ณ เวลาบ่ายสี่โมง (หรือ 16.00 นาฬิกาของชีวิตวัยห้าสิบหกปี)

– ปลายปี 2556 ได้เกิดวิกฤตการณ์ทางการเมืองครั้งใหญ่อีกระลอกอันเป็นผลสืบเนื่องจากการทำรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 แล้วมีการกำหนดนโยบายในการแก้ปัญหาบ้านเมืองผิดพลาดจนกลายเป็นความขัดแย้งยืดเยื้อดังที่กล่าวมา ซึ่งในที่สุดการเมืองไทยก็ ?พายเรือในอ่าง? ครบอีกหนึ่งรอบ โดยวนกลับมาสู่การทำรัฐประหารเป็นครั้งที่ 11 เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 เพื่อฉีกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับที่ 18 และประกาศใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราวฉบับที่ 19 ตลอดจนตั้งสภาปฏิรูปแห่งชาติมายกร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่ 20 เราต้อง ?พายเรืออยู่ในอ่าง? เช่นนี้ต่อไปอีกกี่รอบถึงจะหลุดจากวงจรเลวร้ายทางการเมืองนี้ได้04

– ถ้ารากเหง้าสำคัญแห่งปัญหาความไร้เสถียรภาพของระบบสังคมการเมืองไทยซึ่งยังไม่ได้รับการแก้ไข อยู่ที่ภาวะ ?ความแปลกแยก? ของอุดมการณ์ทางการเมืองสองชุดที่ซ่อนอยู่ในระบบสังคมการเมืองไทยตามสมมติฐานที่กล่าวมา การหันมาใส่ใจกับปัญหาในทางปรัชญาการเมืองที่ดูเหมือนเป็นความคิดทางนามธรรมอันเลื่อนลอยนั้น ก็อาจเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับสังคมไทย

?อุดมการณ์ทางการเมือง? (Political Ideology) เป็นเรื่องที่มีความสำคัญต่อระบบสังคมการเมืองหนึ่งๆ ก็เพราะเปรียบเสมือน ?แผนที่? ซึ่งช่วยบอก ?จุดหมายปลายทาง? ที่พึงไปให้ถึง ตลอดจน ?ตำแหน่งแห่งที่? ของระบบสังคมการเมืองนั้นๆ และ ?ทิศทาง? ที่ต้องขับเคลื่อนจากตำแหน่งปัจจุบันเพื่อไปสู่จุดหมายที่พึงปรารถนาดังกล่าวในอนาคต (อันจะช่วยตอบสนองต่อความต้องการในลำดับขั้นที่ 5 หรือช่วยคลี่คลายความกลัวในลำดับขั้นสุดท้ายของผู้คน ตามทฤษฎีความต้องการตามลำดับขั้น 5 ขั้นของมาสโลว์ และความกลัวต่อภัย 5 ระดับในพลสูตรดังที่กล่าวมาแล้ว)

– ถ้าในระบบสังคมการเมืองหนึ่งๆมี ?แผนที่? ซึ่งมีรายละเอียดแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญสองฉบับ โดยต่างมีผู้คนจำนวนมากที่เชื่อมั่นในความถูกต้องของแผนที่แต่ละฉบับ ความสับสนก็ย่อมเกิดขึ้นอย่างแน่นอนว่า เราควรขับเคลื่อนบ้านเมืองไปทางทิศไหนถึงจะ ?ถูกต้อง? หรือเป็นหนทางที่ ?ดี? ที่จะนำพาประเทศชาติไปสู่ ?ความเจริญงอกงาม??? เมื่อผู้คนที่เชื่อความถูกต้องของแผนที่ฉบับหนึ่งพยายามผลักดันให้บ้านเมืองขับเคลื่อนไปในทิศทางนั้นๆ เพราะเห็นว่าเป็นหนทางที่สามารถนำพาประเทศไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง ?ฝ่ายที่ยึดความถูกต้องของแผนที่อีกฉบับก็อาจเห็นในทางตรงข้ามว่า ถ้าขืนพัฒนาประเทศชาติไปในทิศทางนั้นๆแล้วจะเจอกับทางตันและเหวลึก อันต้องพยายามขัดขวางเพื่อไม่ให้นำพาบ้านเมืองไปสู่ความหายนะ ดังนี้ก็จะเกิดความขัดแย้งในสังคมขึ้นอย่างรุนแรงและกินลึกได้ เพราะเป็นความขัดแย้งบนพื้นฐานของความเชื่อว่าฝ่ายตน ?ถูก? หรือ ?ดี? ขณะที่อีกฝ่าย ?ผิด? หรือ ?เลว?

– ทหารรับจ้างที่เข้าทำสงครามเพราะอามิสสินจ้าง อันเป็นสิ่งตอบสนองความต้องการในลำดับขั้นต้นๆทางกายภาพของชีวิต มักสู้รบด้วยความจริงจังกล้าหาญน้อยกว่าทหารที่ทำสงครามด้วยความเชื่อมั่นในอุดมการณ์บางอย่างอันเป็นสิ่งตอบสนองความต้องการที่ลึกกว่าของชีวิต เพราะถ้าตนเองต้องล้มตายจากการสู้รบไปแล้ว เงินตอบแทนที่ไม่มีโอกาสได้ใช้นั้นจะมีประโยชน์อะไร แต่ถ้าเชื่อว่าต่อสู้เพื่อคุณความดีบางอย่าง ถึงตัวตายก็จะได้ไปอยู่บนสวรรค์หรือเกิดใหม่ในภพชาติที่ดีกว่าเดิม ก็จะสู้อย่างจริงจังโดยไม่กลัวตาย เป็นต้น ข้อนี้ฉันใดความขัดแย้งที่เกิดจากความเชื่อในอุดมการณ์ทางการเมืองที่แตกต่างกัน ก็มักจะนำไปสู่การต่อสู้ที่รุนแรงยืดเยื้อ และเจรจาตกลงกันได้ยากกว่าการต่อสู้เพื่อแย่งชิงอำนาจหรือผลประโยชน์ในกรณีทั่วๆไปเฉกเช่นเดียวกันฉันนั้น

– ถ้าเกิดความขัดแย้งระหว่างผู้คนสองฝ่ายเพราะต่างฝ่ายต่างเชื่อในความถูกต้องของแผนที่ซึ่งตนเคยใช้นำทางอย่างได้ผลมาก่อน กรณีเช่นนี้ต้องนำแผนที่ทั้งสองฉบับมาสอบทานกันเพื่อดูว่าจุดไหนที่ตรงกัน จุดไหนที่แตกต่างกัน สำหรับจุดที่มีความแตกต่างก็ช่วยกันหาหลักฐานต่างๆมาพิสูจน์ยืนยัน เพื่อหาข้อยุติที่จะทำให้แผนที่สองฉบับรวมเป็นฉบับเดียวให้ได้มากที่สุด แล้วทดลองนำแผนที่นั้นไปใช้งานในภาคสนาม หากตรวจพบว่าไม่ตรงกับความเป็นจริงทางภูมิศาสตร์ตรงจุดไหนค่อยพิจารณาปรับปรุงแก้ไขให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นต่อไป ดังนี้ความขัดแย้งก็น่าจะค่อยๆคลี่คลายลงได้ ข้อนี้ฉันใดการแก้ปัญหาความขัดแย้งเชิงความคิดทางอุดมการณ์ทางการเมืองที่แฝงอยู่ในระบบสังคมการเมืองไทยมานานถึงกว่า 82 ปี นับตั้งแต่การปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองแผ่นดินเมื่อปี พ.ศ. 2475 ก็น่าจะกระทำด้วยวิธีที่คล้ายคลึงกันฉันนั้น

ad

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *