ไอ..ไอ..ไอ.. ไอไม่หยุดสักที จะเพราะอากาศเปลี่ยน ร่างกายกำลังปรับตัว หรือว่าเป็นไข้หวัดหมู่ หรือว่า หรือว่า…. ไปหาหมอได้ยามา กินจนยาหมดอาการไอยังก็ไม่หาย ทำไม เพราะอะไร?
มาดูต้นเหตุของอาการไอ…
การไอ (ตามศาสตร์แพทย์จีน) สาเหตุไม่ได้เกิดกับปอดเพียงอย่างเดียว “ไอ” หนึ่งอาการไอสามารถแบ่งย่อยสาเหตุลงไปได้อีกมาก
เมื่อเกิดอาการไอ เรามักคิดว่ามีสาเหตุมาจากปอดเท่านั้น แท้จริงแล้วการไอ เป็นการสะท้อนการขับออกสู่ภายนอกของอวัยวะต่าง ๆ ภายใน ทั้งอวัยวะตันและกลวง* แล้วแต่ปัญหาที่เกิด ปอดเป็นเพียงหนึ่งในอาการ และปอดเป็นเพียงส่วนปลายระบบลำโพงที่ช่วยกระจายเสียงของพลังส่วนเกินที่เป็นเสียงและลมแล่นผ่านหลอดลมสู่ลำคอออกสู่ปาก สู่บรรยากาศภายนอก
ดังนั้น การจะพิจารณาให้ละเอียดว่า อาการไอจะมาจากอวัยวะใด มีข้อวินิจฉัย ดังนี้
- อาการไอจากปอด เกิดจาก 2 สาเหตุคือ ภายนอก และภายใน?ส่วนภายนอก ปอดเป็นประตู เป็นด่านแรกที่ปะทะกับสิ่งแวดล้อมภายนอก ซึ่งปอดสัมพันธ์ กับผิวหนัง?ส่วนภายในจะเกิดจากการรับประทานอาหารที่เย็นจัดเกิน (อินมาก) เมื่ออาหารเย็นลงสู่กระเพาะจะ ถูกตีกลับขึ้นบน ซึ่งเป็นความร้อนภายในกระจายสู่ปอด ทำให้ปอดเย็นลง พลังปอดจะถูกข่มเบียดหดแน่นผลักดันพลังปอดให้กระจายขึ้นสู่หลอดลมและสู่ลำคอ?เนื่องจากการเปลี่ยนฤดูกาลเป็นสาเหตุหลักของอาการไอจากปอด ดังนั้น อาการไอจากปอด มีเสียงไอที่ ดังมาก และถ้าไอหนัก อาการจะมีเลือดปนออกมาด้วย
- อาการไอจากหัวใจ เวลาไอจะเจ็บใต้ซี่โครงซ้าย เจ็บหน้าอกซ้าย คอจะบวม และเจ็บคอตามมา
- อาการไอจากตับเป็นเหตุ เวลาอารมณ์เปลี่ยนแปลงแล้วไอ เวลาไอจะเจ็บใต้ซี่โครงขวาตอนล่าง จะเจ็บเวลาบิดเอี้ยวตัว ขยับตัวก็เจ็บ พร้อมมีอาการจุกเสียดแน่นบริเวณใต้ชายโครงขวา กดจะเจ็บด้วย
- อาการไอจากม้ามเป็นเหตุ เวลาไอจะเจ็บใต้ซี่โครงล่างซ้ายอาการเด่นคือ จะเจ็บหัวไหล่และปวดหลังตอนบนใกล้บ่าซ้าย ขยับยาก ยิ่งไอยิ่งเจ็บ
- อาการไอจากไตเป็นเหตุ ไอแล้วรู้สึกเหมือนหายใจไม่สุด อากาศลงไปไม่ถึงท้องน้อย เวลาไอจะปวดเอว ปวดหลัง และที่สำคัญเวลาไอจะมีน้ำลายพุ่งไหลตามด้วย พร้อมทั้งปวดกระดูก ปวดตามข้อมือข้อเท้าด้วย
อาการไอที่เป็นกับอวัยวะตันทั้ง 5 เหล่านี้ เมื่อมีอาการเรื้อรังติดต่อกันนานและไม่บำบัด ยิ่งทำให้การบำบัดใช้เวลานาน และยากแก่การหายขาด เมื่อภูมิต้านทานภายในของผู้ป่วยลดลง จะทำให้โรคไอพัฒนาเข้าสู่อวัยวะกลวง?ซึ่งมีอาการสำคัญข้างเคียงร่วม ดังต่อไปนี้ - อาการไอจากลำไส้ใหญ่ เกิดจากการไอจากปอดบกพร่องนานเกิน ก่อให้เกิดการพัฒนาติดต่อเข้าสู่ลำไส้ใหญ่ ทำให้มีอาการไอควบคู่กับการไม่สามารถกลั้นอุจจาระได้ อึไหลไม่รู้ตัว ไอปั๊บอึไหลทันที (ตามหลักแพทย์จีน ปอดกับลำไส้ใหญ่มีส่วนเกี่ยวพันกันแนบแน่น เพราะเส้นลมปราณเชื่อมต่อกันอยู่ สังเกตได้ว่าบางคนเป็นหอบเพราะท้องผูก ถ้าถ่ายท้องแล้วอาการกลับดีขึ้นได้)
- อาการไอจากลำไส้เล็ก เกิดจากการไอจากหัวใจบกพร่องนานจนพัฒนาหนักเรื้อรังเข้าสู่ลำไส้เล็ก ทำให้เวลาไอจะมีการผายลมออกตาม และเสียงไอจะแหบแห้งด้วย
- อาการไอจากถุงน้ำดี เกิดตาการไอจากตับบกพร่องนานเกิน ไม่แก้ไข จนพัฒนาเข้าสู่ถุงน้ำดี ทำให้เวลาไอมักจะอาเจียนขมปากและบางครั้งมีน้ำดีเหลวปนสีเหลืองอมเขียวออกมาด้วย
- อาการไอจากกระเพาะอาหาร เกิดจากการไอจากม้ามนานและไม่แก้ไข จะสามารถพัฒนาสู่กระเพาะ ทำให้เกิดอาการไอพร้อมอาเจียนเศษอาหารและมีกลิ่น มีจุลินทรีย์ตามออกมาด้วย กินของเย็นแล้วไอหนักกว่าเดิม หรือไอแล้วอยากจะอาเจียนไปด้วย
- อาการไอจากกระเพาะปัสสาวะ เกิดจากการไอจากไตบกพร่องนานจนพัฒนาเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะ ทำให้เกิดการไอแล้วฉี่ไหลไม่รู้ตัว กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ไม่มีหูรูด
อาการผิดปกตินี้ ปอดกับกระเพาะอาหาร ถือเป็นสิ่งสำคัญมากที่สุด เพราะจะมีน้ำมูกไหลออกมาจากปอด และไอจะมีน้ำลายกระเด็นฟูมปากมากผิดปกติ สะท้อนถึงส่วนเกินมีมากเกินไปจากอาหาร ดังนั้น การไอจากอวัยวะกลวงจึงรักษายาก และใช้เวลานานกว่า?..
เมื่อแบ่งย่อยขนาดนี้จะเห็นได้ว่าสาเหตุของโรคมีมาก เวลารักษาจำเป็นต้องรักษาไปตามสาเหตุหลักของโรค ซึ่งบางทียาที่ใช้นั้นอาจจะไม่ใช่ยารักษาอาการไอเลยก็ได้ แล้วอาการไอดีขึ้นเองก็มี
สำหรับแพทย์แผนปัจจุบัน ไม่มีการแยกย่อยอาการไอ เวลาให้ยาจึงให้ยาแก้ไออย่างเดียว ซึ่งฤทธิ์ยาจะกว้างและครอบคลุมมาก แต่ขณะเดียวกันจะไม่เจาะลงไปถึงสาเหตุของโรคได้อย่างชัดเจน เรียกว่ารักษาไปตามอาการ ซึ่งบางโรคต้องกินยาตลอดชีวิต เพราะไม่ได้รักษาที่ต้นเหตุของอาการโรคอย่างถูกต้อง ? ทั้งนี้ไม่ได้ว่าแพทย์ไม่พยายามรักษาโรคที่ต้นเหตุ แต่ว่า ?ต้นเหตุ? ของเขาต้องเป็นวิทยาศาสตร์ที่สามารถพิสูจน์ชนิดจับต้องได้ ซึ่งตรงนี้เป็นเหตุผลว่าทำไมแพทย์แผนปัจจุบันจึงยังหาสาเหตุของโรคมากมายไม่พบ ขณะที่แพทย์จีนเข้าใจสาเหตุของโรคได้เกือบทุกโรค
แผนปัจจุบันเห็นว่า ?ไอ? เป็นการระคายเคืองในปอด อาจเกิดจากการติดเชื้อ คิดว่านี่คือสาเหตุของโรค เลยรักษาเรื่องการระคายเคืองของปอด ให้ยาฆ่าเชื้อ เป็นต้น ขณะที่แพทย์จีนมองลึกลงไปอีก แม้สาเหตุของโรคในทางแพทย์จีนจะไม่สามารถจับต้องได้ แต่ไม่ใช่ว่าไม่มีหลักการ ทุกอย่างมีหลักการอ้างอิงได้ และผลการรักษาพิสูจน์ให้เห็นได้ว่าหลักการนี้ถูกต้อง
สมมติว่า ถ้ามองเรื่องปอดติดเชื้อแล้วไอ แพทย์จีนจะคิดลึกลงไปอีกว่า ทำไมถึงติดเชื้อได้ คนอื่นไม่เห็นเป็นเลย พอมาดูอาจจะเห็นว่าเพราะคนไข้ไม่แข็งแรง ต้องบำรุงร่างกาย ปรับสมดุล ใช้ยาจีนรักษาจะเห็นผลชัด (ตรงจุดนี้แพทย์แผนปัจจุบันคงรู้สาเหตุเหมือนกัน อาจจะบอกว่าเพราะภูมิคุ้มกัน) ขณะที่หมอแผนปัจจุบันอาจจะบอกได้แบบกำกวมว่า พักผ่อนเยอะๆ กินอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายบ้าง ซึ่งก็มีส่วนช่วย
บางครั้งไม่เป็นหวัดแล้วเสมหะมาจากไหน? เสมหะ คือ น้ำเมือกที่เราไอออกมาจากปอดและผสมกับน้ำลายขับออกสู่ร่างกาย
- ถ้าเสมหะเป็นสีเขียว เหลือง หรือน้ำตาล หมายถึงว่าร่างกายคุณกำลังต่อสู้กับการติดเชื้ออยู่
- ถ้าเป็นสีเทา หรือน้ำตาล อาจเกิดจากการสูบบุหรี่หรือฝุ่น
- แต่ถ้าไม่ได้เป็นหวัด เป็นแค่น้ำเหนียวๆ หนืดๆ อยู่ตรงลำคอ ขากออกเป็นน้ำใสๆ เหมือนน้ำลายทั่วไป มันคือเสมหะ
เสมหะคือ ?น้ำเมือก? ผสมน้ำลาย ระบบการย่อยอาหารที่ไม่ดี เกิดจากไฟหรือธาตุหยางในกระเพาะอาหารน้อยลง โดยธรรมชาติ ไฟกลัวน้ำ (น้ำข่มไฟรักษาความสมดุลเอาไว้) เมื่อเรามีพฤติกรรมดับไฟทิ้ง น้ำเลยกลายเป็นโรค อาการธาตุหยางในกระเพาะอาหารน้อยลง ไม่ได้มีแค่อาการมีเสมหะอย่างเดียว ยังมีอาการอีกมากตามมา เช่น
- ร่างกายไม่ค่อยมีแรง เหนื่อยง่าย ศีรษะหนักๆ เหมือนมีอะไรกดทับอยู่ตลอด
- ถ่ายเหลว กินแล้วถ่ายมาเป็นสิ่งนั้นเหมือนไม่ได้ผ่านการย่อย (อาจเป็นท้องผูกได้ในบางกรณี )
- คลื่นไส้บ่อย อาหารไม่ย่อย ท้องอืดท้องเฟ้อ มีลมเยอะ
- ขี้หนาว มือเท้าเย็น
- ยามอยู่ในที่เย็นๆ เช่น ห้องแอร์ หรือเจอสภาพอากาศแบบครึ้มฟ้าครึ้มฝน ฝนตก อาการต่าง ๆ จะยิ่งหนักขึ้น
ถ้ามีอาการต่างๆ เหล่านี้เสริมด้วย เชื่อได้ว่าระบบการย่อยของคุณมีปัญหาจริงๆ (ไม่จำเป็นต้องมีทุกอาการ) แต่ถ้ามีเพศสัมพันธ์ “บ่อย” อันนี้ทำร้ายร่างกายหนักกว่าเดิมอีก เพราะเป็นการใช้ธาตุหยางที่ไต
แพทย์จีนถือ “ไต” (ไม่ได้เป็นอวัยวะไตตามสรีระวิทยาของแพทย์แผนปัจจุบัน) เป็นอวัยวะที่สำคัญที่สุดธาตุหยางที่ไต ถือเป็นต้นกำเนิดของธาตุหยางทั้งหมดในร่างกาย แม้กระทั่งไฟหรือธาตุหยางที่ใช้ในการย่อยอาหาร ก็มาจากไตเช่นกัน อาการธาตุหยางที่ไตพร่อง เช่น ปวดเมื่อยเอว เข่าไม่มีแรง ผมร่วง ฟันโยกง่าย กระดูกตามร่างกาย มีปัญหา ระบบปัสสาวะผิดปกติ อาจจะเป็นปัสสาวะบ่อยเกินไป ทั้งที่ดื่มน้ำน้อย หรืออาจจะปัสสาวะน้อยเกินไป ระบบสืบพันธุ์ผิดปกติ มีลูกยาก เป็นต้น
สำหรับร่างกายอ่อนแอไม่สบายบ่อยแต่เด็ก นี่คงบอกได้ว่าเป็นตั้งแต่พ่อแม่ เช่น ก่อนคลอดไม่มีการดูแลที่ดี หรือกรรมพันธุ์ไม่ดี แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าแก้ไขไม่ได้ สามารถกินยาหรือฝึกชี่ปรับสมดุลให้ดีขึ้นได้เช่นกัน
การรักษาโรคต้องรักษาที่สาเหตุ ไม่อย่างนั้นรักษาอย่างไร ก็ไม่หาย ลองดูสาเหตุข้างล่างนี้ก่อน
- ชอบกินของเย็น ไอศกรีม น้ำแข็ง น้ำเย็น
- ชอบกินของดิบๆ เช่น ปลาดิบ ผักดิบ
- ชอบกินผักผลไม้จำพวก ผลไม้ที่มีฤทธิ์เย็น เช่น แตงโม ฟัก แตงกวา สาลี่ เวลาจะกินต้องเอาออกมาจากตู้เย็นใหม่ๆ ถึงจะเย็นชุ่มฉ่ำ
- กินดีอยู่ดีเกิน เช่น กินของหวานๆ มันๆ กินของแห้งๆ ทอดๆ นมเนย (นัยว่าสั่งพิซซ่าขอบชีส เพิ่มหน้าชีสพิเศษ แล้วขอกระปุกชีสมาโรยเพิ่มต่างหากอีก)
- เป็นคนชอบคิดมาก คิดเล็กคิดน้อย อารมณ์แปรปรวนง่าย
- ดื่มน้ำไม่ถูกวิธี
- ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ
- นอนดึก (เกินห้าทุ่ม) เป็นประจำ
- เป็นคนเซ็กซ์จัด มีเพศสัมพันธ์ หรือสำเร็จความใคร่ด้วยตัวเองบ่อย
- สุขภาพร่างกายอ่อนแอ ไม่มีแรง ไม่สบายบ่อยมาตั้งแต่เด็ก
สาเหตุจากสิบข้อข้างบนนั้น ที่ทำให้เกิดเสมหะส่งผลเรื่องเดียวกันคือ ทำให้ ?ไฟในระบบการย่อยอาหารดับ? หรือระบบการย่อยอาหารไม่ดี
สิ่งที่ทุกคนมักมองข้ามเกี่ยวกับระบบการย่อยอาหารคือ น้ำ ก่อนการย่อย น้ำจะดูดซึมเข้าสู่ระบบหมุนเวียนของร่างกายเช่นเดียวกับอาหาร ถ้าระบบการย่อยอาหารไม่ดีแล้ว ระบบการหมุนเวียนของน้ำในร่างกายจะผิดปกติ น้ำจะคั่งค้าง รวมตัวกันเป็นก้อน และกลายเป็นเสมหะในที่สุด
เมื่อรู้สาเหตุแล้ว วิธีการแก้ไขก็จะชัดเจน สาเหตุข้อไหนที่ตรงกับคุณก็หยุดทำมันซะ เป็นเงื่อนไขข้อแรกและเป็นข้อที่สำคัญที่สุดในการขจัดเสมหะ วิธีการรักษาอื่นๆ นั้นเป็นเพียงตัวช่วยเสริมเท่านั้น ?การกินยาจีนต้ม เช่น การดื่มน้ำขิง กินลูกเดือย (อาจจะต้มกิน) หรือจิบน้ำผึ้ง เป็นต้น การปรับร่างกายเหล่านี้ล้วนใช้เวลานาน จำเป็นต้องมีความอดทน สิ่งที่แนะนำนั้นล้วนเป็นสิ่งที่ดีต่อสุขภาพของคุณทั้งนั้น เพราะฉะนั้นอย่าคิดว่ามันเป็นการจำกัดชีวิตที่น่าเบื่อ แต่ควรคิดว่าเป็นการนำสิ่งที่ดีสู่ชีวิตจะเหมาะสมกว่า
ทำไมตื่นเช้าแล้วถึงมีเสมหะมาก
สามารถอธิบายได้ว่า เพราะขณะที่นอนหลับ ร่างกายไม่มีการขยับเขยื้อน น้ำเมือกยังคงผลิตอยู่ และกักเก็บไว้ในปอด พอตื่นนอนจึงออกมาเป็นเสมหะก้อนโต แต่ตอนกลางวันนั้นมีการเคลื่อนไหว มีการขากออก ร่างกายมีการดูดซึม และขับออกจากร่างกาย เสมหะจึงไม่ชัดเจนเหมือนเช่นตอนตื่นนอน
* อวัยวะตัน หมายถึง ปอด หัวใจ ตับ ไต ม้าม (อิน)
อวัยวะกลวง หมายถึง ลำไส้ใหญ่ ลำไส้เล็ก ถุงน้ำดี กระเพาะอาหาร กระเพาะปัสสาวะ (หยาง)
————————————————————————————————
ที่มา: บ้านสบาย
เรียบเรียงใหม่โดย: ชุมชนสุขภาพนวชีวัน
ชุมชนสุขภาพนวชีวัน ไอ..เป็นง่าย…หายยาก