ภพเป็นปัจจัยให้เกิด ?ชาติ? (การเกิดขึ้นของบทบาทพฤติกรรมต่างๆไปตามอิทธิพลภายใต้ระบบความสัมพันธ์ในภพหรือโลกแห่งความรู้สึก-นึก-คิดที่เราสร้างขึ้นดังกล่าว) ชาติเป็นปัจจัยให้เกิด ?ชรา-มรณะ-โสกะ-ปริเทวะ-ทุกข์-โทมนัส-อุปายาส? (เมื่อสถานะของสิ่งต่างๆตามที่เรารู้สึก-นึก-คิด มีความเปลี่ยนแปลงไปตามกฎไตรลักษณ์ และต้องพลัดพรากจากสิ่งที่เรารักใคร่พอใจ ต้องประสบกับสิ่งที่เราไม่รักไม่พึงพอใจ ตลอดจนปรารถนาอยากได้สิ่งใดๆแต่ไม่ได้ตามที่ต้องการดังใจ ฯลฯ ก็จะนำไปสู่ภาวะความบีบคั้นเป็นทุกข์ต่างๆตามมาในที่สุด)

?อัตตวาทุปาทาน? (การมีอุปาทานที่ไปยึดถือมโนทัศน์ซึ่งสะท้อนผ่าน ?ภาษา? มาเป็นอัตตาตัวตนที่ดำรงอยู่จริงอย่างเป็นวัตถุวิสัยของสิ่งต่างๆ) อันเป็นอุปาทานระดับที่สี่ (นอกเหนือจากกามุปาทาน, ทิฏฐุปาทาน, และสีลัพพตุปาทาน) ที่เป็นปัจจัยให้เกิด ?ภพ? จึงมีลักษณะเป็นเสมือนกรดอมิโนแต่ละตัวบนสาย DNA ที่กำหนดสายพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย ถ้าหากตำแหน่งแห่งที่ของ ?คำที่เป็นกุญแจสำคัญ? ในสายพันธุ์แห่ง ?กระบวนทัศน์? (Paradigm) ของความรู้เปลี่ยนแปลงความหมายไป ก็จะทำให้เกิดการ ?เปลี่ยนกระบวนทัศน์? (Paradigm Shift) ของ ?โลกที่ถูกรู้? (หรือ ?ภพ?) ฉะนั้นเราจึงสามารถควบคุม ?โลกภายนอกที่ถูกรู้? ได้จาก ?โลกภายในของจิตที่เป็นผู้รู้?

– การ ?ควบคุมโลกทั้งหมด? ด้วยวิธีแบบนี้จะเป็น ?สนฺทิฎฐิโก? (เป็นสิ่งที่ประจักษ์ได้ด้วยตนเองเท่านั้น) ?อกาลิโก? (เป็นกฎธรรมชาติที่ไม่จำกัดด้วยเวลา) ?โอปนยิโก? (เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาไว้ในใจ) และ ?ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญญูหิ? (เป็นสิ่งที่วิญญูชนพึงรู้ได้เฉพาะตน) อุปมาเหมือนเราต้องเข้าไปนั่งอยู่ในยานอวกาศและรู้วิธีควบคุมยานอวกาศลำที่เรานั่งเท่านั้น เราจึงจะสามารถควบคุมบังคับความเร็วของเทหวัตถุทุกอย่าง (ที่อยู่นอกยานของเรา) ได้ด้วยวิถีทางแบบนี้

ad

ณ เวลาสี่ทุ่ม (หรือ 22.00 นาฬิกาของชีวิตวัยเจ็ดสิบเจ็ดปี)

– หลายคนคงนอนหลับสนิทไปแล้วก่อนถึงเวลาสี่ทุ่ม โดยอายุเจ็ดสิบเจ็ดปีที่เวลาสี่ทุ่มของนาฬิกาแห่งชีวิตเรือนนี้ก็เข้าใกล้อายุขัยเฉลี่ยของหญิงไทยเข้าไปทุกที คุณเตรียมตัวเข้านอนเพื่อที่จะได้หลับสนิทตลอดกาลและอำลาทุกสิ่งทุกอย่าง ทั้งอำนาจ เกียรติยศชื่อเสียง และทรัพย์สมบัติที่คุณเพียรสะสมมาชั่วชีวิต รวมถึงเตรียมคำพูดเพื่อกล่าวอำลาคนที่คุณรักหรือยัง10

– แต่อันที่จริงแล้วชีวิตของเราทุกคนกำลัง ?หลับลง? ในทุกขณะเวลา และเราก็กำลังอยู่ในโลกของความฝันด้วย เพราะหลักพุทธธรรมชี้ให้เห็นสัจจะความจริงประการหนึ่งว่า เอกภพหรือ ?โลก? อันเป็น ?สิ่งที่ถูกรู้? (รูป) นั้นไม่สามารถแยกเป็นอิสระจาก ?จิตที่เป็นผู้รู้? (นาม)ได้ ขณะที่ไม่ว่าจะเป็น ?รูป? (ซึ่งเป็นสิ่งที่ถูกรู้ ) และ ?นาม? (อันคือจิตที่เป็นผู้รู้นั้น) ล้วนแล้วแต่ตกอยู่ภายใต้กฎไตรลักษณ์อันคือเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปๆในทุกขณะของเวลา (อนิจจัง) ทนตั้งอยู่ในสถานะเดิมเช่นนั้นๆไม่ได้แม้ชั่วขณะ (ทุกขัง) ตลอดจนปราศจากแก่นสารสาระแห่งการดำรงอยู่อย่างจริงแท้เป็นภววิสัยหรือวัตถุวิสัย (objective) ของสรรพสิ่งทั้งหลายทั้งปวง (อนัตตา) ฉะนั้นสิ่งที่เราเข้าใจว่าเป็น ?ความจริง? (reality) แห่งสรรพสิ่ง โดยแก่นแท้แล้วจึงเป็นเพียง ?แบบจำลอง? ของความจริงใน ?โลกแห่งความคิด? ที่เป็นเสมือนความฝันอย่างหนึ่งซึ่งเราสร้างขึ้นมาเท่านั้น

– ดังเช่นที่เราไม่สามารถสัมผัสกับ ?ความจริง? ทางภูมิศาสตร์ของประเทศไทยอันกว้างใหญ่ได้ แต่เราเข้าใจผ่านแบบจำลองของ ?แผนที่? ซึ่งเราสร้างขึ้นในโลกของความคิด (โดยต้องใช้ความคิดในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับสัญลักษณ์ต่างๆในภาพแผนที่ดังกล่าว) แม้แต่ภาพถ่ายทางอากาศก็เป็นเพียงแบบจำลองอย่างหนึ่งซึ่งไม่ใช่ความจริงทางภูมิศาสตร์ของประเทศไทย เพราะจุดเล็กๆที่เราเห็นในภาพถ่ายอาจเป็นเพียงแมลงซึ่งบังเอิญติดอยู่ที่เลนซ์กล้อง หรือภาพที่เห็นอาจไม่ตรงกับสภาพความเป็นจริงที่เปลี่ยนไป ณ เวลาขณะปัจจุบันนั้นก็ได้ เป็นต้น ยิ่งเป็น ?ความจริง? ที่ เกี่ยวกับสิ่งซึ่งมองไม่เห็น เช่น แรงโน้มถ่วง สนามแม่เหล็ก อนุภาคภายในอะตอม ฯลฯ ยิ่งต้องเข้าใจผ่าน ?แบบจำลอง? ที่เราสร้างขึ้นในโลกของความคิด อาทิ ต้องใช้ความคิดเพื่อทำความเข้าใจสัญลักษณ์ต่างๆในแบบจำลองทางคณิตศาสตร์เกี่ยวกับปรากฏการณ์ดังกล่าว เป็นต้น

– ไอน์สไตน์ได้สร้างแบบจำลองของการทดลองในโลกแห่งความคิดขึ้น โดยสมมติให้เราติดอยู่ในลิฟท์ที่หลุดออกไปในอวกาศ ในกรณีเช่นนี้ไม่ว่าเราจะใช้เครื่องมืออะไรชั่งน้ำหนักตัวเอง เราจะไม่มีทางรู้เลยว่าน้ำหนักดังกล่าวเกิดจาก ?แรงโน้มถ่วงของโลก? ที่ดึงให้ตัวเราติดกับพื้นลิฟท์ หรือเกิดจาก ?แรงของความเร่ง? ที่ลิฟท์เคลื่อนที่ไปในอวกาศและดันให้พื้นลิฟท์ติดกับตัวเรา ทำให้ไอน์สไตน์ได้ข้อสรุปว่าภายใต้กรอบอ้างอิงความจริงกรณีนี้ ?มวลโน้มถ่วง? (gravitational mass) หรือค่า m ในสมการของแรงโน้มถ่วง f = Gm1m2/r2 จะเท่ากับ ?มวลเฉื่อย? (inertial mass) หรือค่า m ในสมการของแรงเฉื่อย f = ma?? เพราะเป็นสิ่งที่ ?สมมูล? (equivalence) กัน กล่าวคือต่างมีความเหมือนกัน (identical) จนบอกความแตกต่างจากกันไม่ได้ (indistinguishable) โดย?หลักแห่งความสมมูล? (Principle of Equivalence) ก็คือหลักการพื้นฐานที่อยู่เบื้องหลังทฤษฎีสัมพัทธภาพอันโด่งดังของไอน์สไตน์ที่รู้จักกันภายใต้สมการ E = mc2 นั่นเอง

– ทฤษฎีสัมพัทธภาพที่ไอน์สไตน์ค้นพบนี้มีนัยสำคัญอันสอดคล้องกับสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงชี้ให้เห็นว่า ?โลกที่เรารับรู้? นั้น เป็นสัมพัทธภาพระหว่าง ?รูป? (อันคือสิ่งที่ถูกรู้) กับ ?นาม? (อันคือจิตที่เป็นผู้รู้) ตามนัยแห่งกฎปฏิจจสมุปบาทในพุทธปรัชญา โดยถ้าหากมียานอวกาศสองลำในอวกาศ (ภายใต้กรอบอ้างอิงความจริงที่ไม่นำเทหวัตถุอื่นๆมาพิจารณา) และเรานั่งอยู่ในยานอวกาศลำหนึ่ง ความเร็วของยานอวกาศลำที่เราเห็นข้างหน้าจะเป็นสัมพัทธภาพกับความเร็วของตัวเราที่เป็นผู้รับรู้เสมอ ในกรณีเช่นนี้เราจะมีวิธีควบคุมบังคับความเร็วของยานอวกาศลำข้างหน้าได้สองวิถีทางคือ ด้วยวิธีการส่งพลังงานรูปใดรูปหนึ่งออกไปควบคุมบังคับซึ่งทำได้ยากมากและมีข้อจำกัดมากมาย กับอีกวิถีทางหนึ่งที่กระทำได้ง่ายกว่าอย่างไม่มีขอบเขตข้อจำกัดก็คือ การหันมาควบคุมบังคับความเร็วในยานอวกาศลำของเราเอง โดยถ้าต้องการบังคับให้ยานอวกาศลำที่เห็นข้างหน้าแล่นเร็วขึ้น ก็แค่ปรับความเร็วในยานอวกาศของเราให้ช้าลง ถ้าต้องการบังคับให้ยานลำนั้นแล่นช้าลง ก็แค่ปรับความเร็วในยานอวกาศของเราให้แล่นเร็วขึ้น และถ้าต้องการควบคุมบังคับให้ยานอวกาศลำที่เห็นนั้นหยุดนิ่ง ก็เพียงแต่ปรับความเร่งในยานอวกาศของเราให้เท่ากับความเร็วของยานอวกาศลำนั้น เป็นต้น พระพุทธองค์จึงตรัสไว้ในโรหิตัสสสูตร (ตามที่ยกมาอ้างอิงแล้ว) ว่า ทรงบัญญัติโลกทั้งหมดไว้ในตัวมนุษย์ที่มี ?สัญญา? (ความจำได้หมายรู้) และ ?ใจ? (จิตที่เป็นผู้รู้)

ad

ณ เวลาสามทุ่ม (หรือ 21.00 นาฬิกาของชีวิตวัยเจ็ดสิบสามปีครึ่ง)

– ถ้าหากคนที่เกิดปี พ.ศ. 2500 มีชีวิตอยู่จนถึงปี 2575 หรือที่เวลาสามทุ่มยี่สิบหกนาทีของชีวิตวัย 75 ปี ก็จะมีโอกาสได้ร่วมเฉลิมฉลองครบรอบ 100 ปีของประชาธิปไตยไทย ซึ่ง ณ เวลานั้นประชาธิปไตยของไทยน่าจะได้รับการ ?อภิวัฒน์? สู่ความเจริญงอกงามจนหลุดพ้นจากวงจรเลวร้ายสองวงจรดังที่ได้กล่าวมาแต่แรกได้09

– ท่ามกลางวิกฤตการณ์ความขัดแย้งในระบบสังคมการเมืองไทยที่ยืดเยื้อมาตั้งแต่ปี 2549 (หรือตอนเวลาบ่ายสองโมงของนาฬิกาแห่งชีวิตเรือนนี้) ?ถ้ากลุ่มชนชั้นนำฝ่ายหนึ่งพยายามจะรักษาสถานะเดิมแห่งอำนาจ (status quo) ด้วยวิถีทางที่ไม่เป็นประชาธิปไตย มวลมหาประชาชนฝ่ายที่เรียกร้องประชาธิปไตย (ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นฝ่าย ?antithesis?) ก็คงไม่ยินยอม ขณะที่ถ้ากลุ่มชนชั้นนำอีกฝ่ายพยายามจะรักษาสถานะเดิมแห่งอำนาจของตนด้วยการเลือกตั้งตามวิถีทางแบบเดิมๆซึ่งต้องใช้เงินจำนวนมากสำหรับการหาเสียงและซื้อเสียงอันนำไปสู่ปัญหาการทุจริตคอรัปชั่น มวลมหาประชาชนอีกฝ่าย (ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นฝ่าย ?thesis?) ก็คงไม่ยินยอมเช่นกัน ผลที่สุดระบบสังคมการเมืองไทยก็ ?ถูกบีบ? ด้วยตรรกะของกฎวิภาษวิธี (Dialectic) ให้จำเป็นต้องอภิวัฒน์สู่ความเจริญงอกงามยิ่งขึ้นอีกขั้นของ ?ประชาธิปไตยที่มีคุณภาพและคุณธรรม? (ซึ่งเป็นการ ?synthesis? จุดแข็งของอุดมการณ์ทางการเมืองสองชุดเข้าด้วยกัน) เมื่อนั้นวิกฤตการณ์ความขัดแย้งในระบบสังคมการเมืองไทยถึงจะยุติลงได้ เนื่องจากฝ่ายที่เรียกร้อง ?การเมืองที่เป็นประชาธิปไตย? ก็พึงพอใจ ขณะที่ฝ่ายซึ่งเรียกร้อง ?การเมืองที่มีคุณภาพและคุณธรรม? ก็มีความพึงพอใจด้วย

– พลัง ?วาทกรรม? แห่งพระราชดำรัสเศรษฐกิจพอเพียงในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯที่อธิบายจากกรอบความคิดทางพุทธปรัชญา จึงน่าจะเป็นกุญแจสำคัญที่ช่วย ?อภิวัฒน์? ระบบสังคมการเมืองไทยให้เจริญงอกงามขึ้นได้ด้วยตรรกะดังที่กล่าวมาในตอนก่อน?? แต่เนื่องจากกลุ่มชนชั้นนำฝ่ายอนุรักษ์นิยมได้ดึงสถาบันฯมาเป็นเครื่องแบ่งแยกคนไทยจนแตกจากกันเป็นสองฝ่าย ด้วยข้อกล่าวหาเพื่อใช้สร้างความชอบธรรมในการโค่นอำนาจของรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง (ทั้งด้วยวิธีทำรัฐประหารและอาศัยขบวนการ ?ตุลาการภิวัฒน์? ที่ใช้กฎหมายแบบสองมาตรฐานเป็นเครื่องมือดำเนินการ) ว่าอีกฝ่ายเป็นพวกไม่จงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ (จึงไม่ควรอยู่ในอำนาจ) อันไปทำให้ ?สถาบันพระมหากษัตริย์? เกิดภาวะความแปลกแยกจาก ?ประชาธิปไตย? ?ฉะนั้นการจะสามารถนำ ?วาทกรรม? แห่งพระราชดำรัสเศรษฐกิจพอเพียงในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯมาสร้างเป็นอุดมการณ์ทางการเมือง เพื่อช่วยอภิวัฒน์ระบบสังคมการเมืองไทยตามสมมติฐานที่กล่าวมาได้สำเร็จ ก็ต่อเมื่อต้องหาทางคลี่คลายเงื่อนปมที่สถาบันพระมหากษัตริย์ถูก ?การเมือง? ดึงให้เป็นเครื่องแบ่งแยกคนไทยแตกจากกันเป็นสองฝ่ายให้ได้ก่อน

– ปัญหาสำคัญอีกประการหนึ่งของการนำ ?วาทกรรมแห่งเศรษฐกิจพอเพียง? มาสร้างเป็น อุดมการณ์ทางการเมืองเพื่อนำไปสู่ ?ประชาธิปไตยที่มีคุณภาพและคุณธรรม? ก็คือ การที่ผู้คนไม่เข้าใจ ?โครงสร้างส่วนลึก? (deep structure) แห่งความหมายของมโนทัศน์ที่สะท้อนผ่านภาษาคำๆนี้ดีพอ โดยคนจำนวนไม่น้อยเข้าใจแค่ ?โครงสร้างส่วนผิวพื้น? (surface structure) แห่งความหมายของคำดังกล่าว แล้วเกิดความหวาดกลัวว่าถ้าหากประชาชนมีความ ?พอเพียง? กันหมด ก็อาจขยันทำงานน้อยลง ซึ่งในที่สุดจะไปทำให้ศักยภาพการแข่งขันทางเศรษฐกิจของประเทศลดลง ผลิตผลมวลรวมประชาชาติลดต่ำลง ฯลฯ เพราะผู้คนต่างพอเพียงจนความกระตือรือร้นในการทำงาน

– อย่างไรก็ตามภายใต้ระบบเศรษฐกิจแบบ ?เสรีนิยม-ทุนนิยม? (D สูง, S สูง) ที่ได้อาศัย ?ความไม่พอเพียง? (D) ของผู้คนเป็นพลังขับเคลื่อนเพื่อสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (S) และทำให้ผู้คนแข่งขันกันกินดีอยู่ดียิ่งๆขึ้นนั้น ตรรกะของความคิดที่ว่าถ้าหากไปทำให้ผู้คนมีความพอเพียง (-D) แล้ว ความขยันทำงานเพื่อสร้างความเติบโตทางเศรษฐกิจจะลดน้อยลง (-S) ?คนที่เรียนวิชาตรรกวิทยาพื้นฐานคงรู้ดีว่าการใช้เหตุผลแบบนี้ผิดหลักตรรกะ (fallacy) ของกฎ ?Modus Tollens? เหมือนเรารู้ว่าถ้าฝนตกถนนจะเปียก แต่เรายังสรุปไม่ได้ว่าถ้าหากฝนไม่ตกแล้วถนนจะไม่เปียก เพราะมีสาเหตุอื่นนอกเหนือจากฝนที่อาจทำให้ถนนเปียกได้ เช่น มีคนเอาน้ำมาลาดถนนเพื่อลดฝุ่น เป็นต้น เราสรุปได้เพียงว่าถ้าถนนไม่เปียกแสดงว่าฝนไม่ตก นอกจากนี้ก็ไม่เป็นความจริงเสมอไปว่า ?ความไม่พอเพียง? จะทำให้ผู้คนขยันทำงานมากขึ้น เพราะบางคนอาจคิดรวยทางลัดด้วยการมัวแต่พึ่งไสยศาสตร์หรือทุจริตโกงกินก็ได้ ฯลฯ (อันคือ D สูง, S ต่ำ)

ad

ณ เวลาสองทุ่ม (หรือ 20.00 นาฬิกาของชีวิตวัยเจ็ดสิบปี)

– สองทุ่มถือได้ว่าเป็นจุดเปลี่ยนผ่านสู่ช่วงกลางคืนใกล้ถึงเวลานอนของผู้คน และวัยเจ็ดสิบปีก็ใกล้อายุขัยเฉลี่ยของชายไทยเข้าไปทุกที สำหรับคนที่เกิดปี พ.ศ. 2500 ช่วงอายุเจ็ดสิบในปีพ.ศ. 2570 คนผู้นั้นจะมีโอกาสได้ร่วมกิจกรรมสำคัญในวโรกาสแห่งปีรำลึกถึงพระบรมราชสมภพครบ 100 ปีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พระมหากษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดพระองค์หนึ่งของประวัติศาสตร์ชาติไทย08

– อันที่จริงแล้วพลังของ ?วาทกรรม? (Discourse) แห่งพระราชดำรัส ?เศรษฐกิจพอเพียง? ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ที่อธิบายจากกรอบความคิดทางพุทธปรัชญา น่าจะสามารถเชื่อม ?โครงสร้างส่วนบน? ของอุดมการณ์ทางการเมืองแบบ ?ประชาธิปไตย? ให้ประสานยึดแน่นกับ ?โครงสร้างส่วนลึก? ทางด้านจริยธรรมของสังคมไทยที่มีรากฐานมาจาก ?พระพุทธศาสนา? ได้อย่างกลมกลืน (เช่นเดียวกับที่นักคิดทางตะวันตกสามารถอธิบายหลักประชาธิปไตยให้เชื่อมกับหลักคำสอนของศาสนายิว-คริสเตียน ที่เป็นรากฐานทางอารยธรรมของประเทศทางตะวันตก จนทำให้ระบบสังคมการเมืองแบบประชาธิปไตยของประเทศทางตะวันตกมีความมั่นคงเป็นปึกแผ่น) อีกทั้งช่วยทำให้ ?พระมหากษัตริย์? กับ?ประชาธิปไตย? ภายใต้ระบอบการปกครอง (political regime) แบบ ?ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข? ที่เคยอยู่แบบเหมือนนำมาวางคู่กันเฉยๆ (juxtaposition) สามารถเชื่อมประสานเป็นเนื้อเดียวกัน (syncretism) มากขึ้น

– ในอัคคัญญสูตร ฑีฆนิกาย ปาฏิกวรรค พระพุทธเจ้าได้ตรัสเล่าเรื่องกำเนิดอำนาจรัฐด้วยคำอธิบายที่คล้ายคลึงกับทฤษฎีสัญญาประชาคมของนักคิดทางตะวันตก (แต่ชี้ให้เห็นลำดับขั้นทางตรรกะของการก่อเกิดอำนาจรัฐลึกลงไปกว่าที่ทฤษฎีสัญญาประชาคมอธิบายอีกขั้น) โดยทรงเล่าว่าในภาวะดั้งเดิมตามธรรมชาติ (state of nature) ก่อนที่จะมีอำนาจรัฐมาครอบสังคมมนุษย์นั้น เดิมทีผู้คนอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขท่ามกลางความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศน์ในธรรมชาติ ตอนเช้าเมื่อหิวขึ้นมาผู้คนก็พากันไปเก็บข้าวสาลีมาบริโภคในเวลาเช้า ตอนเย็นข้าวสาลีที่มีเมล็ดสุกก็งอกขึ้นแทนที่ ตอนเย็นเมื่อหิวขึ้นมาผู้คนก็พากันไปเก็บข้าวสาลีเพื่อบริโภคในเวลาเย็น ตอนเช้าข้าวสาลีที่มีเมล็ดสุกก็งอกขึ้นมาแทนที่ใหม่อย่างไม่ขาดพร่อง แต่ต่อมามีบางคนเกิดความโลภและความเกียจคร้านโดยไปเก็บข้าวสาลีส่วนที่ ?เกินความพอเพียงในการบริโภค? มาสะสมกักตุนไว้กินล่วงหน้า เมื่อคนอื่นเห็นเข้าก็พากันเลียนแบบทำตามและขยายขอบเขตการกักตุนสะสมเพิ่มมากขึ้นๆ ในที่สุดความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศน์ก็ถูกทำลายเพราะความ ?ไม่พอเพียง? ของมนุษย์

– ความขาดแคลนทำให้เกิดสถาบันกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สิน (property right) ขึ้นในสังคม (เหมือนในอดีตที่มีน้ำฝนให้บริโภคอย่างเหลือเฟือก็ไม่มีใครคิดเอาน้ำมาขายกัน แต่ทุกวันนี้เมื่อขาดแคลนน้ำสะอาดเพราะน้ำฝนมีมลพิษปนเปื้อน ก็มีคนเอาน้ำดื่มมาบรรจุขวดขาย เป็นต้น) สิ่งที่เกิดตามมาจากการปักปันเขตแดนเพื่อจัดสรรกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินก็คือ เริ่มมีการ ?ละเมิดสิทธิ์? และการทะเลาะวิวาทถึงขั้นทำร้ายกันจนเสียชีวิต ผลที่สุดผู้มีอาวุโสในสังคมก็มาตกลงกันเพื่อสถาปนา ?อำนาจที่เป็นทางการ? (authority) ของสังคมขึ้น ด้วยการมอบหมายให้คนผู้หนึ่งมาทำหน้าที่ว่ากล่าวคนที่ควรว่ากล่าวได้โดยชอบ ขับไล่คนที่ควรขับไล่ได้โดยชอบ ฯลฯ ส่วนคนอื่นๆจะแบ่ง ?สิทธิ? ในข้าวสาลีที่หามาได้ส่วนหนึ่งมอบให้คนผู้นั้นตอบแทนเพื่อจะได้มีเวลามาทำหน้าที่นี้ได้เต็มที่ ฉะนั้นถ้าสามารถอบรมกล่อมเกลาให้ผู้คนในสังคมเข้าถึง ?ความพอเพียง? ได้มากขึ้น และเบียดเบียนแย่งชิงทรัพยากรกันลดลงได้เท่าไร ความจำเป็นต้องพึ่งพาอำนาจรัฐเพื่อจัดระเบียบการอยู่ร่วมกันในสังคมก็จะน้อยลงเท่านั้น ส่งผลทำให้ผู้คนเข้าถึง ?สิทธิเสรีภาพ? ในภาวะดั้งเดิมตามธรรมชาติได้มากขึ้น ซึ่งก็คือเป้าหมายของ ?สังคมอุดมคติในลัทธิประชาธิปไตย? นั่นเอง

– นัยแฝง (implication) ของปรัชญาแห่ง ?เศรษฐกิจพอเพียง? จึงครอบคลุมถึงมิติของทั้ง ?ประชาธิปไตย? ที่เรารับมาจากทางตะวันตก และมิติของ ?คุณธรรมจริยธรรม? อันเป็นรากฐานเดิมของสังคมไทย ซึ่งเป็นอุดมการณ์ทางการเมืองสองเรื่องที่ยังมีความแปลกแยกจากกันในระบบสังคมการเมืองไทยดังที่กล่าวมา ?ขณะที่พระมหากษัตริย์ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งอันมีธรรมชาติที่มักจะไปแบ่งแยกประชาชนเป็นสองฝ่าย คือฝ่ายสนับสนุนกับฝ่ายที่ไม่สนับสนุนในการลงคะแนนเลือกตั้งให้ ?พระมหากษัตริย์? จึงน่าจะสามารถเป็นตัวเชื่อมประชาชนสองฝ่ายซึ่งขัดแย้งกันด้วยแนวคิดเชิงอุดมการณ์สองชุดเข้าด้วยกัน ภายใต้ ?วาทกรรมแห่งเศรษฐกิจพอเพียง? นี้ได้

ad

ณ เวลาหนึ่งทุ่ม (หรือ 19.00 นาฬิกาของชีวิตวัยหกสิบหกปีครึ่ง)

?แผนที่ชีวิต? เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการบอกเส้นทางที่ถูกต้องสำหรับการเดินทางสู่ ?จุดหมายที่พึงไปให้ถึง? โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับคนที่เหลือเวลาเดินทางอีกไม่มากนักในชีวิต ?อุดมการณ์ทางการเมือง? ที่เป็นเสมือน ?แผนที่ของระบบสังคมการเมือง? ก็มีคุณค่าความสำคัญดุจเดียวกัน ในขณะที่คนช่วงชั้นกลางของสังคมไทยใช้อุดมการณ์ ?จารีตนิยม? เพื่อต่อต้าน ?ระบอบทักษิณ? นั้น คงไม่ใช่เพราะคนช่วงชั้นกลางเหล่านั้นเป็น ?คนดี? ที่ห่วงใยเรื่องปัญหาจริยธรรมทางการเมืองมากกว่าคนไทยที่อยู่ฝ่ายตรงข้าม (ซึ่งถูกเรียกว่าเป็นฝ่าย ?คนเลว? เพราะอยู่ตรงข้ามกับฝ่าย ?คนดี?) แต่สาเหตุหนึ่งอาจเป็นเพราะถ้าสามารถปลูกฝังให้คนช่วงชั้นสูงและล่างมีจริยธรรมแห่ง ?ความพอเพียง? มากขึ้น ก็จะไม่มาแย่งชิง ?พื้นที่อำนาจ? ภายใต้โครงสร้างความเหลื่อมล้ำที่มีอยู่ไปจากตน (ดังสมมติฐานที่ได้กล่าวถึงในตอนบ่ายสามโมง)07

– อย่างไรก็ตามถ้าตัดเรื่องการแย่งชิงวาทกรรมแห่งการเป็นฝ่าย ?คนดี? หรือ ?คนเลว? ในเกมการต่อสู้ทางการเมือง แล้วมองปรากฏการณ์ของระบบสังคมการเมืองไทยในเชิงประจักษ์ การขาดกลไกทาง ?ศาสนาของรัฐ? ที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการช่วยคลี่คลาย ?ความกลัว? ที่แฝงอยู่ในจิตใจของผู้คนแบบ ?win win? ?จนทำให้ต้องหันไปพึ่ง ?อำนาจ? ทั้งในมิติทางด้านเศรษฐกิจ (ลาภ) การเมือง (ยศ) และสังคม (สรรเสริญ) เพื่อช่วยเป็นหลักประกันสำหรับบรรเทาความกลัวต่อภัยคุกคามต่างๆแบบ ?zero sum? (ดังที่ได้กล่าวถึงตอนหกโมงเย็น) ก็น่าจะเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ ?ความต้องการพื้นที่ทางการเมือง? (Demand) ของผู้คนในสังคมไทยขยายเพิ่มมากขึ้นๆ จนโครงสร้างของระบบสังคมการเมืองที่มีอยู่แต่เดิมไม่สามารถจะ ?รองรับ? (Support) ความต้องการเหล่านั้นได้ (demand overload) จึงทำให้ระบบสังคมการเมืองไทยขาดเสถียรภาพดังเช่นที่เป็นอยู่ทุกวันนี้

– ในพลสูตรเมื่อพระพุทธเจ้าได้ชี้ให้เห็น ?ความกลัวต่อภัย 5 ระดับ? ที่แฝงอยู่ในจิตใจของมนุษย์แล้ว พระพุทธองค์ได้ทรงอธิบายต่อไปถึง ?กำลัง 4 ประการ? ซึ่งจะเป็นเครื่องมือช่วยสลายความกลัวต่อภัยต่างๆดังกล่าว ได้แก่ ?กำลังที่เกิดจากปัญญา กำลังที่เกิดจากความเพียร กำลังที่เกิดจากการงานอันไม่เป็นโทษ และกำลังที่เกิดจากการสงเคราะห์ (สังคหวัตถุ)? อุปมาเหมือนเรือที่ถูกพายุพัดกระหน่ำเสียหายและลอยคออยู่กลางทะเลซึ่งเห็นแต่น้ำจรดขอบฟ้าทุกด้าน ผู้คนก็จะตกอยู่ใน ?ความกลัว? อย่างหนัก ถ้าลูกเรือสามารถซ่อมเครื่องมือบอกตำแหน่งที่ทำให้รู้พิกัดว่ากำลังอยู่ตรงจุดไหนและฝั่งอยู่ทางทิศไหน (อันเป็นเหมือนกำลังที่เกิดจากปัญญา) ความกลัวของผู้คนก็จะลดลงส่วนหนึ่ง ถ้าได้ซ่อมเครื่องยนต์จนเรือมีกำลังที่จะวิ่งต่อไปได้ (อันเป็นเหมือนกำลังที่เกิดจากความเพียร) ความกลัวของผู้คนก็จะลดลงอีกส่วนหนึ่ง ถ้าได้ประคองให้เรือค่อยๆแล่นไปสู่ฝั่งอย่างระมัดระวังใกล้เข้าๆ (ซึ่งเป็นเหมือนกำลังที่เกิดจากการงานอันไม่เป็นโทษ) ความกลัวของผู้คนก็จะยิ่งลดน้อยลงไปอีก สุดท้ายเมื่อเรือถึงฝั่งและผู้คนต่างประคับประคองกันให้ขึ้นฝั่งอย่างปลอดภัย (เพราะเมื่อหมดความกลัวที่ต้องทำเพื่อตนเอง ผู้คนก็จะสามารถสละแรงงานช่วยเหลือคนที่อ่อนแอกว่าได้อันเป็นเหมือนกำลังที่เกิดจากการสงเคราะห์) เมื่อนั้น ?ความกลัว? ก็จะหมดไปอย่างสิ้นเชิง

– อุดมการณ์ทางการเมืองชุดใดที่สามารถจะเสริมสร้างให้ผู้คนเกิดกำลังของ ?ปัญญา? โดยแก้ปัญหาต่างๆอย่างมีเหตุผล เกิดกำลังของ ?ความเพียร? ด้วยการสู้งานหนัก เกิดกำลังของ ?การงานอันไม่เป็นโทษ? โดยไม่ทำอะไรที่เป็นการเบียดเบียนตนเองและผู้อื่น ตลอดจนเกิดกำลังของ ?การสงเคราะห์? ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ระบบสังคมการเมืองนั้นๆก็จะมีเสถียรภาพที่มั่นคง ในทางกลับกันหากอุดมการณ์ทางการเมืองชุดใดชี้นำให้ผู้คนหลงเชื่ออะไรอย่างงมงายไร้เหตุผล เกียจคร้านหวังแต่คิดร่ำรวยทางลัด แสวงหาผลประโยชน์ด้วยหนทางทุจริต ตลอดจนอยู่กันอย่างเห็นแก่ตัว ระบบสังคมการเมืองนั้นๆก็จะไร้ซึ่งเสถียรภาพ

– ถ้าให้ปัญหา (P) = ความต้องการ (D) / สิ่งตอบสนองความต้องการ (S) โดยหากความต้องการของผู้คน (D) มีระดับสูงกว่าสิ่งตอบสนองความต้องการที่รองรับมากเท่าไร(S) ปัญหาของระบบสังคมการเมืองนั้นๆ (P) ก็จะเพิ่มมากขึ้น โดยทั้งนี้ถ้าแบ่งประเภทของอุดมการณ์ทางการเมืองเป็น 4 ประเภท (typology) ได้แก่ ?D สูง, S ต่ำ? (อุดมการณ์แบบไสยศาสตร์) ?D สูง, S สูง? (อุดมการณ์แบบทุนนิยม) ?D ต่ำ, S ต่ำ? (อุดมการณ์แบบฤาษีชีไพร) และ ?D ต่ำ, S สูง? (อุดมการณ์แบบ ?พุทธะ?) ระบบสังคมการเมืองที่ทำให้ ?D ต่ำ, S สูง? จะมีเสถียรภาพมากที่สุด

ad

ณ เวลาหกโมงเย็น (หรือ 18.00 นาฬิกาของชีวิตวัยหกสิบสามปี)

– หกโมงเย็นถือเป็นช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านที่สำคัญอีกจุดหนึ่งของนาฬิกาแห่งชีวิต จากการตรากตรำทำงานมาทั้งวันสู่การเตรียมพักผ่อนหลังเลิกงานเมื่ออาทิตย์เริ่มตกดิน วัยหกสิบสามปีถือว่าเข้าสู่วัยชราได้แล้ว และน่าจะใช้ช่วงเวลาหกชั่วโมงสุดท้ายที่เหลือของนาฬิกาแห่งชีวิตเพื่อการแสวงหาคำตอบเกี่ยวกับจุดหมายที่ได้เกิดมาในโลกนี้ และกำลังจะต้องอำลาจากทุกสิ่งทุกอย่างในโลกไปตลอดกาลในอีกไม่กี่ชั่วโมงข้างหน้า หลายคนจึงมักจะหันมาสนใจศาสนาเมื่อตอนแก่06

– อย่างไรก็ตามความเชื่อทางศาสนามิได้มีคุณค่าความหมายต่อปัจเจกบุคคลเท่านั้น แต่ยังเป็นสิ่งที่มีคุณค่าความสำคัญต่อทุกระบบสังคมการเมืองด้วย เพราะศาสนาสามารถช่วยคลี่คลาย ?ความกลัว? ในจิตส่วนลึกของผู้คนซึ่งมาอยู่รวมกันเป็นสังคมโดยที่ทุกฝ่ายต่างได้รับประโยชน์สุขแบบ ?win win??? เนื่องจากเป็นสิ่งที่ไม่มีขอบเขตจำกัด เช่น ถึงคนกี่ร้อยกี่พันล้านคนจะศรัทธาและหันมาพึ่งพระเจ้าเพื่อช่วยคลี่คลายความกลัวต่อภัยต่างๆในชีวิต ก็ไม่ได้เป็นอุปสรรคที่จะไปทำให้คนอื่นพึ่งพระเจ้าได้ลดน้อยลงแต่ประการใด เป็นต้น ขณะที่การหวังพึ่งพา ?อำนาจ? ไม่ว่าจะเป็นอำนาจในมิติทางเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม เพื่อเป็นหลักประกันช่วยบรรเทาความกลัวต่อภัยต่างๆนั้นมีขอบเขตจำกัด โดยถ้าคนผู้หนึ่งมีอำนาจมากขึ้นคนอื่นก็จะมีลดน้อยลงแบบ ?zero sum? ส่งผลให้เกิดความขัดแย้งจากการแย่งชิงอำนาจแห่ง ?ลาภ ยศ สรรเสริญ? ในระบบสังคมการเมืองหนึ่งๆ?? ?ศาสนาของรัฐ? จึงเป็นเงื่อนไขที่ช่วยทำให้ระบบสังคมการเมืองมีเสถียรภาพมากขึ้น

– ทั้งนี้ถึงแม้ดูเหมือนว่า ?ประชาธิปไตย? (ที่สอดคล้องกับหลักวิทยาศาสตร์) กับ ?ความเชื่อทางศาสนา? จะเป็นสิ่งที่ขัดแย้งกัน แต่นักคิดทางตะวันตกสามารถเชื่อมคำอธิบายหลักการสำคัญของประชาธิปไตยให้กลืนเข้ากับหลักการของศาสนายิว-คริสเตียน ซึ่งเป็นรากฐานของอารยธรรมทางตะวันตกได้ ด้วยการอธิบายว่า ?สิทธิเสรีภาพ? ของมนุษย์มาจากการที่พระเจ้าประทานให้ นับแต่พระองค์ได้สร้างโลกและมนุษย์คู่แรกขึ้น พร้อมกับทรงมอบสิทธิที่จะให้มนุษย์ได้บริโภคใช้สอยสิ่งต่างๆที่พระเจ้าทรงสร้างอย่าง ?เสมอภาคเท่าเทียม? (โดยไม่ได้ทรงสร้างแสงแดดอันอบอุ่นได้กับผู้หนึ่งมากกว่าอีกผู้หนึ่ง หรือไม่ได้ทรงสร้างอากาศให้คนผู้หนึ่งหายใจมากไปกว่าคนอื่นๆ ฯลฯ) ขณะเดียวกันมนุษย์ทุกคนต่างก็เป็นพี่น้องที่ล้วนสืบสายมาจากมนุษย์คู่แรกที่พระเจ้าทรงสร้าง (หรือมีความเป็น ?ภราดรภาพ?) ส่งผลทำให้หลัก ?สิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาค และความเป็นภราดรภาพ? ในลัทธิประชาธิปไตยถูกอธิบายให้เข้ากับรากฐานทางศีลธรรมและศาสนาของอารยธรรมตะวันตกได้อย่างกลมกลืน

– เพราะเมื่อ ?สิทธิเสรีภาพ? เป็นของขวัญที่พระเจ้าประทานให้กับมนุษย์ ก็จำเป็นที่มนุษย์พึงตระหนักคุณค่าของสิ่งนี้ด้วยการใช้สิทธิดังกล่าวเป็นเครื่องนำไปสู่การเข้าถึงพระเจ้า ขณะที่พึงให้ความเคารพต่อ ?สิทธิเสรีภาพของผู้อื่น? ซึ่งก็มาจากการประทานของพระเจ้าเช่นกัน (อันเป็นรากฐานของแนวคิดเรื่อง ?สิทธิมนุษยชน? ที่ถือเป็นหลักจริยธรรมสากลของประเทศต่างๆในโลกปัจจุบัน) ประชาธิปไตยของสังคมตะวันตกจึงไม่ค่อยมีปัญหามากนัก แต่เมื่อสังคมไทยนำหลักประชาธิปไตยเข้ามาใช้โดยที่ยังไม่ได้อธิบายให้เชื่อมกับรากฐานทางศีลธรรมของสังคมไทยที่มีพื้นฐานมาจากพระพุทธศาสนา โดยไปเข้าใจว่า ?สิทธิในลัทธิประชาธิปไตย? ก็คือเสรีภาพที่ผู้คนจะกระทำอะไรก็ได้ตราบเท่าที่ไม่ไปละเมิดสิทธิของผู้อื่นจนผิดกฎหมาย บนพื้นฐานของความเข้าใจประชาธิปไตยแบบนี้ในที่สุดก็ไปทำให้ผู้คน ?เห็นแก่ตัว? หรือเห็นแก่ ?สิทธิแห่งตัวกู-ของกู? มากขึ้นๆ จนส่งผลทำให้ระบบสังคมการเมืองแบบประชาธิปไตยของไทยขาดเสถียรภาพ เพราะไม่ได้เชื่อมกับโครงสร้างส่วนลึกทางด้านจริยธรรมของสังคมไทยที่ดำรงเป็นพื้นฐานอยู่ก่อน

– เมื่อถูกโจมตีเรื่องปัญหาทางด้านจริยธรรมส่วนตัว นักการเมืองบางคนจึงมักท้าทายว่าผู้ที่วิจารณ์นั้นน่าจะลาออกจากงานเดิมเพื่อมาลงสมัครรับเลือกตั้งแข่งขันกัน ประชาชนจะได้เป็นคนตัดสินและมีช่องทางเลือก ?คนดี? มาทำงานให้บ้านเมืองได้มากขึ้น (โดยไม่ใช่แค่ดีแต่นั่งตำหนิคนอื่นเท่านั้น) คุณค่าความสำคัญเรื่อง ?จริยธรรม? ในประชาธิปไตยแบบไทยๆจึงถูกลดทอนลงเหลือแค่ ?ความชอบธรรมที่มาจากการเลือกตั้ง? และตราบเท่าที่นักการเมืองได้รับการเลือกตั้งโดยไม่ให้ถูกจับได้ว่าทำผิดกฎหมายข้อไหน ก็มีความชอบธรรมที่จะเข้ามาเป็นผู้บริหารบ้านเมือง ขณะที่ถ้าหากใครมีจริยธรรมในการทำตามกฎหมายเลือกตั้งอย่างเคร่งครัดจนแพ้เลือกตั้ง ก็กลับจะถูกมองอย่างเอื้อเอ็นดูจากคู่แข่งว่า เป็นแค่ ?เด็กอนุบาลทางการเมือง? ที่ไม่เข้าใจวิธีเล่นของเกมๆนี้

ad

ณ เวลาบ่ายห้าโมงเย็น (หรือเวลา 17.00 น.ของชีวิตวัยห้าสิบเก้าปีครึ่ง)

– ชีวิตที่เดินมาถึงวัยใกล้เกษียณอายุราชการนี้น่าจะได้ผ่านประสบการณ์ต่างๆพอสมควร และมองประเด็นปัญหาทั้งหลายอย่างมีวุฒิภาวะทั้งในมิติเชิงลึกและในมิติเชิงกว้างรอบด้านมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งบรรดาผู้สูงอายุที่ยังไม่ปล่อยมือจากอำนาจทางการเมือง และมีส่วนร่วมอยู่ใน?วงจรเลวร้าย? (vicious circle) ทางการเมืองสองวงจร ของการ ?รัฐประหาร ? ยกร่างรัฐธรรมนูญ ? เลือกตั้ง ? รัฐประหาร …? กับ ?นักการเมืองซื้อเสียง ? มีอำนาจ ? โกงกิน ? ซื้อเสียง …? ที่แฝงอยู่ในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของไทยมานานถึงเกือบหนึ่งศตวรรษ แล้วช่วยกันหาทางออกจากปัญหาด้วย ?ระดับความคิดใหม่? ที่ไม่ใช่การ ?พายเรือในอ่าง? อยู่ภายใต้กรอบความคิดเดิมๆที่นำไปสู่วงจรเลวร้ายแห่งปัญหาดังกล่าว

– ในอดีตเมื่อแรงบีบคั้นจากความกลัวในลำดับขั้นที่ 4 และ 5 ทำให้มนุษย์เกิดความเชื่อในลัทธิทางศาสนาแบบเทวนิยมต่างๆ ก็มีแนวโน้มที่ผู้ปกครองบ้านเมืองจะอาศัยความเชื่อทางศาสนาแบบนี้มาเสริมสร้างเป็น ?ศาสนาของรัฐ? หรือ ?ศาสนาของพลเมือง? (Civic Religion) เพื่ออธิบายความชอบธรรมของอำนาจรัฐโดยเชื่อมโยงกับความเชื่อในทางศาสนา จนเกิดเป็น ?ลัทธิเทวสิทธิ์? (Divine Right) ขึ้น ด้วยการอธิบายว่าผู้ปกครองบ้านเมืองเป็นเทพ เป็นอวตารของเทพ หรือเป็นบุคคลที่ได้รับอาณัติจากพระเจ้าบนสวรรค์ให้มาปกครองมนุษย์บนพื้นพิภพนี้ ฯลฯ อันทำให้ผู้คนยอมรับ ?ความชอบธรรม? ของโครงสร้างความเหลื่อมล้ำระหว่างชนชั้นผู้ปกครอง (ที่เป็นเทพ) กับชนชั้นผู้ถูกปกครอง (ซึ่งเป็นมนุษย์) ขณะเดียวกันเมื่อบุตรของเทพย่อมมีสายโลหิตแห่งความเป็นเทพติดตัว จึงทำให้เกิดระเบียบแบบแผนของการสืบทอดอำนาจทางการเมืองผ่านทางสายโลหิต

– อย่างไรก็ตามเมื่อความรู้ทางวิทยาศาสตร์ถูกพัฒนาจนไปสั่นคลอนความเชื่อทางศาสนาแบบเทวนิยมที่พิสูจน์ไม่ได้ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ความชอบธรรมของอำนาจทางการเมืองในลัทธิเทวสิทธิ์ก็เกิดความสั่นคลอนตามไปด้วย และมีนักคิดที่พยายามอธิบาย ?ความชอบธรรม? ของอำนาจรัฐโดยไม่อิงกับความเชื่อทางศาสนาแบบเดิม จนเกิด ?ทฤษฎีสัญญาประชาคม? (Social Contract Theory) อันเป็นรากฐานของลัทธิการเมืองแบบ ?ประชาธิปไตย? ขึ้นในโลก

– ทฤษฎีสัญญาประชาคมตั้งอยู่บนสมมติฐานว่า มนุษย์ทุกคนเกิดมาพร้อมกับแก่นสารคุณค่า (Virtue) อย่างหนึ่งอันคือ ?สิทธิเสรีภาพ? ที่มีอยู่ในทุกคน แต่ความจำเป็นที่มนุษย์ต้องมาอยู่รวมกันเป็นระบบสังคมเพื่อช่วยกันต่อสู้กับภัยคุกคามต่างๆ ทำให้มนุษย์หันมาทำข้อตกลงร่วมกันเป็น ?สัญญาประชาคม? (Social Contract) ว่า ทุกคนจะยินยอมสละสิทธิเสรีภาพส่วนตัวจำนวนหนึ่งเพื่อสถาปนา ?อำนาจที่เป็นทางการ? ของสังคมขึ้น สำหรับเป็นเครื่องมือช่วยปกป้อง ?สิทธิเสรีภาพส่วนใหญ่? (ที่เหลือ) ของผู้คน เช่นทุกคนยินยอมสละ ?สิทธิ?ในทรัพย์สินที่หามาได้ส่วนหนึ่ง เป็นเงินภาษีให้รัฐนำไปจ้างตำรวจและทหารมาช่วยปกป้องสิทธิเสรีภาพในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน เพื่อไม่ให้ถูกปล้นชิงทั้งจากโจรผู้ร้ายหรือชนชาติอื่นที่มารุกราน เป็นต้น

– เมื่อ ?ความชอบธรรม? ของอำนาจรัฐเกิดเนื่องมาจากประชาชนที่มาร่วมกันทำข้อตกลงสถาปนาอำนาจรัฐขึ้น รัฐก็มีความจำเป็นตามตรรกะที่จะต้องใช้อำนาจนั้นปฏิบัติต่อประชาชนทุกคนอย่าง ?เสมอภาคเท่าเทียม? ภายใต้กฎหมายต่างๆที่เกิดจากพันธะแห่งสัญญาประชาคมดังกล่าว แต่สัญญาใดๆย่อมอาจถูกฉีกทิ้งได้เสมอถ้าผู้ร่วมทำสัญญาต่างจ้องหาช่องเอาเปรียบหักหลังกัน โดยสัญญานั้นจะมีความมั่นคงก็ต่อเมื่อผู้ร่วมทำสัญญาต่างมีความรู้สึกนึกคิดว่าเป็น ?พวกเดียวกัน? (หรือมีความเป็น ?ภราดรภาพ? ) จนมีความจริงใจที่จะช่วยเหลือกันตามกรอบพันธะสัญญานั้นๆ ด้วยเหตุนี้ ?สิทธิเสรีภาพ? (Liberty) ?ความเสมอภาค? (Equality) และ ?ความเป็นภราดรภาพ? (Fraternity) จึงกลายเป็น ?เงื่อนไขจำเป็น? (necessary condition) สามเสาหลักของประชาธิปไตย

– อริสโตเติ้ลนักปรัชญาชาวกรีกที่ถือเป็นบิดาของวิชารัฐศาสตร์ เรียกองค์ความรู้ทางด้านรัฐศาสตร์ว่า ?ศาสตร์สถาปัตยกรรมรัฐ? (Architectonic Science) โดยเปรียบเทียบระบอบการเมืองกับสถาปัตยกรรมสิ่งก่อสร้าง ที่ต้องออกแบบโครงสร้างแต่ละส่วนเพื่อให้สามารถรองรับน้ำหนักและมีการถ่วงดุลกันอย่างเหมาะสม อาคารสิ่งก่อสร้างนั้นๆถึงจะมีความมั่นคงแข็งแรง มองในแง่นี้หลัก ?สิทธิเสรีภาพและความเสมอภาค? ก็จัดเป็น ?โครงสร้างส่วนบน? (เหมือนโครงสร้างอาคารส่วนที่อยู่เหนือพื้นดินซึ่งมองเห็นได้ชัด) ขณะที่หลัก ?ภราดรภาพ? จะเป็น ?โครงสร้างส่วนลึก? (เหมือนโครงสร้างอาคารส่วนที่อยู่ใต้ดินซึ่งมองเห็นยาก) ของการเมืองในระบอบประชาธิปไตย

ad

ณ เวลาบ่ายสี่โมง (หรือ 16.00 นาฬิกาของชีวิตวัยห้าสิบหกปี)

– ปลายปี 2556 ได้เกิดวิกฤตการณ์ทางการเมืองครั้งใหญ่อีกระลอกอันเป็นผลสืบเนื่องจากการทำรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 แล้วมีการกำหนดนโยบายในการแก้ปัญหาบ้านเมืองผิดพลาดจนกลายเป็นความขัดแย้งยืดเยื้อดังที่กล่าวมา ซึ่งในที่สุดการเมืองไทยก็ ?พายเรือในอ่าง? ครบอีกหนึ่งรอบ โดยวนกลับมาสู่การทำรัฐประหารเป็นครั้งที่ 11 เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 เพื่อฉีกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับที่ 18 และประกาศใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราวฉบับที่ 19 ตลอดจนตั้งสภาปฏิรูปแห่งชาติมายกร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่ 20 เราต้อง ?พายเรืออยู่ในอ่าง? เช่นนี้ต่อไปอีกกี่รอบถึงจะหลุดจากวงจรเลวร้ายทางการเมืองนี้ได้04

– ถ้ารากเหง้าสำคัญแห่งปัญหาความไร้เสถียรภาพของระบบสังคมการเมืองไทยซึ่งยังไม่ได้รับการแก้ไข อยู่ที่ภาวะ ?ความแปลกแยก? ของอุดมการณ์ทางการเมืองสองชุดที่ซ่อนอยู่ในระบบสังคมการเมืองไทยตามสมมติฐานที่กล่าวมา การหันมาใส่ใจกับปัญหาในทางปรัชญาการเมืองที่ดูเหมือนเป็นความคิดทางนามธรรมอันเลื่อนลอยนั้น ก็อาจเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับสังคมไทย

?อุดมการณ์ทางการเมือง? (Political Ideology) เป็นเรื่องที่มีความสำคัญต่อระบบสังคมการเมืองหนึ่งๆ ก็เพราะเปรียบเสมือน ?แผนที่? ซึ่งช่วยบอก ?จุดหมายปลายทาง? ที่พึงไปให้ถึง ตลอดจน ?ตำแหน่งแห่งที่? ของระบบสังคมการเมืองนั้นๆ และ ?ทิศทาง? ที่ต้องขับเคลื่อนจากตำแหน่งปัจจุบันเพื่อไปสู่จุดหมายที่พึงปรารถนาดังกล่าวในอนาคต (อันจะช่วยตอบสนองต่อความต้องการในลำดับขั้นที่ 5 หรือช่วยคลี่คลายความกลัวในลำดับขั้นสุดท้ายของผู้คน ตามทฤษฎีความต้องการตามลำดับขั้น 5 ขั้นของมาสโลว์ และความกลัวต่อภัย 5 ระดับในพลสูตรดังที่กล่าวมาแล้ว)

– ถ้าในระบบสังคมการเมืองหนึ่งๆมี ?แผนที่? ซึ่งมีรายละเอียดแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญสองฉบับ โดยต่างมีผู้คนจำนวนมากที่เชื่อมั่นในความถูกต้องของแผนที่แต่ละฉบับ ความสับสนก็ย่อมเกิดขึ้นอย่างแน่นอนว่า เราควรขับเคลื่อนบ้านเมืองไปทางทิศไหนถึงจะ ?ถูกต้อง? หรือเป็นหนทางที่ ?ดี? ที่จะนำพาประเทศชาติไปสู่ ?ความเจริญงอกงาม??? เมื่อผู้คนที่เชื่อความถูกต้องของแผนที่ฉบับหนึ่งพยายามผลักดันให้บ้านเมืองขับเคลื่อนไปในทิศทางนั้นๆ เพราะเห็นว่าเป็นหนทางที่สามารถนำพาประเทศไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง ?ฝ่ายที่ยึดความถูกต้องของแผนที่อีกฉบับก็อาจเห็นในทางตรงข้ามว่า ถ้าขืนพัฒนาประเทศชาติไปในทิศทางนั้นๆแล้วจะเจอกับทางตันและเหวลึก อันต้องพยายามขัดขวางเพื่อไม่ให้นำพาบ้านเมืองไปสู่ความหายนะ ดังนี้ก็จะเกิดความขัดแย้งในสังคมขึ้นอย่างรุนแรงและกินลึกได้ เพราะเป็นความขัดแย้งบนพื้นฐานของความเชื่อว่าฝ่ายตน ?ถูก? หรือ ?ดี? ขณะที่อีกฝ่าย ?ผิด? หรือ ?เลว?

– ทหารรับจ้างที่เข้าทำสงครามเพราะอามิสสินจ้าง อันเป็นสิ่งตอบสนองความต้องการในลำดับขั้นต้นๆทางกายภาพของชีวิต มักสู้รบด้วยความจริงจังกล้าหาญน้อยกว่าทหารที่ทำสงครามด้วยความเชื่อมั่นในอุดมการณ์บางอย่างอันเป็นสิ่งตอบสนองความต้องการที่ลึกกว่าของชีวิต เพราะถ้าตนเองต้องล้มตายจากการสู้รบไปแล้ว เงินตอบแทนที่ไม่มีโอกาสได้ใช้นั้นจะมีประโยชน์อะไร แต่ถ้าเชื่อว่าต่อสู้เพื่อคุณความดีบางอย่าง ถึงตัวตายก็จะได้ไปอยู่บนสวรรค์หรือเกิดใหม่ในภพชาติที่ดีกว่าเดิม ก็จะสู้อย่างจริงจังโดยไม่กลัวตาย เป็นต้น ข้อนี้ฉันใดความขัดแย้งที่เกิดจากความเชื่อในอุดมการณ์ทางการเมืองที่แตกต่างกัน ก็มักจะนำไปสู่การต่อสู้ที่รุนแรงยืดเยื้อ และเจรจาตกลงกันได้ยากกว่าการต่อสู้เพื่อแย่งชิงอำนาจหรือผลประโยชน์ในกรณีทั่วๆไปเฉกเช่นเดียวกันฉันนั้น

– ถ้าเกิดความขัดแย้งระหว่างผู้คนสองฝ่ายเพราะต่างฝ่ายต่างเชื่อในความถูกต้องของแผนที่ซึ่งตนเคยใช้นำทางอย่างได้ผลมาก่อน กรณีเช่นนี้ต้องนำแผนที่ทั้งสองฉบับมาสอบทานกันเพื่อดูว่าจุดไหนที่ตรงกัน จุดไหนที่แตกต่างกัน สำหรับจุดที่มีความแตกต่างก็ช่วยกันหาหลักฐานต่างๆมาพิสูจน์ยืนยัน เพื่อหาข้อยุติที่จะทำให้แผนที่สองฉบับรวมเป็นฉบับเดียวให้ได้มากที่สุด แล้วทดลองนำแผนที่นั้นไปใช้งานในภาคสนาม หากตรวจพบว่าไม่ตรงกับความเป็นจริงทางภูมิศาสตร์ตรงจุดไหนค่อยพิจารณาปรับปรุงแก้ไขให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นต่อไป ดังนี้ความขัดแย้งก็น่าจะค่อยๆคลี่คลายลงได้ ข้อนี้ฉันใดการแก้ปัญหาความขัดแย้งเชิงความคิดทางอุดมการณ์ทางการเมืองที่แฝงอยู่ในระบบสังคมการเมืองไทยมานานถึงกว่า 82 ปี นับตั้งแต่การปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองแผ่นดินเมื่อปี พ.ศ. 2475 ก็น่าจะกระทำด้วยวิธีที่คล้ายคลึงกันฉันนั้น

ad