?ณ เวลาตีหนึ่ง (หรือ 1 นาฬิกาของชีวิตวัยสามขวบครึ่ง) ????????????

– ชีวิตของเด็กเล็กๆกำลังเริ่มเรียนรู้สิ่งต่างๆ? และซึมซับแบบอย่างที่ได้เรียนรู้จากสังคมรอบข้างอย่างรวดเร็ว? เหมือนแผ่นกระดาษขาวที่สามารถดูดซับสีซึ่งแต้มบนกระดาษ? ให้ติดแน่นเข้าไปในเนื้อกระดาษนั้นจนยากที่จะลบออกฉันใด? ทฤษฎีจิตวิทยาสมัยใหม่แทบทุกสำนักล้วนชี้ให้เห็นอิทธิพลของการเรียนรู้ในเด็กเล็กตั้งแต่ช่วงแรกเกิดเป็นต้นมาฉันนั้น? โดยเฉพาะอย่างยิ่งทฤษฎีจิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis) ที่ชี้ให้เห็นว่า? สิ่งที่เด็กทารกได้ซึมซับจากสังคมสิ่งแวดล้อมรอบข้างนั้น? จะตกตะกอนนอนก้นอยู่ในโครงสร้างของจิตไร้สำนึก (Unconscious) ที่ตามรู้ได้ยาก? แต่มีอิทธิพลกำหนดพฤติกรรมชีวิตของคนผู้นั้นตลอดไปอย่างไม่รู้ตัว13

– อันที่จริงพระพุทธศาสนาชี้ให้เห็นว่าทารกที่อยู่ในครรภ์มารดาก็มี ?วิญญาณธาตุ? หรือจิตที่รับรู้สิ่งต่างๆแฝงอยู่แล้ว? แต่เป็น ?พลังความรับรู้? ที่ไม่เต็มศักยภาพ? เพราะว่าอายตนะทั้งหกยังทำงานได้ไม่สมบูรณ์? กระบวนการเรียนรู้จริงๆของชีวิตจึงเริ่มต้นเมื่อทารกคลอดจากครรภ์มารดา? ตาได้เห็นรูป? หูได้ยินเสียง? จมูกได้กลิ่น? ลิ้นได้สัมผัสกับรส? และกายได้สัมผัสกับความเย็นร้อนอ่อนแข็ง? ตลอดจนความรู้สึก ?เจ็บปวด? (ทุกขเวทนา) หรือรู้สึก ?สบาย? (สุขเวทนา) ต่างๆ

– มนุษย์ไม่ได้อยู่ในสุญญากาศ ?แต่ฝังตัวอยู่ภายใต้ระบบสังคมหนึ่งๆ? เหมือนต้นไม้ที่ต้องมีรากฝังอยู่ในดินจึงจักเจริญเติบโตขึ้นได้ฉะนั้น ?เมื่อสิ่งที่เด็กๆเรียนรู้ตั้งแต่ลืมตาดูโลก คือ ?สังคม? ที่ประกอบด้วยบุคคลต่างๆรอบข้าง? (อย่างน้อยก็ได้แก่คนที่ป้อนนมให้กินเมื่อหิว)? การเรียนรู้ในมิติทางสังคม (Socialization) จึงเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่มีอิทธิพลที่สุดต่อชีวิตมนุษย์

– ทฤษฎีจิตวิเคราะห์เรียกความต้องการที่ปรารถนาการตอบสนองในทันทีทันใดว่า ?อิด? (Id) ?แต่ย่อมเป็นไปไม่ได้ในทางสังคมที่ทารกจะได้ทุกสิ่งทุกอย่างและในทุกเวลาตามที่ตนต้องการ? เพราะมีเงื่อนไขข้อจำกัดต่างๆทางสังคมมากมาย? ผู้คนรอบข้างจึงต้องค่อยๆสอนให้ทารกเรียนรู้ว่า? ?อะไรที่ทำได้?? และ ?อะไรที่ทำไม่ได้?? เพื่อการมีชีวิตอยู่รอดอย่างปรกติสุขต่อไป ภายใต้เงื่อนข้อจำกัดของสังคมนั้นๆ? (ซึ่งอาจจะไม่เหมือนกันหมดทีเดียวในบริบทของแต่ละสังคมที่แตกต่างกัน)? แบบแผนของข้อห้ามทางสังคมที่ค่อยๆซึมซับเข้าไปในจิตส่วนลึกของมนุษย์ตั้งแต่ในวัยเด็กนี้? คือสิ่งที่ทฤษฎีจิตวิเคราะห์เรียกว่า ?ซุปเปอร์อีโก้? (Superego) ?หรือมโนสำนึกที่คอยห้ามปรามไม่ให้คนๆนั้นทำอะไรตามใจตัวเองในสิ่งที่ ?ไม่ดีไม่งาม? ต่างๆ ตามบรรทัดฐานของสังคมหนึ่งๆ

– ข้อห้ามของพฤติกรรมไม่ดีไม่งามบางเรื่องซึ่งเหมือนๆกันในทุกสังคม? เช่น? การทำร้ายผู้อื่นให้บาดเจ็บล้มตาย? การขโมยสิ่งของๆคนอื่น? ฯลฯ? จึงเป็น ?หลักจริยธรรมสากล? ที่แฝงอยู่ใน ?ซุปเปอร์อีโก้? ของมนุษย์ทั่วไป

– ความขัดแย้งระหว่างความต้องการตามสัญชาตญาณดิบของ ?อิด?? กับมโนสำนึกของ ?ซุปเปอร์อีโก้? ที่คอยห้ามปรามไม่ให้คนผู้นั้นทำสิ่งที่ไม่ดีไม่งามทั้งหลาย? จะก่อให้เกิดพื้นที่ของ ?ตัวตน? ที่เรียกว่า ?อีโก้? (Ego) ขึ้น ?ซึ่งเป็นพื้นที่ของความขัดแย้งตึงเครียดในจิตอันเกิดจากการปะทะระหว่างซุปเปอร์อีโก้กับอิด? ทั้งนี้อีโก้จะอาศัย ?กลไกป้องกันตัวเอง? (defense mechanism) แบบต่างๆช่วยลดภาวะความตึงเครียดดังกล่าว? เช่น? กลไกการโทษคนอื่น (projection)? กลไกการหาเหตุผลเข้าข้างตัวเอง (rationalization) ?กลไกการหาสิ่งอื่นมาทดแทน (substitution) ฯลฯ

– ขณะที่วัฒนธรรมเป็นแบบแผนของการใช้ชีวิตร่วมกันในระบบสังคมหนึ่งๆ? ที่ได้พัฒนาปรับปรุงมาอย่างยาวนานจนลงตัว? โดยเป็นระเบียบแบบแผนที่ช่วยให้ผู้คนในสังคมนั้นๆสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างปรกติสุข? โครงสร้างของจิตส่วนลึกที่ทฤษฎีจิตวิเคราะห์เรียกว่า ?ซุปเปอร์อีโก้? จึงสัมพันธ์กับมิติทางวัฒนธรรมของสังคมมนุษย์? และตัวตนหรือ ?อีโก้? ของผู้คนภายใต้วัฒนธรรมหนึ่งๆ? ก็จะมีส่วนเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กับวัฒนธรรมของสังคมนั้นๆ

ad

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *