ณ เวลาตีสอง (หรือ 2 นาฬิกาของชีวิตวัยเจ็ดขวบ)

– กระบวนการเรียนรู้ของเด็กเริ่มต้นตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา และพัฒนาการอย่างต่อเนื่องรวดเร็วก่อนจะเข้าโรงเรียนอนุบาล (ซึ่งเป็นการเรียนรู้ในระบบการศึกษาที่เป็นทางการของสังคม) การเรียนรู้ในช่วงเวลา 1?2 ชั่วโมงแรกของนาฬิกาแห่งชีวิตจะมีความสำคัญมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีอิทธิพลต่อการวาง ?โครงสร้างพื้นฐานของจิตไร้สำนึก? ส่วนที่เป็น ?ซุปเปอร์อีโก้? หรือสำนึกในเรื่อง ?ความดี-ความชั่ว? ต่างๆ ถ้าหากกระบวนการเรียนรู้ของชีวิตในช่วงแรกเริ่มดังกล่าวผิดพลาด บุคคลผู้นั้นอาจเติบโตขึ้นกลายเป็นอาชญากรเลือดเย็น โดยสามารถจะก่ออาชญากรรมที่เป็นภัยร้ายแรงต่อสังคม อาทิ การฆ่าคนตายอย่างโหดร้ายทารุณ ด้วยความรู้สึกไม่สะทกสะท้านอะไรเลยต่อบาปกรรมที่กระทำลงไปนั้นๆ เป็นต้น
14

– เปรียบเหมือนสีที่แต้มลงบนแผ่นกระดาษขาวดังที่กล่าวมาแล้ว ถึงจะเอาสีอื่นมาระบายทับอีกกี่ชั้นจนมองไม่เห็นสีเดิมนั้นก็ตาม แต่สีที่แต้มลงไปครั้งแรกก็ไม่ได้หายไปไหน ถ้าลบสีที่ระบายทับในภายหลังออกด้วยยางลบ สีพื้นเดิมก็จะปรากฏตัวออกมาให้เห็นได้อีก

– อันที่จริงพระพุทธศาสนาเชื่อว่า ?วิญญาณธาตุ? หรือ ?ธาตุรู้? ที่แฝงอยู่ในชีวิตตั้งแต่ตอนเป็นทารกที่ปฏิสนธิอยู่ในครรภ์มารดานั้น มีคุณลักษณะบางอย่างติดตัวมาแต่เดิมอยู่แล้ว (เหมือนสีพื้นเดิมบนแผ่นกระดาษ) ที่เรียกว่าเป็น ?อนุสัยอาสวะ? คล้ายกับโปรแกรมซอฟแวร์ที่ฝังอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่ในภาวะที่เครื่องคอมพิวเตอร์ปิดอยู่ โปรแกรมเหล่านั้นก็จะซ่อนตัวอยู่ในรูปของภาวะแฝง (Potentiality) อันไม่สามารถแสดงบทบาทอิทธิพลอะไร ต่อเมื่อได้เปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งก็คือการอุบัติของชีวิตเพื่อให้ ?วิญญาณธาตุ? หรือ ?ธาตุรู้? ได้ทำงานผ่านอายตนะต่างๆ เราจึงสามารถสังเกตเห็นบทบาทของโปรแกรมในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ปรากฏตัวสู่ภาวะจริง (Actuality) ตลอดจนสามารถจะเข้าไปเปลี่ยนแปลงแก้ไขโปรแกรมเดิม หรือ Download โปรแกรมใหม่ลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ได้

– เมื่อเราเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ เราต้องใช้เวลาสักครู่หนึ่งสำหรับการดึงโปรแกรมต่างๆที่อยู่ในเครื่องให้ทำงานได้ฉันใด ชีวิตก็ต้องใช้เวลาสำหรับการดึงโปรแกรมใน ?วิญญาณธาตุ? ให้เริ่มทำงานเช่นเดียวกันฉันนั้น พระพุทธศาสนาจึงถือว่าต้องรอให้เด็กมีวุฒิภาวะตั้งแต่วัยเจ็ดขวบขึ้นไป ถึงจะรู้เดียงสาพอสำหรับการเรียนรู้เพื่อให้เข้าถึงธรรม ( เช่น ให้บวชเป็นสามเณรได้ เป็นต้น)

– ตีสองของนาฬิกาแห่งชีวิตวัยเจ็ดขวบ จึงเป็นหลักบอกเวลาสำคัญจุดหนึ่งเพราะเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านจากชีวิตของเด็กลูกแหง่ สู่ชีวิตทางการศึกษาที่เด็กจะต้องเริ่มเรียนรู้การพึ่งตัวเอง เพื่อให้สามารถอยู่ในสังคมซึ่งประกอบด้วยคนแปลกหน้าต่างๆมากมายที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของตน นอกเหนือจากพ่อแม่และคนใกล้ชิดในครอบครัวเพียงไม่กี่คนที่เห็นหน้ากันมาตั้งแต่เกิดเท่านั้น

ad

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *