– ถ้าหากคนที่เกิดปี พ.ศ. 2500 มีชีวิตอยู่จนถึงปี 2575 หรือที่เวลาสามทุ่มยี่สิบหกนาทีของชีวิตวัย 75 ปี ก็จะมีโอกาสได้ร่วมเฉลิมฉลองครบรอบ 100 ปีของประชาธิปไตยไทย ซึ่ง ณ เวลานั้นประชาธิปไตยของไทยน่าจะได้รับการ ?อภิวัฒน์? สู่ความเจริญงอกงามจนหลุดพ้นจากวงจรเลวร้ายสองวงจรดังที่ได้กล่าวมาแต่แรกได้
– ท่ามกลางวิกฤตการณ์ความขัดแย้งในระบบสังคมการเมืองไทยที่ยืดเยื้อมาตั้งแต่ปี 2549 (หรือตอนเวลาบ่ายสองโมงของนาฬิกาแห่งชีวิตเรือนนี้) ?ถ้ากลุ่มชนชั้นนำฝ่ายหนึ่งพยายามจะรักษาสถานะเดิมแห่งอำนาจ (status quo) ด้วยวิถีทางที่ไม่เป็นประชาธิปไตย มวลมหาประชาชนฝ่ายที่เรียกร้องประชาธิปไตย (ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นฝ่าย ?antithesis?) ก็คงไม่ยินยอม ขณะที่ถ้ากลุ่มชนชั้นนำอีกฝ่ายพยายามจะรักษาสถานะเดิมแห่งอำนาจของตนด้วยการเลือกตั้งตามวิถีทางแบบเดิมๆซึ่งต้องใช้เงินจำนวนมากสำหรับการหาเสียงและซื้อเสียงอันนำไปสู่ปัญหาการทุจริตคอรัปชั่น มวลมหาประชาชนอีกฝ่าย (ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นฝ่าย ?thesis?) ก็คงไม่ยินยอมเช่นกัน ผลที่สุดระบบสังคมการเมืองไทยก็ ?ถูกบีบ? ด้วยตรรกะของกฎวิภาษวิธี (Dialectic) ให้จำเป็นต้องอภิวัฒน์สู่ความเจริญงอกงามยิ่งขึ้นอีกขั้นของ ?ประชาธิปไตยที่มีคุณภาพและคุณธรรม? (ซึ่งเป็นการ ?synthesis? จุดแข็งของอุดมการณ์ทางการเมืองสองชุดเข้าด้วยกัน) เมื่อนั้นวิกฤตการณ์ความขัดแย้งในระบบสังคมการเมืองไทยถึงจะยุติลงได้ เนื่องจากฝ่ายที่เรียกร้อง ?การเมืองที่เป็นประชาธิปไตย? ก็พึงพอใจ ขณะที่ฝ่ายซึ่งเรียกร้อง ?การเมืองที่มีคุณภาพและคุณธรรม? ก็มีความพึงพอใจด้วย
– พลัง ?วาทกรรม? แห่งพระราชดำรัสเศรษฐกิจพอเพียงในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯที่อธิบายจากกรอบความคิดทางพุทธปรัชญา จึงน่าจะเป็นกุญแจสำคัญที่ช่วย ?อภิวัฒน์? ระบบสังคมการเมืองไทยให้เจริญงอกงามขึ้นได้ด้วยตรรกะดังที่กล่าวมาในตอนก่อน?? แต่เนื่องจากกลุ่มชนชั้นนำฝ่ายอนุรักษ์นิยมได้ดึงสถาบันฯมาเป็นเครื่องแบ่งแยกคนไทยจนแตกจากกันเป็นสองฝ่าย ด้วยข้อกล่าวหาเพื่อใช้สร้างความชอบธรรมในการโค่นอำนาจของรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง (ทั้งด้วยวิธีทำรัฐประหารและอาศัยขบวนการ ?ตุลาการภิวัฒน์? ที่ใช้กฎหมายแบบสองมาตรฐานเป็นเครื่องมือดำเนินการ) ว่าอีกฝ่ายเป็นพวกไม่จงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ (จึงไม่ควรอยู่ในอำนาจ) อันไปทำให้ ?สถาบันพระมหากษัตริย์? เกิดภาวะความแปลกแยกจาก ?ประชาธิปไตย? ?ฉะนั้นการจะสามารถนำ ?วาทกรรม? แห่งพระราชดำรัสเศรษฐกิจพอเพียงในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯมาสร้างเป็นอุดมการณ์ทางการเมือง เพื่อช่วยอภิวัฒน์ระบบสังคมการเมืองไทยตามสมมติฐานที่กล่าวมาได้สำเร็จ ก็ต่อเมื่อต้องหาทางคลี่คลายเงื่อนปมที่สถาบันพระมหากษัตริย์ถูก ?การเมือง? ดึงให้เป็นเครื่องแบ่งแยกคนไทยแตกจากกันเป็นสองฝ่ายให้ได้ก่อน
– ปัญหาสำคัญอีกประการหนึ่งของการนำ ?วาทกรรมแห่งเศรษฐกิจพอเพียง? มาสร้างเป็น อุดมการณ์ทางการเมืองเพื่อนำไปสู่ ?ประชาธิปไตยที่มีคุณภาพและคุณธรรม? ก็คือ การที่ผู้คนไม่เข้าใจ ?โครงสร้างส่วนลึก? (deep structure) แห่งความหมายของมโนทัศน์ที่สะท้อนผ่านภาษาคำๆนี้ดีพอ โดยคนจำนวนไม่น้อยเข้าใจแค่ ?โครงสร้างส่วนผิวพื้น? (surface structure) แห่งความหมายของคำดังกล่าว แล้วเกิดความหวาดกลัวว่าถ้าหากประชาชนมีความ ?พอเพียง? กันหมด ก็อาจขยันทำงานน้อยลง ซึ่งในที่สุดจะไปทำให้ศักยภาพการแข่งขันทางเศรษฐกิจของประเทศลดลง ผลิตผลมวลรวมประชาชาติลดต่ำลง ฯลฯ เพราะผู้คนต่างพอเพียงจนความกระตือรือร้นในการทำงาน
– อย่างไรก็ตามภายใต้ระบบเศรษฐกิจแบบ ?เสรีนิยม-ทุนนิยม? (D สูง, S สูง) ที่ได้อาศัย ?ความไม่พอเพียง? (D) ของผู้คนเป็นพลังขับเคลื่อนเพื่อสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (S) และทำให้ผู้คนแข่งขันกันกินดีอยู่ดียิ่งๆขึ้นนั้น ตรรกะของความคิดที่ว่าถ้าหากไปทำให้ผู้คนมีความพอเพียง (-D) แล้ว ความขยันทำงานเพื่อสร้างความเติบโตทางเศรษฐกิจจะลดน้อยลง (-S) ?คนที่เรียนวิชาตรรกวิทยาพื้นฐานคงรู้ดีว่าการใช้เหตุผลแบบนี้ผิดหลักตรรกะ (fallacy) ของกฎ ?Modus Tollens? เหมือนเรารู้ว่าถ้าฝนตกถนนจะเปียก แต่เรายังสรุปไม่ได้ว่าถ้าหากฝนไม่ตกแล้วถนนจะไม่เปียก เพราะมีสาเหตุอื่นนอกเหนือจากฝนที่อาจทำให้ถนนเปียกได้ เช่น มีคนเอาน้ำมาลาดถนนเพื่อลดฝุ่น เป็นต้น เราสรุปได้เพียงว่าถ้าถนนไม่เปียกแสดงว่าฝนไม่ตก นอกจากนี้ก็ไม่เป็นความจริงเสมอไปว่า ?ความไม่พอเพียง? จะทำให้ผู้คนขยันทำงานมากขึ้น เพราะบางคนอาจคิดรวยทางลัดด้วยการมัวแต่พึ่งไสยศาสตร์หรือทุจริตโกงกินก็ได้ ฯลฯ (อันคือ D สูง, S ต่ำ)