ณ เวลาหกโมงเย็น (หรือ 18.00 นาฬิกาของชีวิตวัยหกสิบสามปี)

– หกโมงเย็นถือเป็นช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านที่สำคัญอีกจุดหนึ่งของนาฬิกาแห่งชีวิต จากการตรากตรำทำงานมาทั้งวันสู่การเตรียมพักผ่อนหลังเลิกงานเมื่ออาทิตย์เริ่มตกดิน วัยหกสิบสามปีถือว่าเข้าสู่วัยชราได้แล้ว และน่าจะใช้ช่วงเวลาหกชั่วโมงสุดท้ายที่เหลือของนาฬิกาแห่งชีวิตเพื่อการแสวงหาคำตอบเกี่ยวกับจุดหมายที่ได้เกิดมาในโลกนี้ และกำลังจะต้องอำลาจากทุกสิ่งทุกอย่างในโลกไปตลอดกาลในอีกไม่กี่ชั่วโมงข้างหน้า หลายคนจึงมักจะหันมาสนใจศาสนาเมื่อตอนแก่06

– อย่างไรก็ตามความเชื่อทางศาสนามิได้มีคุณค่าความหมายต่อปัจเจกบุคคลเท่านั้น แต่ยังเป็นสิ่งที่มีคุณค่าความสำคัญต่อทุกระบบสังคมการเมืองด้วย เพราะศาสนาสามารถช่วยคลี่คลาย ?ความกลัว? ในจิตส่วนลึกของผู้คนซึ่งมาอยู่รวมกันเป็นสังคมโดยที่ทุกฝ่ายต่างได้รับประโยชน์สุขแบบ ?win win??? เนื่องจากเป็นสิ่งที่ไม่มีขอบเขตจำกัด เช่น ถึงคนกี่ร้อยกี่พันล้านคนจะศรัทธาและหันมาพึ่งพระเจ้าเพื่อช่วยคลี่คลายความกลัวต่อภัยต่างๆในชีวิต ก็ไม่ได้เป็นอุปสรรคที่จะไปทำให้คนอื่นพึ่งพระเจ้าได้ลดน้อยลงแต่ประการใด เป็นต้น ขณะที่การหวังพึ่งพา ?อำนาจ? ไม่ว่าจะเป็นอำนาจในมิติทางเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม เพื่อเป็นหลักประกันช่วยบรรเทาความกลัวต่อภัยต่างๆนั้นมีขอบเขตจำกัด โดยถ้าคนผู้หนึ่งมีอำนาจมากขึ้นคนอื่นก็จะมีลดน้อยลงแบบ ?zero sum? ส่งผลให้เกิดความขัดแย้งจากการแย่งชิงอำนาจแห่ง ?ลาภ ยศ สรรเสริญ? ในระบบสังคมการเมืองหนึ่งๆ?? ?ศาสนาของรัฐ? จึงเป็นเงื่อนไขที่ช่วยทำให้ระบบสังคมการเมืองมีเสถียรภาพมากขึ้น

– ทั้งนี้ถึงแม้ดูเหมือนว่า ?ประชาธิปไตย? (ที่สอดคล้องกับหลักวิทยาศาสตร์) กับ ?ความเชื่อทางศาสนา? จะเป็นสิ่งที่ขัดแย้งกัน แต่นักคิดทางตะวันตกสามารถเชื่อมคำอธิบายหลักการสำคัญของประชาธิปไตยให้กลืนเข้ากับหลักการของศาสนายิว-คริสเตียน ซึ่งเป็นรากฐานของอารยธรรมทางตะวันตกได้ ด้วยการอธิบายว่า ?สิทธิเสรีภาพ? ของมนุษย์มาจากการที่พระเจ้าประทานให้ นับแต่พระองค์ได้สร้างโลกและมนุษย์คู่แรกขึ้น พร้อมกับทรงมอบสิทธิที่จะให้มนุษย์ได้บริโภคใช้สอยสิ่งต่างๆที่พระเจ้าทรงสร้างอย่าง ?เสมอภาคเท่าเทียม? (โดยไม่ได้ทรงสร้างแสงแดดอันอบอุ่นได้กับผู้หนึ่งมากกว่าอีกผู้หนึ่ง หรือไม่ได้ทรงสร้างอากาศให้คนผู้หนึ่งหายใจมากไปกว่าคนอื่นๆ ฯลฯ) ขณะเดียวกันมนุษย์ทุกคนต่างก็เป็นพี่น้องที่ล้วนสืบสายมาจากมนุษย์คู่แรกที่พระเจ้าทรงสร้าง (หรือมีความเป็น ?ภราดรภาพ?) ส่งผลทำให้หลัก ?สิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาค และความเป็นภราดรภาพ? ในลัทธิประชาธิปไตยถูกอธิบายให้เข้ากับรากฐานทางศีลธรรมและศาสนาของอารยธรรมตะวันตกได้อย่างกลมกลืน

– เพราะเมื่อ ?สิทธิเสรีภาพ? เป็นของขวัญที่พระเจ้าประทานให้กับมนุษย์ ก็จำเป็นที่มนุษย์พึงตระหนักคุณค่าของสิ่งนี้ด้วยการใช้สิทธิดังกล่าวเป็นเครื่องนำไปสู่การเข้าถึงพระเจ้า ขณะที่พึงให้ความเคารพต่อ ?สิทธิเสรีภาพของผู้อื่น? ซึ่งก็มาจากการประทานของพระเจ้าเช่นกัน (อันเป็นรากฐานของแนวคิดเรื่อง ?สิทธิมนุษยชน? ที่ถือเป็นหลักจริยธรรมสากลของประเทศต่างๆในโลกปัจจุบัน) ประชาธิปไตยของสังคมตะวันตกจึงไม่ค่อยมีปัญหามากนัก แต่เมื่อสังคมไทยนำหลักประชาธิปไตยเข้ามาใช้โดยที่ยังไม่ได้อธิบายให้เชื่อมกับรากฐานทางศีลธรรมของสังคมไทยที่มีพื้นฐานมาจากพระพุทธศาสนา โดยไปเข้าใจว่า ?สิทธิในลัทธิประชาธิปไตย? ก็คือเสรีภาพที่ผู้คนจะกระทำอะไรก็ได้ตราบเท่าที่ไม่ไปละเมิดสิทธิของผู้อื่นจนผิดกฎหมาย บนพื้นฐานของความเข้าใจประชาธิปไตยแบบนี้ในที่สุดก็ไปทำให้ผู้คน ?เห็นแก่ตัว? หรือเห็นแก่ ?สิทธิแห่งตัวกู-ของกู? มากขึ้นๆ จนส่งผลทำให้ระบบสังคมการเมืองแบบประชาธิปไตยของไทยขาดเสถียรภาพ เพราะไม่ได้เชื่อมกับโครงสร้างส่วนลึกทางด้านจริยธรรมของสังคมไทยที่ดำรงเป็นพื้นฐานอยู่ก่อน

– เมื่อถูกโจมตีเรื่องปัญหาทางด้านจริยธรรมส่วนตัว นักการเมืองบางคนจึงมักท้าทายว่าผู้ที่วิจารณ์นั้นน่าจะลาออกจากงานเดิมเพื่อมาลงสมัครรับเลือกตั้งแข่งขันกัน ประชาชนจะได้เป็นคนตัดสินและมีช่องทางเลือก ?คนดี? มาทำงานให้บ้านเมืองได้มากขึ้น (โดยไม่ใช่แค่ดีแต่นั่งตำหนิคนอื่นเท่านั้น) คุณค่าความสำคัญเรื่อง ?จริยธรรม? ในประชาธิปไตยแบบไทยๆจึงถูกลดทอนลงเหลือแค่ ?ความชอบธรรมที่มาจากการเลือกตั้ง? และตราบเท่าที่นักการเมืองได้รับการเลือกตั้งโดยไม่ให้ถูกจับได้ว่าทำผิดกฎหมายข้อไหน ก็มีความชอบธรรมที่จะเข้ามาเป็นผู้บริหารบ้านเมือง ขณะที่ถ้าหากใครมีจริยธรรมในการทำตามกฎหมายเลือกตั้งอย่างเคร่งครัดจนแพ้เลือกตั้ง ก็กลับจะถูกมองอย่างเอื้อเอ็นดูจากคู่แข่งว่า เป็นแค่ ?เด็กอนุบาลทางการเมือง? ที่ไม่เข้าใจวิธีเล่นของเกมๆนี้

ad

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *