แค่ไหนคือมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ IFOAM (ขั้นต่ำระดับสากล)

 

untitled

 

ผู้ประกอบการที่จะได้รับการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ IFOAM จะต้องผ่านเกณฑ์มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ขั้นต่ำของสหพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ (IFOAM Basic Standards)

โดยมีกำหนดระยะเวลาการปรับเปลี่ยนการดำเนินงานตามระบบมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ไว้ที่ 12 เดือนสำหรับพืขล้มลุก และ 18 เดือนสำหรับพืชยืนต้น

ปกติการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์และสินค้าอินทรีย์ เป็นการตรวจสอบและรับรองกระบวนการผลิต ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ขอบเขต คือ

1.1 การตรวจสอบและรับรองการปลูก หรือ รับรองฟาร์ม?เป็นการตรวจสอบและรับรอง กระบวนการผลิตในฟาร์มอินทรีย์ ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่

-?เมล็ดพันธุ์และปัจจัยการผลิตที่ใช้– เอาเมล็ดพันธุ์มาขากไหน อินทรีย์หรือเปล่า รู้ได้อย่างไร มูลสัตว์ที่เอามาทำปุ๋ยมาจ่ากที่ไหน อินทรีย์หรือเปล่า ถ้ายังเลี้ยงโดยให้กินอาหารเม็ลแต่เลี้ยงให้ปล่อยเดินในสนามก็อนุโลมได้ แต่ถ้าเลี้ยงเป็นกรงตับแบบขังไว้ให้อยู่แต่ในกรงก็เอามูลพวกนี้มาใช้ไม่ได้ ฯลฯ

การใช้ปัจจัยการผลิต– ใช้ปุ๋ย-อาหารเสริมอะไรบ้าง ใช้อย่างไร แค่ไหน เมื่อไหร่ ฯลฯ

วิธีการดูแลรักษา (บำรุงดินอย่างไร ดูแลการเติบโตอย่างไร ป้องกันกำจัดศัตรูพืชอย่างไร ฯลฯ) วิธีการป้องกัน การทำแนวกันชนหรือแนวป้องกันจากแปลงเกษตรเคมี ตลอดไปถึงวิธีการเก็บเกี่ยว คัดแยก ทำความสะอาด เก็บรักษาผลิตผล และการบรรจุขาย

การตรวจสอบและรับรองการประกอบการ?เป็นการตรวจสอบและรับรอง ระบบการจัดการผลิตผลและกระบวนการแปรรูป (การสีข้าวถือเป็นการแปรรูป) ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่แหล่งที่มาของวัตถุดิบ การจัดการกับวัตถุดิบ กรรมวิธีการแปรรูป การบรรจุ การขนส่ง และการจัดจำหน่าย

นอกเหนือจากข้อกำหนดของมาตรฐานขั้นต่ำแล้ว ผู้ประกอบการเกษตรอินทรีย์ยังต้องปฏิบัติตามข้อกำาหนดการตรวจรับรองเพิ่มเติม ซึ่งจะแตกต่างกันไปตามขอบข่ายและระบบมาตรฐานที่ขอการรับรอง แต่มีข้อกำาหนดพื้นฐานที่ผู้ประกอบการทุกคนต้องปฏิบัติ ได้แก่

1. เกษตรกรผู้ผลิตจะต้องจัดทำาบันทึกอย่างต่อเนื่อง รวมถึง บันทึกการซื้อและใช้ปัจจัยการผลิตในฟาร์ม บันทึกกิจกรรมฟาร์ม และ บันทึกการขายผลิตผลอินทรีย์ ตลอดจนจัดเก็บเอกสารการขายผลิตผล เช่น ใบส่งของ ใบเสร็จรับเงิน ฯลฯ เป็นต้น บันทึกและเอกสารเหล่านี้จะเป็นส่วนหนึ่งของเอกสารฟาร์มที่ผู้ตรวจจะขอตรวจสอบเมื่อมีการตรวจฟาร์ม

2. ผู้ประกอบการที่จัดการและแปรรูปผลผลิตเกษตรอินทรีย์ จะต้องจัดเก็บเอกสารและจัดทำบันทึกอย่างต่อเนื่อง เช่น ใบรับรองวัตถุดิบ เอกสารสั่งซื้อวัตถุดิบ ใบรับวัตถุดิบ สต็อกวัตถุดิบ บันทึกการแปรรูป/บรรจุ สต็อกผลิตภัณฑ์ เอกสารการขาย/ใบส่งของ บันทึกการทำความสะอาดวัตถุดิบ-เครือ่งจักร-สถานที่ประกอบกิจกรรมการผลิต บันทึกการป้องกันกำจัดแมลง/สัตว์ศัตรูในโรงงาน บันทึกการร้องเรียน และเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ให้ผู้ตรวจสามารถตรวจสอบได้ว่ากระบวนการแปรรูปและจัดการผลิตภัณฑ์อินทรีย์เป็นไปตามมาตรฐานหรือไม่

3. ยินยอมให้ผู้ตรวจเข้าตรวจเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการผลิต และการประกอบการเหล่านี้ รวมทั้งบัญชีการขายผลิตผลและผลิตภัณฑ์

4. ยินยอมให้ผู้ตรวจเข้าตรวจสอบในพื้นที่การเกษตรทั้งหมดที่ถือครอง (ทั้งพื้นที่ของตนเอง, เช่า, ให้เช่า) รวมทั้งสถานที่ประกอบการ ทั้งที่ขอการรับรองและที่ไม่ได้ขอรับรอง ตลอดจนสถานที่เก็บเครื่องมือ สถานที่เก็บผลิตผล สถานที่เก็บวัตถุดิบ และที่พัก โดยทาง มกท. ไม่จำเป็นต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า

5. ผู้ประกอบการเกษตรอินทรีย์จะต้องแจ้งให้ มกท. ทราบโดยทันที ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงใดๆ เกิดขึ้นในการผลิต เช่น ชนิดพืชที่ปลูกและขอรับรอง สถานที่ประกอบการ รวมทั้งการละเมิดมาตรฐานเกษตรอินทรีย์

6. ในกรณีที่ผู้ประกอบการว่าจ้างให้ผู้อื่นทำาการผลิต จัดการ หรือแปรรูปผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ ผู้ประกอบการจะต้องจัดทำสัญญารับช่วงการผลิตกับผู้รับจ้าง โดยมีสาระสำคัญที่จะต้องคำานึงถึง ดังนี้

– ผู้รับจ้างผลิตต้องปฏิบัติตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ และเงื่อนไขการรับรองของ มกท.

– ผู้รับจ้างผลิตยินยอมที่จะให้เจ้าหน้าที่ผู้ตรวจของ มกท. เข้าตรวจสอบสถานที่ประกอบการทั้งหมดและตรวจสอบเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องของผู้รับจ้างผลิต

– ผู้รับจ้างผลิตจัดเก็บเอกสารมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ (อย่างน้อยในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการรับจ้างผลิต), สัญญาว่าจ้างการผลิต, เอกสารการผลิตเกษตรอินทรีย์, และคู่มือ มกท. ในเรื่องที่เกี่ยวกับการประกอบการของผู้รับจ้าง

– ผู้ประกอบการเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายของมกท. ในการตรวจสอบผู้รับจ้าง

– ผู้รับจ้างจะปฏิบัติตามนโยบาย หลักเกณฑ์ตลอดจนเงื่อนไข และระเบียบอื่นๆ ที่ทาง มกท.ได้กำหนดขึ้น

7. ผู้ประกอบการจะต้องจัดเก็บเอกสารต่อไปนี้ไว้สำาหรับการตรวจของ มกท. ไม่น้อยกว่า 5 ปี

– สำาเนาเอกสารใบสมัครขอรับรองมาตรฐานกับ มกท.

– สำาเนารายงานการตรวจของผู้ตรวจ มกท.

– ผลการรับรองมาตรฐานฯ จาก มกท.

– บันทึกการร้องเรียน

– แบบการแจ้งการละเมิดมาตรฐานฯ จาก มกท.

ด้วยข้อกำหนดมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ขั้นต่ำระดับสากล รวมทั้งข้อปฏิบัติพื้นฐานตามข้อกำหนดการตรวจรับรองเพิ่มเติม ผู้บริโภคจึงสามารถมั่นใจได้ว่าผลผลิตอินทรีย์ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ขั้นต่ำระดับสากล ปลอดภัยจากสารเคมีพิษปนเปื้อนที่แท้จริง

ที่มา : เรียบเรียงข้อมูลจากสำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์

 

ข้อมูลเพิ่มเติม

การแบ่งระดับความปลอดภัยของผลผลิตการเกษตร
ตรารับรองมาตรฐานสินค้าอินทรีย์ที่ควรรู้จัก
ระบบเกษตรอินทรีย์พลังชีวภาพ

กลับสู่หน้าหลัก: ศูนย์การเรียนรู้นวัตกรรมลดโลกร้อนนวชีวัน