ณ เวลาเก้าโมงเช้า (หรือ 9 นาฬิกาของชีวิตวัยสามสิบเอ็ดปีครึ่ง)

– เก้าโมงเช้าน่าจะเป็นช่วงเวลาเข้าทำงานในรอบสาย โดยสำหรับผู้คนจำนวนหนึ่งอาจเพิ่งเริ่มต้นชีวิตการงานที่มั่นคงและเริ่มสร้างครอบครัวในวัยย่างเข้าเลขสามนี้ หลายคนต้องทำงานหนักเพื่อหาเงินผ่อนบ้าน ผ่อนรถ และเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับการศึกษาของลูก การแสวงหาสิ่งตอบสนองความต้องการสองลำดับขั้นแรกเพื่อปัจจัยจำเป็นในการดำรงชีพ ตลอดจนเพื่อสร้างความมั่นคงของครอบครัว ยังคงเป็นพันธกิจหลักในช่วงเวลาเก้าโมงเช้าของนาฬิกาแห่งชีวิต
09

– หลักธรรมเรื่อง ?ทิฎฐธัมมิกัตถประโยชน์? ของพระพุทธศาสนา สอนให้รู้จักวิธีบริหารจัดการเพื่อให้ ?รายรับท่วมรายจ่าย? อย่าให้ ?รายจ่ายท่วมรายรับ? ด้วยการขยันหมั่นเพียรทำงานรวมถึงการขวนขวายหาความรู้เพื่อยกระดับศักยภาพของตนเอง (อุฎฐานสัมปทา) บริหารรักษาเงินที่หามาได้เพื่อให้มีเงินออมเหลือเก็บ (อารักขสัมปทา) คบหาสมาคมกับกลุ่มเพื่อนที่ดีและเลือกเข้าสังคมที่ดี (กัลยานมิตตตา) ตลอดจนใช้ชีวิตให้เหมาะสมกับสถานะทางเศรษฐกิจ มีน้อยใช้น้อย มีมากใช้มาก (สมชีวิตา) ถ้าได้ปฏิบัติตามกฎสี่ข้อนี้อย่างเคร่งครัด ก็น่าจะสอบผ่านการแสวงหาสิ่งตอบสนองความต้องการสองลำดับขั้นแรกดังที่กล่าวมาได้อย่างราบรื่น

– หลักการข้อสุดท้ายของ ?ทิฎฐธัมมิกัตถประโยชน์? อันคือ ?สมชีวิตา? นั้น มีความหมายกว้างขวางที่ครอบคลุมถึงการรู้จักใช้ชีวิตอย่างเหมาะสมถูกต้อง ไม่ใช่รสนิยมสูงแต่รายได้ต่ำจนต้องกู้หนี้ยืมสินมาใช้บริโภค ขณะที่คนซึ่งมีรายได้สูงก็ให้รู้จักการใช้จ่ายเงินเพื่อสร้างประโยชน์สุขในชีวิตอย่างสมฐานะ โดยไม่ใช่ตระหนี่ขี้เหนียวจนเกินเหตุ อันจะช่วยสะพัดเงินที่เก็บสะสมไว้ให้เกิดอรรถประโยชน์ต่อสังคม (social utility) และเมื่อมีสิ่งอำนวยความสุขความสะดวกสบายในชีวิตพอสมควร อีกทั้งครอบครัวก็มีหลักประกันของฐานะทางเศรษฐกิจที่มั่นคงแล้ว ก็ใช้เงินที่เหลือสร้างประโยชน์สุขให้กับสังคมส่วนรวม เพื่อยกระดับชีวิตสู่การแสวงหาความยอมรับจากสังคม (social needs) ตลอดจนการสร้างความภาคภูมิใจให้กับชีวิตของตนเองและวงศ์ตระกูลเพื่อให้ผู้คนได้จดจำ (self esteem) อันเป็นลำดับขั้นที่ 3 และ 4 ของเส้นทางเดินชีวิต โดยไม่ติดแค่การแสวงหาความต้องการอยู่ในสองลำดับขั้นแรกตามที่กล่าวมาเท่านั้น

– มีข้อน่าสังเกตว่าหลักทิฎฐธัมมิกถประโยชน์ข้อที่ 1, 2 และ 4 เป็นเรื่องที่หนักไปทางด้าน ?ปัจจัยภายใน? ที่เกี่ยวข้องกับวินัยของการทำงานเพื่อหาทรัพย์สินเงินทอง และการบริหารจัดการเพื่อรักษาทรัพย์สินที่หามาได้ให้มั่นคง ?ตลอดจนให้รู้จักการใช้จ่ายเงินอย่างเหมาะสมตามฐานะ แต่หลักการข้อที่ 3 นั้นเป็นเรื่อง ?ปัจจัยภายนอก? ของมิติทางสังคมเกี่ยวกับการมีเพื่อนฝูงลักษณะต่างๆ อันชี้ให้เห็นว่าพระพุทธศาสนาให้น้ำหนักความสำคัญกับอิทธิพลของกระบวนการเรียนรู้ในมิติทางสังคม ที่มีต่อแบบชีวิต (form of life) หรือพฤติกรรมในการใช้ชีวิตของผู้คนเป็นอย่างมาก จนถึงกับกำหนดให้เป็นหลักปฏิบัติสำคัญข้อหนึ่งของการรู้จักเลือกเข้าสังคมที่เหมาะสม

– สภาพสังคมสิ่งแวดล้อมซึ่งเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับมิติทางด้านสังคมเศรษฐกิจและการเมืองจึงมีอิทธิพลต่อการเดินทางเพื่อไปสู่บรรทัดสุดท้ายแห่งเป้าหมายที่พึงปรารถนาในชีวิต การมีส่วนร่วมพัฒนาระบบสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง ที่เราแต่ละคนได้อาศัยเพื่อการมีชีวิตอยู่นี้จึงน่าจะถือเป็นความรับผิดชอบและพันธกิจสำคัญส่วนหนึ่งของชีวิตด้วย

ad

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *