ณ เวลาตีห้า (หรือ 5 นาฬิกาของชีวิตวัยสิบเจ็ดปีครึ่ง)

– สำหรับผู้คนจำนวนไม่น้อยแล้ว ตีห้าของชีวิตก็คือช่วงเวลาที่จะต้องลุกจากที่นอนเพื่อเริ่มต้นทำกิจวัตรในวันใหม่ เฉกเช่นเดียวกับชีวิตของผู้คนจำนวนมากที่ต้องเริ่มทำงานรับผิดชอบหาเงินเลี้ยงตัวเองและช่วยเหลือครอบครัว เมื่อจบการศึกษาระดับมัธยมปลายหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพในวัยประมาณสิบเจ็ดปีครึ่งนี้ แต่สำหรับคนอีกส่วนหนึ่งที่ยังมีโอกาสได้นอนต่ออย่างสุขสบาย จากการที่พ่อแม่มีเงินส่งเสียให้เรียนในระดับอุดมศึกษา ตีห้าของชีวิตก็คือชั่วโมงสุดท้ายสำหรับเวลานอน และเป็นช่วงระยะเวลาที่หลายคนกำลังเริ่มเรียนต่อปีแรกในรั้วมหาวิทยาลัย โดยอาศัยเป็นเส้นทางไต่เต้าเพื่อยกระดับ ?ช่วงชั้น? (Strata) ของสถานะทางเศรษฐกิจและสังคม ผ่านสัญลักษณ์แห่งใบปริญญาบัตรที่หวังจะได้รับจากมหาวิทยาลัย

– ตีห้าของนาฬิกาแห่งชีวิตคือช่วงเวลาที่ผู้คนจำนวนไม่น้อยเริ่มต้นแสวงหา ?ความหมายของตัวตน? และวางแผนอนาคตชีวิตให้กับตนเอง ?เราคือใคร? เราควรจะวางตำแหน่งแห่งที่ (positioning) ของตัวเองไว้ตรงจุดไหน ภายใต้ระบบสังคมที่เราเกิดมามีชีวิตและจะต้องดำรงอยู่ต่อไปอีกหลายสิบปีนี้ การเรียนรู้ในระดับมหาวิทยาลัยน่าจะถูกออกแบบมาเพื่อให้ช่วยตอบคำถามดังกล่าว โดยไม่ใช่เพียงแค่การสอนวิชาชีพต่างๆสำหรับป้อนให้กับตลาดแรงงานเท่านั้น เพราะถ้าต้องการเพียงความรู้ในการประกอบวิชาชีพ การเรียนจบระดับมัธยมแล้วเริ่มต้นทำงานควบคู่ไปกับการแสวงหาความรู้เพิ่มเติม ในเรื่องที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการยกระดับความรู้ความสามารถในการทำงานสาขาอาชีพนั้นๆ ก็น่าจะเป็นวิถีทางที่มีประสิทธิผลมากกว่าการเสียเวลาเรียนวิชาต่างๆมากมายในมหาวิทยาลัย ซึ่งหลายเรื่องไม่มีประโยชน์อะไรต่อเป้าหมายการประกอบอาชีพเพื่อหาเงินให้ได้มากๆ

– ถ้าปรัชญาของการศึกษาอยู่ที่ช่วยให้มนุษย์แต่ละคนได้เรียนรู้ว่า ?บรรทัดสุดท้ายของเป้าหมาย? ที่พึงไปให้ถึงในชีวิตนี้คืออะไร เพื่อจักได้กระทำ ?เหตุ? ต่างๆให้ถูกต้องเที่ยงตรง ในทิศทางที่จะนำไปสู่ ?ผล? อันเป็นที่พึงปรารถนานั้น ตลอดจน ?รู้จักตัวเอง? ว่ากำลังอยู่ ณ ตำแหน่งแห่งที่ตรงไหนบนเส้นทางชีวิต เพื่อจะได้พัฒนาเปลี่ยนแปลงแก้ไขในสิ่งที่ควรเปลี่ยนแปลงแก้ไข ยอมรับในสิ่งที่ยังเปลี่ยนแปลงแก้ไขอะไรไม่ได้ในขณะนี้ อีกทั้งมี ?สติปัญญา? ที่จะแยกแยะความแตกต่าง ระหว่างสิ่งที่เราเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ กับสิ่งที่เรายังเปลี่ยนแปลงแก้ไขไม่ได้ (ในปัจจุบัน) ?หากเป็นเช่นนี้แล้วการศึกษาในระดับขั้นมหาวิทยาลัยก็น่าจะต้องมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ จากการศึกษาเพียงเพื่อผลิตแรงงานที่เชี่ยวชาญสำหรับป้อนตลาดแรงงานเท่านั้น

– แน่นอนว่าการมีความรู้ที่จะประกอบอาชีพต่างๆนั้นเป็นเรื่องสำคัญ เพราะถ้าไม่มีอาชีพที่จะสามารถหาเงินเลี้ยงตัวเองจนไม่อาจดำรงชีวิตอยู่รอดได้อย่างปรกติสุข เราย่อมไม่สามารถใช้โอกาส แห่ง ?การมีชีวิต? สำหรับเป็นเครื่องมือนำไปสู่บรรทัดสุดท้ายของเป้าหมายที่พึงปรารถนาในชีวิตนี้ได้?? ฉะนั้น?สัมมาอาชีวะ? จึงคือเงื่อนไขจำเป็น (necessary condition) ประการหนึ่งของปรัชญาทางการศึกษา แต่เป้าหมายในการมีความรู้เพื่อ ?หาเงินให้ได้เพียงพอที่จะดำรงชีวิตอย่างปรกติสุข? ย่อมแตกต่างจากเป้าหมายของการ ?หาเงินให้ได้มากขึ้นๆและมากที่สุด? แม้อาจจะดูคล้ายคลึงกันในแง่ต่างก็เป็นการหาเงินเหมือนกันก็ตาม

– การตระหนักถึง ?บรรทัดสุดท้ายของเป้าหมายในชีวิต? เป็นเรื่องที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะจะเป็นตัวกำหนดนิยามความหมายเชิงคุณค่าของคำว่า ?ดี? หรือ ?ถูกต้อง? หรือ ?สมควร? ฯลฯ เช่น ถ้าเป้าหมายสุดท้ายของการเกิดมาเป็นมนุษย์คือการมีเงินมากๆเพื่อที่จะมีชีวิตอยู่อย่างสุขสบาย การเป็นแพทย์ในโรงพยาบาลเอกชนซึ่งได้ค่าตอบแทนสูงก็เป็นสิ่งที่ ?ดี? แต่ถ้าเป้าหมายสุดท้ายของการเกิดมาเป็นมนุษย์อยู่ที่การสร้างกุศลกรรมต่างๆติดตัว การรับราชการเป็นแพทย์เพื่อช่วยชีวิตเพื่อนมนุษย์ในชนบทห่างไกลความเจริญ ซึ่งแม้จะได้เงินเดือนค่าตอบแทนไม่มากนัก แต่มีโอกาสช่วยเหลือผู้คนที่กำลังทุกข์ร้อนได้มากกว่า ก็น่าจะเป็นวิถีชีวิตที่ ?ดีกว่า? เป็นต้น ?????????????

– บางคนอาจต้องใช้เวลาทั้งชีวิตสำหรับการหาคำตอบต่อคำถามพื้นฐานนี้ ซึ่งการศึกษาในมหาวิทยาลัยถึงแม้ว่าอาจจะไม่สามารถช่วยตอบคำถามดังกล่าวได้ แต่อย่างน้อยก็น่าจะช่วยให้นักศึกษาตระหนักถึงความสำคัญของคำถาม และสามารถ ?ตั้งโจทย์ของชีวิต? ได้อย่างถูกต้อง ถ้านิวตันไม่คิดว่าน่าจะมีแรงอะไรบางอย่างดึงให้ลูกแอปเปิ้ลหล่นลงมาใส่หัวของเขานั้นคือคำถาม หรือเป็นโจทย์ที่ต้องการหาคำตอบ จนถึงทุกวันนี้มนุษย์อาจยังไม่รู้จักแรงโน้มถ่วงของโลกเลยก็ได้

ad

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *